โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง....นักวิชาการประมง ชี้ปลาตื่นตัวหลงฤดูจากระบบน้ำที่ลดลงและผันผวน ทำปลาน้ำโขงสูญพันธุ์

สยามรัฐ

อัพเดต 17 ต.ค. 2562 เวลา 05.17 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 05.17 น. • สยามรัฐออนไลน์
ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง....นักวิชาการประมง ชี้ปลาตื่นตัวหลงฤดูจากระบบน้ำที่ลดลงและผันผวน ทำปลาน้ำโขงสูญพันธุ์

ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ นักวิชาการด้านประมง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระบุว่า สิ่งที่น่ากังวลในกรณีที่ปลาตื่นน้ำได้รับสัญญาณที่ผิด จากกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เป็นธรรมชาติ)ทำให้มีการอพยพขึ้นมาผิดฤดูกาล ปกติปลาจะอพยพช่วงหน้าแล้ง (dry season migration) ปรากฏการณ์นี้จะมีผลต่อเนื่องถึงความยั่งยืนของทรัพยากรประมงได้

ถามว่าทำไม ประเด็นคือ การอพยพย้ายถิ่นแบบ dry season migration ในแม่น้ำโขงควรจะเกิดในช่วงกลางๆ ถึงปลายฤดูแล้ง (ก.พ.-มี.ค.) ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่จะอพยพเพื่อไปสืบพันธุ์วางไข่ และเมื่อตัวอ่อนฟักมาจะพอดีกับอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในฤดูฝนเพื่อเลี้ยงตัวอ่อน ที่น้ำท่วมป่าบุ่งป่าทามที่เป็นแหล่งอนุบาล เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้พ่อแม่ปลาเมื่ออพยพมาก็ต้องสืบพันธุ์วางไข่ แต่ลูกที่เกิดมาจะไม่มีอาหารและแหล่งอนุบาล และตายไปตามธรรมชาติ และต่อเนื่องถึงไม่มีปลารุ่นใหม่มาทดแทน และลดจนจำนวนลงในอนาคต มีหลายๆ กรณีศึกษาของการกระตุ้นการอพยพของปลาผิดปกติ(false trigger) จากการควบคุมการไหลของน้ำโดยมนุษย์ ทางวิชาการเราเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นไปตามทฤษฎี "match-mismath hypothesis"

เราอาจสุ่มตัวอย่างปลามาผ่าท้องดูพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อยืนยันได้ และน่าจะเป็นประเด็นที่จะถกหารือกับผู้มีอำนาจตัดสินใจหรือ developer เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลในระยะยาว ในการที่จะไม่มีสัตว์น้ำรุ่นใหม่มาทดแทน

ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ระบุว่า พัฒนาการของไข่ปลาก่อนผสมพันธุ์ได้มี 5 ระยะ แต่จากเก็บตัวอย่างไข่ปลาเอิน ตรวจสอบแล้วพบว่าอยู่ในช่วงที่มีไข่ที่ยังไม่พร้อมผสมพันธุ์ อยู่ในระยะ 1-2 มีระยะ 3 บ้าง แต่ไม่ถึง 3% ซึ่งอาจจะเริ่มมีการพัฒนาระหว่างทาง แสดงว่าบางตัวหลงสัญญาณเริ่มจะพร้อม แต่ผิดฤดูกาล

ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ อธิบายว่า คำอธิบายนี้สอดคล้องกับที่ชาวบ้านบอกว่าอพยพเข้ามาวางไข่ในที่น้ำนิ่ง เข้าวัง เข้าคอน เข้าห้วย แต่น้ำไม่เข้า ระดับน้ำไม่ถึง ปลาไม่มีที่วางไข่ อีกทั้งแถมหลงฤดูมาเจอน้ำน้อย ถูกจับ พันธุ์ปลาแม่น้ำโขงจึงเจอปัญหาสองต่อ และจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในที่สุด.

ภาพประกอบ- เฟซบุ๊ก พัน อัตตะปือ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0