โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ปวดศีรษะไมเกรน&ปวดจากความตึงของกล้ามเนื้อ&เนื้องอกในสมอง(1)

คมชัดลึกออนไลน์

อัพเดต 19 ต.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • เผยแพร่ 19 ต.ค. 2562 เวลา 17.00 น.

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ฉบับนี้มีเรื่องเล่าให้ฟังจากหลายๆ ท่านที่ได้มาพบผู้เขียนที่คลินิก ซึ่งถือว่ามีเยอะมากขึ้นในช่วงนี้ค่ะ อาจด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน สังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จึงทำให้มีอาการนี้มากขึ้นค่ะ

อาการที่พูดถึงนี้คือ อาการปวดศีรษะค่ะ หลายท่านคงประสบปัญหานี้ แต่อาการปวดศีรษะนี้มีหลายลักษณะค่ะ บางท่านปวดมากจนจะทนไม่ไหวต้องนอนตัวขดตัวงอลงไปเลย บางท่านก็ปวดหนักๆ ตื้อๆ ไปทั้งหัว มึนหัว ตาพร่ามัว เหมือนตาจะปิด บางเคสก็รู้สึกปวดหนักๆ ปวดบ่า ปวดก้านคอ ร้าวเข้ากระบอกตา ร้าวขึ้นขมับ บางเคสปวดมากถึงขั้นคิดไปว่าเป็นเนื้องอกในสมองหรือเปล่า คิดกันได้หลายแง่มุมเพราะความปวดค่ะ ก็ไม่แปลกค่ะ เพราะอาการปวดศีรษะมักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมาก ฉบับนี้ผู้เขียนเลยอยากเล่าเรื่องร่างกายของเคสแต่ละเคสที่มีอาการปวดศีรษะ ในหลายแง่มุมให้ท่านผู้อ่านได้ฟังค่ะ มีหลายเคสคิดว่าตัวเองเป็นโรครุนแรงที่สมองถึงขั้นอยากจะไปทำ ซีที สแกน ที่สมองก็มีค่ะ

หมอที่เก่งที่สุดคือตัวเราเอง ประโยคนี้หลายท่านที่ดูแลตัวเองในวิถีธรรมชาติบำบัด คงจะคุ้นชินดีนะคะ อาการปวดศีรษะในแต่ละแบบที่ร่างกายเราแสดงออกมา ก็ถือเป็นข้อมูลหนึ่งที่จะนำไปประมวลคร่าวๆ ว่าเราเป็นอะไร เพราะสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะมาได้จากหลายสาเหตุ และแต่ละสาเหตุก็จะมีเกณฑ์ในการประเมินคร่าวๆ ว่าเราปวดจากอะไร เมื่อร่างกายเรากำลังฟ้องสิ่งใดอยู่ เราเฝ้ามองสิ่งที่ร่างกายกำลังบอกอาการ เราก็จะบอกตัวเองได้ว่าเราควรจะตัดสินใจ นำร่างกายนี้ไปรักษาที่ไหน รู้เท่าทันร่างกาย มีความรู้เบื้องต้นไว้พิจารณา นอกจากจะทำให้รักษาตัวเองได้ตรงจุด ก็ทำให้เราไม่ต้องกังวลเกินไปด้วยค่ะ

เราเริ่มจากอาการปวดที่ติดปากคนปวดศีรษะกันค่ะ นั่นคือไมเกรน อาการปวดหัวเราก็มักบอกตัวเองว่าเราเป็นไมเกรน แต่มาดูกันค่ะว่าจริงๆ แล้วลักษณะของการปวดไมเกรนเป็นอย่างไร ปวดมากถึงมากที่สุด คือค่อนข้างรุนแรง เวลาปวดขึ้นมาไม่สามารถทำอะไรต่อได้ เป็นต้น

อาการปวดจะปวดตุ๊บๆ เป็นจังหวะ ที่ขมับและกระบอกตา

โดยปกติเกือบทั้งหมด จะปวดเพียงข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ

ปวดร่วมมักร่วมกับคลื่นไส้ และ/หรือ อาเจียน

อาการปวดมักถูกกระตุ้นด้วยเสียงดัง หรือแสงจัด (Phonophobia & Photophobia)

หากลองสังเกตตัวเองว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 3 ใน 5 ข้อนี้ ก็พอจะวินิจฉัยด้วยตัวเองคร่าวๆ ได้ค่ะว่าน่าจะเป็นไมเกรน ซึ่งอย่างที่เรียนไปเบื้องต้น อาการไมเกรนค่อนข้างรุนแรงมากจึงมักบรรเทาได้ด้วยการกินยาแล้วนอนพัก ถึงกระนั้นบางเคสก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องเพิ่มโดสยาขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในระยะยาวมักไม่เกินผลดีค่ะ แต่มีงานวิจัยหลายฉบับที่แนะนำให้ป้องกันไม่ให้รุนแรงขึ้นได้ หรือบางเคสหากยังไม่รุนแรงมากก็มักจะหายขาดได้ แต่วิธีการนี้ต้องอาศัยวินัยในการดูแลตัวเองค่อนข้างมากค่ะ คือ

ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ นอนในเวลาที่ร่างกายต้องการ การพักผ่อนจะช่วยเรื่องสมดุลฮอร์โมนได้ คือนอน 4 ทุ่ม เป็นต้นไป

ออกกำลังกายแบบได้เหงื่อคือต้องออกต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างต่ำ

ฝึกตนเองให้รู้จักปล่อยวางคือเครียดให้น้อยลง

รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนให้น้อย รับประทานผักผลไม้ให้มาก รับประทานอาหารที่มีอายุสั้น เป็นต้น

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาอาจต้องอาศัยความต่อเนื่อง อย่างต่ำอาจต้องติดต่อกัน 6 เดือนหรือเป็นปีจึงจะเห็นผลค่ะ ดังนั้นต้องฝึกให้เป็นอุปนิสัยค่ะ ฝึกจนเป็นวิถีชีวิตถึงจะเห็นผลชัดเจนค่ะ ฉบับนี้เราพึ่งรู้จักอาการปวดศีรษะเพียงอย่างเดียว ฉบับหน้าเรามาต่อกันนะคะ ว่าปวดจากความตึงตัว ปวดจากเนื้องอกในสมองนั้นเป็นอย่างไร ไว้พบกันฉบับหน้าค่ะ

***ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) โทรศัพท์ 09-2326-9636 www.ariyawellness.com Facebook: Ariya Wellness Center สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ***

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0