โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ปืนผูก​ !! ภัยร้ายของสัตว์ป่า​และเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน....

สวพ.FM91

อัพเดต 17 พ.ย. 2562 เวลา 04.34 น. • เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 04.34 น.
ปืนผูก​ !! ภัยร้ายของสัตว์ป่า​และเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน....

ปืนผูก​ !! ภัยร้ายของสัตว์ป่า​และเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน….
จากกรณีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน​ จ.ลำปาง​ ได้รับบาดเจ็บขณะออกปฏิบัติงานลาดตระเวนปราบปรามการกระทำผิดกฏหมายว่าด้วยการป่าไม้​ขณะลาดตระเวน​ได้เหยียบเข้ากับเชือกซึ่งนายพรานทำไว้ดักสัตว์ป่า​ดัดแปลงเป็นอาวุธปืนลูกซองยาว หรือเราเรียกกันว่า​ "ปืนผูก" ทำให้กระสุนถูกบริเวณขาทั้งสองข้างมีบาดแผลฉีกขาด กล้ามเนื้อบริเวณเนื้อน่องเป็นแผลฉกรรจ์
ปืนผูกที่พบในครั้งนี้คาดว่าน่าจะนำมาผูกไว้เพื่อดักหมูป่าเนื่องจากระยะการผูกไม่สูงมาก​ สังเกตได้จากกระสุนเข้าที่ขาของเจ้าหน้าที่​ แต่หากเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ระยะที่ใช้หากเกิดในลักษณะเดียวกันนี้​ กระสุนอาจจะเข้าที่ลำตัวทำให้เสียชีวิตได้​ นี่ก็ทำให้เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาตินั้นเต็มไปด้วยอันตรายหากพลาดขึ้นมาเมื่อไหร่นั่นก็หมายถึงชีวิต
สำหรับเจ้าปืนผูก​ มันก็คือ ปืนแก็ปรูปแบบหนึ่ง แต่รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนปืนทั่วไป ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเพียงท่อทรงกระบอกที่มีชุดลั่นไกแบบแสวงเครื่อง ท่อที่ว่ามักเป็นท่อโลหะ ชาวบ้านบางคนเรียก จั่นห้าว​เจ้าปืนชนิดนี้นายพรานจะนำปืนไปผูกไว้กับต้นไม้ หันปากกระบอกไปทางด่านที่สัตว์เดินผ่าน แล้วใช้เชือกหรือเถาวัลย์เหนียวโยงจากไกปืน อ้อมหลักไปขึงขวางด่านสัตว์ตรงที่เล็งไว้ พอสัตว์เดินสะดุดปืนก็ลั่นใส่ทันที​ ความสูงของระดับที่ผูกปืนและความแรง ขึ้นอยู่กับสัตว์ที่จะล่า สัตว์ขนาดเล็กจะผูกสูงราวหน้าแข้ง หากเป็นสัตว์ขนาดกลางผูกสูงขึ้นมาเหนือเข่าประมาณต้นขา แต่ถ้าสัตว์ขนาดใหญ่จะผูกสูงราวชายโครง​
ปืนผูก นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่าแล้วยังถือว่าเป็นอาวุธอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนด้วยเหมือนกัน เพราะการที่นายพรานหรือผู้ที่ทำการล่าสัตว์นำปืนผูกไว้กับต้นไม้ แล้วใช้เชือกหรือเถาวัลย์เหนียวโยงจากไกปืน​ ไม่เพียงแค่สัตว์ที่เดินผ่าน​เมื่อเจ้าหน้าที่เดินไปสะดุด ปืนก็ลั่นใส่ทันที…
ขอบคุณข้อมูลจาก  ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ดูเพิ่มเติม สวพ.FM91