โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ผลสำรวจชี้ องค์กรที่ปรับตัวสู่ดิจิทัล กำไรสูงกว่าคู่แข่ง26%

Money2Know

เผยแพร่ 21 ส.ค. 2561 เวลา 14.02 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ผลสำรวจชี้ องค์กรที่ปรับตัวสู่ดิจิทัล กำไรสูงกว่าคู่แข่ง26%

ผลสำรวจผู้บริหารระดับซีอีโอ 47% เริ่มเปลี่ยนธุรกิจของตนเข้าสู่ระบบดิจิทัล จากผลสำรวจพบว่าองค์กรที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่ดิจิทัล จะทำให้องค์กรมีกำไรมากกว่าคู่แข่งถึง 26% และมีมูลค่าการตลาดสูงขึ้น 12% พร้อมแนะเคล็ดลับการเป็นผู้นำองค์กรในยุคดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จต้องเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตัวเองตลอดเวลา

มิสเตอร์โจนาส ไพรซิง ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารแมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า จากผลสำรวจพบว่าหากองค์กรที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่ดิจิทัล จะทำให้องค์กรนั้นมีกำไรมากกว่าคู่แข่งถึง 26% และมีมูลค่าการตลาดสูงขึ้น 12% อย่างไรก็ตามจากการปรับตัวของหลายองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

ซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ผู้นำ ถือเป็นกลไกลสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม หลายๆองค์กรหลีกเลี่ยงความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้

ดังนั้นแล้วการสร้างความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงขององค์กรจะต้องสร้างวัฒนธรรมเชิงนวัตกรรมขึ้นก่อน โดยการเปิดรับการเปลี่ยนแปลง และเตรียมการรับมือความเสี่ยงที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งยังต้องพร้อมสำหรับความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง และผู้นำองค์กรต้องเปลี่ยนวิธีคิดและการนำให้ต่างไปจากเดิม ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง เพราะการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการตัดสินใจกับความก้าวหน้า

และกรอบงานเดิมๆ นั้น การสร้างผู้นำที่ใช้รูปแบบการทำงานที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติงาน จากผลสำรวจยังระบุอีกว่าผู้บริหารระดับซีอีโอ 47% เท่านั้นที่เริ่มเปลี่ยนธุรกิจของตนเข้าสู่ระบบดิจิทัล

และ 89% เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง และผู้นำองค์กรต้องเปลี่ยนวิธีการนำของตัวเองให้ต่างจากเดิม และ 34% เห็นผลสำเร็จของระบบดิจิทัลจากการเติบโตของธุรกิจแล้ว

สำหรับผู้นำแบบดิจิทัล ได้จำกัดความและหมายถึง กลุ่มผู้นำที่พร้อมสำหรับการทำงานด้วยระบบดิจิทัล มีความสามารถในการวิเคราะห์และเชื่อมโยง พร้อมสร้างนวัตกรรมและศักยภาพ เพื่อผลักดันโอกาสและความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การทำงานในระบบดิจิทัล

นอกจากนี้การเป็นผู้นำแบบดิจิทัลไม่ได้แทนที่ลักษณะความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดดังเดิมทั้งหมด หากแต่ใช้กฎ 80/20 แทน ศักยภาพและความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้นำอนาล็อคยังคงอยู่ที่ร้อยละ 80 โดยอย่ามองข้ามทักษะความเป็นผู้ที่เข้มแข็ง

ที่สั่งสมประสบการณ์ที่เรียนรู้ความสำเร็จและล้มเหลวมาแล้ว การจะแทนผู้นำแบบดั้งเดิมด้วยผู้นำแบบดิจิทัล ที่พร้อมสำหรับการทำงานยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในทันทีจึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง

ความท้าทายของการเป็นผู้นำผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลยิ่งทำให้สั่งสมประสบการณ์การทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งผู้นำทุกคนควรมีความสนใจใฝ่รู้และทักษะความเชี่ยวชาญในระบบดิจิทัลด้วย

ดังนั้นแล้วการผสมผสานกันระหว่างความเก่ง ความสามารถ ความมุ่งมั่นและอดทนเป็นปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนพื้นฐานที่เข้มแข็งของผู้นำที่มีปะสิทธิภาพจะเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จและโอกาสในการเติบโตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ขณะที่อีกร้อยละ 20 เป็นทักษะความสามรถที่เรียนรู้ได้จะต้องเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อพัฒนาผู้นำแบบดิจิทัล ทั้งนี้ผู้นำที่พร้อมในการทำงานยุคดิจิทัลต้องมีทักษะความเป็นผู้นำแบบดั้งเดิมที่แข็งแกร่งและต้องแสดงให้เห็นว่ามีทักษะใหม่นี้ด้วยเช่นกัน

ผู้นำต้องแสดงศักยภาพ ความกล้าที่จะนำและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานได้ โดยผู้นำสามารถพัฒนาทักษะเพิ่มพูนความสามารถและความรู้ ร่วมกับผู้นำดิจิทัลองค์กรอื่นๆ ที่นำหน้าคุณมาปรับประยุกต์ในการบริหารงานเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร

ทั้งนี้จากการสำรวจภาคการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลมากที่สุดในสหรัฐฯ การผลิตรวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตมีมูลค่ามากถึง 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

แม้จะมีการคาดการณ์กันว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนมนุษย์ในหลายส่วนในทศวรรษหน้า ขณะที่ระบบอัตโนมัติกำลังถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในภาคการผลิตจะมีตำแหน่งงานเปิดเพิ่มขึ้นในสายการผลิตด้วยมูลค่าสูงถึง 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในทุกภาคส่วน

เช่น อุปกรณ์การแพทย์และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ การพิมพ์สามมิติ อาหารและสินค้าอุปโภคต่างๆ อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาคการผลิตไม่ใช่เครื่องจักรแต่เป็นมนุษย์ เป็นไปได้ว่าจะมีตำแหน่งงานว่างกว่า 2 ล้านตำแหน่ง เนื่องจากแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีในอนาคตขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานนั้นๆ

นอกจากนี้แล้ว ไรท์ แมเนจเมนท์” ยังได้นำเสนอโมเดลที่จะช่วยให้องค์กรกำลังหาวิธีเพื่อใช้ในการคาดการณ์ พัฒนา และวัดความสามารถของผู้นำด้วยโมเดลผู้นำแบบ P3 ซึ่งจะประกอบด้วย People- บุคลากร Purpose-วัตถุประสงค์ และ Performance-สมรรถนะในการทำงาน จะช่วยให้องค์กรสามารถค้นหา ฝึกสอนและพัฒนาผู้นำในปัจจุบันและอนาคตได้

จากการประเมินศักยภาพของผู้นำกว่า 13,000 คนในหลายส่วนได้แก่ การผลิต พลังงาน สาธารณูปโภค เทคโนโลยี บริการด้านสุขภาพ การธนาคารและการเงิน พบว่าโมเดลผู้นำ P3 สามารถทำให้องค์กรค้นพบปัจจัยเสริมความสามารถฝึกสอนได้

เพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาผู้นำที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับยุคดิจิทัล พร้อมกันนี้ ไรท์ แมเนจเมนท์ ยังร่วมมือกับองค์กรทุกขนาดธุรกิจเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำที่เหมาะสมของบุคลากรที่ใช้ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อผลักดันความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเรากำลังก้าวสู่โลกดิจิทัลที่มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence(AI) หรือหุ่นยนต์ แต่เทคโนโลยีและอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เหล่านั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น

ซึ่งยังไม่ใช่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันทีทันใด แต่ถึงกระนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นแรงฉุดที่รวดเร็วที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ ต้องการหาวิธีทำงานที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยให้ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรได้สะดวกขึ้น

จึงเป็นความท้าทายของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะพร้อม หรือไม่ก็ให้พนักงานทุกคนพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อใช้เครื่องมือและกระบวนการใหม่ๆ เหล่านี้ได้ ซึ่งการจะเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลนั้น ผู้นำต้องผสมผสานปัญญาของมนุษย์เข้ากับความสามารถของเครื่องจักร

สำหรับสร้างบริษัทที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและมุ่งมั่นที่จะเติบโตไปข้างหน้า ไม่ว่าองค์กรจะอยู่ที่ขั้นตอนใดในการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญคือองค์กรจะต้องค้นหา สนับสนุนและพัฒนาแรงงานของคนที่มีอยู่ในปัจจุบันและผู้นำในอนาคต

เพื่อพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นสำหรับบุคลากรในโลกดิจิทัล ผู้นำที่สามารถผลักดันกลยุทธ์ขององค์กร สร้างวัฒนธรรม และสื่อสารวิสัยทัศน์รวมถึงแผนงานที่ชัดเจนแก่บุคลากรของตนเอง พร้อมกับค้นหา ส่งเสริมและพัฒนาทักษะแรงงาน จะช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบและกลายเป็นผู้บริหารแบบดิจิทัลที่จะประสบความสำเร็จต่อไปอย่างยั่งยืน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0