โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

'ปวดท้องประจำเดือน' อย่าคิดว่าเรื่องธรรมชาติ! สัญญาณเตือน โรคร้ายหลายชนิดทางนรีเวช

Amarin TV

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2561 เวลา 09.30 น.
'ปวดท้องประจำเดือน' อย่าคิดว่าเรื่องธรรมชาติ! สัญญาณเตือน โรคร้ายหลายชนิดทางนรีเวช
ปัญหากวนใจคุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่ คงหนีไม่พ้นอาการ 'ปวดท้องประจำเดือน' บางรายอาจสามารถทนได้ แต่บางรายอาจปวดทรมานจนกระทบกับชีวิตประจำวัน สาวๆ หล

*ปัญหากวนใจคุณสุภาพสตรีส่วนใหญ่ คงหนีไม่พ้นอาการ ‘ปวดท้องประจำเดือน‘ บางรายอาจสามารถทนได้ แต่บางรายอาจปวดทรมานจนกระทบกับชีวิตประจำวัน *

สาวๆ หลายคนอาจเข้าใจว่า อาการปวดประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ทราบหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วการปวดประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคร้ายหลายชนิดทางนรีเวชวิทยา

พญ.ชลิดา เรารุ่งโรจน์ สูติ-นรีแพทย์ เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา อธิบายว่า อาการปวดประจำเดือน หรือปวดบริเวณท้องน้อยของคุณสุภาพสตรีนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักนำไปสู่โรคหลายโรคทางนรีเวชวิทยา ยกตัวอย่างเช่น เนื้องอกในมดลูก ช็อกโกแล็คซีสต์ และเนื้องอกรังไข่ เป็นต้น

ปวดท้องประจำเดือน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. ชนิดปฐมภูมิ คือ การปวดท้องประจำเดือนที่ตรวจแล้วไม่พบพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย มีการหลั่งสารโพรสต้าแกลนดิน (Prostaglandin) ทำให้มดลูกมีการบีบตัวในช่วงประจำเดือน ส่วนใหญ่จะปวดตั้งแต่เริ่มแรกที่เรามีประจำเดือน หรือภายใน 2-3 ปีแรกหลังมีประจำเดือน
2. ชนิดทุติยภูมิ คือ การปวดท้องประจำเดือนที่มีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน เช่น เนื้องอกในมดลูก ช็อกโกแล็ตซีสต์ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น เดิมอาจไม่เคยมีอาการปวดท้องประจำเดือนมาก่อน แต่จู่ ๆ กลับมีอาการปวดขึ้นมา หรือมีอาการปวดท้องมากขึ้นจากปกติ

การรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน สามารถแบ่งได้ตามระดับความเจ็บปวด และการตอบสนองต่อการรักษาชนิดนั้นๆ เช่น การทานรับประทานยาพาราเซตามอล หากอาการไม่ดีขึ้นให้ลองเปลี่ยนมารับประทานตัวยาที่ออกฤทธิ์เข้มข้นขึ้นในกลุ่ม NSAID

อย่างไรก็ดี หากอาการปวดมีความรุนแรง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพ เพราะอาการปวดประจำเดือนมักสัมพันธ์กับกลุ่มโรคทางนรีเวชวิทยา อาทิ เนื้องอกในมดลูก ช็อกโกแล็คซีสต์ และเนื้องอกรังไข่ เป็นต้น

หากตรวจพบและวินิจฉัยแล้วว่า สมควรต้องได้รับการผ่าตัดปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งมีข้อดีคือ “แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว” ผู้ป่วยสามารถลุกเดิน และใช้ชีวิตตามปกติได้ใน 1 วันหลังเข้ารับการผ่าตัด แต่ทั้งนี้ วิธีการผ่าตัดขึ้นอยู่กับรอยโรคของผู้ป่วย หากพบก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องใช้ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

บทความโดย พญ.ชลิดา เรารุ่งโรจน์
สูติ-นรีแพทย์ เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0