โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ผลการศึกษาชี้ ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว ไม่ทำอันตรายกับหัวใจ

THE STANDARD

อัพเดต 23 พ.ค. 2562 เวลา 10.18 น. • เผยแพร่ 23 พ.ค. 2562 เวลา 10.18 น. • thestandard.co
ผลการศึกษาชี้ ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว ไม่ทำอันตรายกับหัวใจ
ผลการศึกษาชี้ ดื่มกาแฟวันละ 6 แก้ว ไม่ทำอันตรายกับหัวใจ

เป็นไปได้ว่าขณะที่อ่านบทความชิ้นนี้อยู่ คุณอาจกำลังจิบกาแฟแก้วที่ 3 ของวันอยู่ก็เป็นได้ โดยเฉพาะคอกาแฟที่หลงใหลในรสชาติ กลิ่นหอมๆ และความรู้สึกยามที่คาเฟอีนในร่างกายออกฤทธิ์ สามารถดื่มได้วันละหลายแก้ว จนอดหวั่นใจไม่ได้ว่า นี่ เราดื่มกาแฟมากไปหรือเปล่า?

 

แม้มีผลการวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า การดื่มกาแฟดำ 2-3 แก้วต่อวัน ไม่ได้ทำลายสุขภาพ แต่ถ้าเราดื่มมากกว่านั้นล่ะ ล่าสุด มีผลการศึกษาจาก University of South Australia รายงานว่า คนเราสามารถดื่มกาแฟได้ถึงวันละ 6 แก้ว โดยไม่เป็นอันตรายต่อหัวใจ แต่ไม่ควรมากเกินกว่านั้น เมื่อการศึกษาชิ้นนี้พบว่า หากดื่มเกินกว่า 6 แก้วต่อวัน โอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะพุ่งสูงขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายรับเข้าไปสูงเกิน ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามไปด้วย   

 

“หากคุณอยากมีสุขภาพใจที่แข็งแรง และมีระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม แนะนำว่า ไม่ควรดื่มกาแฟเกินวันละ 6 แก้ว เนื่องจากข้อมูลที่เราพบ ชี้ให้เห็นว่า หากดื่มกาแฟมากเกิน 6 แก้ว จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด” กล่าวโดย ศาสตราจารย์เอลินา ไฮปโปเนน จาก Australian Centre for Precision Health หนึ่งในผู้นำทีมวิจัยชุดนี้ หลังทีมของเธอได้เก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 347,077 คน ที่มีอายุระหว่าง 37-73 ปี เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวของปริมาณกาแฟที่ดื่มกับสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด

แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังมองว่า การดื่มกาแฟวันละ 6  แก้วต่อวัน เป็นปริมาณที่มากเกินไปอยู่ดี โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งแนะนำว่า คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนยกกาแฟแก้วที่ 6 ดื่ม และที่สำคัญ แม้ผลการศึกษาชิ้นนี้จะระบุว่า การดื่มกาแฟครึ่งโหลต่อวันไม่เป็นอันตราย แต่ก็ใช่ว่าเราจะหันมาดื่มกาแฟแทนน้ำเปล่า อีกทั้งกาแฟแต่ละแก้วของคนเรายังมีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้น ทางสายกลางน่าจะเป็นทางออกที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับเรื่องนี้

 

 

ภาพ:Shutterstock

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0