โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ปัญหาโลกแตก แก่ก่อนรวย 

Money2Know

เผยแพร่ 19 ส.ค. 2561 เวลา 23.00 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ปัญหาโลกแตก แก่ก่อนรวย 

ผลการศึกษาสังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทยที่จัดทำขึ้นโดยนักวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยอึ๊งภากรณ์ร่วมกับเศรษฐกรและผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ปรากฏในสื่อต่างๆเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาชี้ชัดว่าความท้าทายของสังคมสูงวัยของไทยมีความท้าทายหนักกว่าปัญหาสังคมสูงวัยในหลายประเทศและจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไปได้

บางสื่อนี่ถึงกับพาดหัวกันเลยว่าคนแก่นี่แหละที่เป็นภาระฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจไทยคนละเรื่องกับวลีเด็ดในละครยอดฮิต(ที่ตัวเองก็ไม่เคยดูนะคะ) แต่เห็นใครๆเค้าพูดกันว่าแก่แล้วไงแก่แล้วรักป่ะ

นางเอกน่าจะเพิ่มไปด้วยว่าแก่แล้วไงถ้าแก่แล้วเป็นภาระแล้วรักป่ะ” 

จะว่าไปแล้ว เรื่องประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอยู่แล้ว แต่ผลวิจัยเชิงวิชาการของแบงก์ชาติในครั้งนี้ชี้ให้เห็นเรื่องน่าห่วงอีกหลายเรื่อง เช่น ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยในเวลาเพียง 20 ปี ซึ่งถือว่าเร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นที่กระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาตั้งแต่ 18-115 ปี และหากจำนวนประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้น 10% ก็ส่งผลให้รายได้ต่อหัวของประชากรของประเทศชะลอลง 5.5%

นี่แหละค่ะเขาถึงบอกว่าคนแก่นี่แหละที่ฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจ” !

นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนและแรงงานไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากแรงงานไทยปีละ 3 แสนคนเริ่มออกจากตลาดแรงงานตั้งแต่อายุ 45 ปีซึ่งนับว่าค่อนข้างเร็วโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่แรงงานออกจากตลาดเมื่ออายุ 55-59 ปี

ผลการศึกษายังระบุด้วยว่า แรงงานผู้หญิงของไทยถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ออกจากตลาดแรงงานค่อนข้างเร็ว โดยเริ่มหยุดทำงานหารายได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี เนื่องจากมีทักษะไม่สูงนัก โดยกลุ่มที่จบการศึกษาน้อยกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมี 5.8 ล้านคน หรือคิดเป็น 81% ของผู้หญิงที่ออกจากตลาดแรงงานทั้งหมด

สาเหตุหลักที่เลิกทำงาน ก็คือ ต้องออกไปดูแลครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นลูก คนป่วย หรือผู้สูงอายุ ขณะที่แรงงานผู้ชายของไทยจะอยู่ในตลาดแรงงานนานกว่า โดยยังคงทำงานจนถึง 55-59 ปี

ผลวิจัยยังบอกด้วยว่า ภายในปี 2578 หรืออีก 17 ปีข้างหน้า เราจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่เข้าสู่ Hyper-agedsociety หรือสังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด

จำนวนผู้สูงอายุก็มากแล้วหนำซ้ำรายได้ต่อตัวยังอยู่ในระดับต่ำและหนักกว่านั้นคือผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาสูงยังมีเพียง 12% ของผู้สูงอายุโดยรวมซึ่งถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่นค่อนข้างมากทั้งหมดนั้นทำให้แรงงานไทยมีแนวโน้ม"แก่ก่อนรวย" สูง และจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาภาครัฐและครอบครัวมากขึ้น

พออ่านรายงานผลวิจัยของแบงก์ชาติแล้วอดนึกถึงภาพยนตร์ที่เคยชมเมื่อหลายปีก่อนไม่ได้ภาพยนตร์เรื่องนี้ชื่อดิอินเทิร์น” (The Intern) 

ดิอินเทิร์น เป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความแตกต่างและการผสมผสานระหว่างคนรุ่นเก่าอย่าง “เบน วิทเทเกอร์” ที่รับบทโดย โรเบิร์ต เดอ นีโร พ่อหม้ายวัย 70 ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณด้วยการออกเดินทางท่องเที่ยวด้วยเงินที่สะสมจากการทำงาน เพียงเพื่อจะพบกับความเงียบเหงา ว่างเปล่าและไร้คุณค่าทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน เขาจึงพาตัวเองกลับสู่สนามการทำงานอีกครั้ง ในฐานะ “เจ้าหน้าที่ฝึกงานอาวุโส” ในบริษัทเว็บไซต์แฟชั่นขายเสื้อผ้าออนไลน์ ซึ่งก่อตั้งและบริหาร โดย “จูลส์ ออสติน” รับบทโดย แอน แฮทธาเวย์ คนรุ่นใหม่ที่ทุ่มเททำงานหนักจนธุรกิจประสบความสำเร็จหลังจากก่อตั้งในเวลาเพียงแค่ 18 เดือน

ช่วงต้นๆ ที่ “เบน” เข้าไปทำงาน หนังสะท้อนปัญหา “ช่องว่าง” ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่อย่างชัดเจน ทั้งช่องว่างของการทำงานและช่องว่างของการใช้ชีวิต เพราะในขณะที่คนรุ่นเก่าใส่สูทผูกเน็คไท (และพกผ้าเช็ดหน้า) หิ้วกระเป๋าเอกสารเข้าออฟฟิศ คนรุ่นใหม่กลับใส่เสื้อยืด (คอย้วยๆ) กับกางเกงยีนส์ ยกเว้น “จูลส์” ที่แต่งตัวงดงามสมกับการเป็นเจ้าของเว็บไซต์แฟชั่น

เรื่องดำเนินให้เห็นถึงความสำเร็จที่พุ่งพล่านจากธุรกิจของจูลส์ที่ใช้เวลาเพียงแค่ปีครึ่งกับปัญหาที่ดาหน้าเข้ามาเป็นความสำเร็จและเป็นปัญหาที่ทำให้เธอต้องสูญเสียอะไรหลายอย่างในชีวิตจนถึงจุดที่บีบให้เธอต้องเลือกว่าจะรักษาอะไรไว้และยอมสูญเสียอะไรไป

  ในขณะที่ความสำเร็จอันน่าหวือหวาของ “จูลส์” ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงสะท้อนผ่านความหวั่นไหวไม่มั่นคงในหลายจังหวะ ความหนักแน่นมั่นคงของคนที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วอย่างโชกโชน ความสุขุมนุ่มลึกของ “เจ้าหน้าที่ฝึกงาน” อย่าง “เบน” ชายวัย 70 ปี กลับก่อให้เกิดความสมดุลในชีวิต “จูลส์” ได้อย่างพอดิบพอดี

เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ในมุมมองของการจัดพอร์ตการลงทุนที่ต้องผสมผสานระหว่างความหนักแน่นและความร้อนแรงไปแล้วแต่วันนี้อยากเขียนถึงอีกมุมหนึ่งของหนังก็คือการใช้ชีวิตวัยหลังเกษียณของ “เบน” ที่มีมีคุณค่ามากเขามีเงินหลังเกษียณมากเพียงพอสำหรับการท่องเที่ยวการรักษาคุณภาพชีวิตในระดับเดียวกับตอนทำงานที่สำคัญคือแม้เมื่อเกษียณแล้วเขายังสามารถใช้ความรู้ความสามารถที่สะสมมาสร้างคุณค่า ให้กับตัวเองได้อีกด้วย แม้จะในฐานะ “เจ้าหน้าที่ฝึกงาน” ก็ตาม ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นไม่อาจเกิดขึ้นเพียงข้ามวัน เพราะปัจจุบันที่ดีและมีคุณค่าของเบน ก็ล้วนมาจากอดีตที่ดีและมีคุณค่าของเขาทั้งสิ้น

ถ้าจะเอ่ยปากถามใครซักคนว่าแก่แล้วไงแก่แล้วรักป่ะเราก็ต้องมั่นใจว่าเราแก่อย่างมีคุณภาพแก่อย่างมีคุณค่าและแก่อย่างไม่เป็นภาระใครจะทำอย่างไรแบบไหนหรือใช้เครื่องมือใดได้บ้าง

ขออนุญาตเขียนให้อ่านในตอนหน้านะคะ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0