โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ปวดฟัน จนคางบวม-เป็นหนอง-ติดเชื้อ ต้องผ่าตัดเจาะคอ

อีจัน

อัพเดต 20 พ.ย. 2562 เวลา 09.20 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 09.08 น. • อีจัน
ปวดฟัน จนคางบวม-เป็นหนอง-ติดเชื้อ ต้องผ่าตัดเจาะคอ
วันนี้ 20 พ.ย. 2562 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Arak Wongworachat (นพ.อา&…

วันนี้ 20 พ.ย. 2562 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Arak Wongworachat (นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช โพสต์ภาพอุทาหรณ์ หลังจากมีคนไข้มาผ่าตัดเหตุจากฟันผุ ทำให้ติดเชื้อรุนแรงจนลิ้นคับปากดันปิดทางเดินหายใจ เสี่ยงเสียชีวิตหากรักษาไม่ทันท่วงที
โดยผู้ป่วยรายนี้ เป็นชายอายุ 40 ปี มีอาการฟันกรามผุเรื้อรังมานาน ปวดๆหายๆ ซื้อยาร้านยามากินเอง ซึ่ง 7 วัน ก่อนหน้าที่จะเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยมีไข้ ปวดฟันกราม จึงซื้อพลาสเตอร์ปิดลดปวดที่แก้ม

แต่อาการไม่ดีขึ้นเริ่มปวดมากขึ้น และคางบวม ลามไปรอบคอด้านหน้า ถึงหน้าอกตอนบนอย่างรวดเร็ว ซ้ำยังมีอาหารลิ้นจุกคับปาก กลืนน้ำลาย น้ำ อาหารไม่ลง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัวไปหมด 1วันก่อนมาโรงพยาบาล

หลังจากอาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยเข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินแพทย์อีอาร์ รีบให้สารน้ำแก้ภาวะขาดน้ำ งดน้ำ และอาหาร ช่วยหายใจ ให้ออกซิเจนทางจมูกพอหายใจเองได้เล็กน้อย แต่ผู้ป่วยมีอาการออกซิเจนในเลือดต่ำลง

แพทย์จึงให้ยาต้านเชื้อทางเส้นเลือด รีบส่งห้องผ่าตัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหูคอจมูกเป็นการด่วน ลำดับแรกที่แพทย์ ทีมงานต้องทำคือการเจาะคอแบบฉุกเฉิน ช่วยหายใจให้ได้ก่อนเป็นการเร่งด่วน แล้วให้ยาสลบ และได้ผ่าฝีหนองออกเพื่อลดอาการบวม โดยคางที่บวมมีหนองอยู่ประมาณ 150 ซีซี
เหตุที่ต้องผ่าตัดเอาหนองออกเพราะหนองที่ขังอยู่ในโพรงใต้คาง และดันเข้าไปโพรงใต้ลิ้น ยกลิ้นขึ้นมาจนปิดช่องปาก ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และเข้ารักษาในห้องไอซียู 5 วัน จึงเอาเครื่องออกได้ แต่ยังคงต้องคาท่อที่เจาะคอช่วยหายใจเอาไว้จนกว่าจะยุบบวมหมด

ก่อนที่ นพ.อารักษ์จะทิ้งท้ายว่า โรคนี้ปัจจุบันเจอได้น้อย แต่รุนแรงมาก ชื่อทางการแพทย์เรียกตาม Wilhelm Frederick von Ludwig ในปีค.ศ.1836 หมายถึง การอักเสบติดเชื้อของชั้นเนื้อเยื่อในโพรงใต้คาง (Submandibular space) เป็นภาวะที่พบได้น้อยมากในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาของยาต้านจุลชีพ

โดยอัตราการเสียชีวิตลดลงจาก 50 เปอร์เซ็นต์ ในปีค.ศ.1940 ก่อนที่จะมีการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาการติดเชื้อที่เหงือกและฟัน (odontogenic infection) เหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์หลังจากมีการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยภาวะนี้มักพบในผู้ใหญ่

จันเห็นแล้วอยากให้ลูกเพจหมั่นสังเกตอาการบ่อยๆนะคะ อย่าละเลยอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ นะคะ #จันเป็นห่วง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0