โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ปลุกผีหุ้นต่ำบาท แห่เก็งกำไรดันราคาพุ่ง 33-395%

efinanceThai

เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2563 เวลา 03.37 น.

เปิดสถิติ พ.ค.63 หุ้นต่ำบาทสุดเฮี้ยน! พบ 29 บจ. ราคาทะยานสูง 33-395% ทึ่ง 4 บริษัทพุ่งชนซิลลิ่งไม่ต่ำ 5 รอบในเดือนเดียว 13 บจ.วอลุ่มพุ่งเกินเท่าตัว วงการชี้นักลงทุนเปลี่ยนกลยุทธ์ปลุกผีหุ้นจิ๋ว หลังหุ้นใหญ่อัพไซด์จำกัด แถมรายย่อยคัมแบ็ค แต่เตือนเก็งกำไรอย่างมีสติ ชี้ส่วนใหญ่ยังขาดทุน

*** 29 หุ้นต่ำบาทราคาพุ่ง 33-395%

"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจการซื้อขายของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ราคาหุ้นต่ำกว่า 1 บาท ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา (5 พ.ค.-28 พ.ค.63) พบว่ามีถึง 29 บริษัทที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% โดยมี 12 บริษัท ราคาหุ้นพุ่งเกิน 50% และ 5 บริษัทราคาหุ้นทะลุ 100% สูงสุด 395% ได้แก่

หุ้นต่ำบาทราคาพุ่งเกิน 30%

ชื่อย่อหุ้น

ราคาปิด 5 พ.ค.63 (บ.)

ราคาปิด 29 พ.ค.63 (บ.)

%chg

PSTC

0.4

1.98

395

CHOW

0.85

1.87

120

TRUBB

0.79

1.7

115

MAX

0.01

0.02

100

UMS

0.14

0.28

100

BGT

0.59

1.07

81

PK

0.9

1.62

80

GEL

0.13

0.23

77

EIC

0.08

0.13

63

SAM

0.27

0.43

59

ARIN

0.55

0.87

58

EMC

0.11

0.17

55

PRECHA

0.63

0.93

48

SGF

0.42

0.62

48

PPM

0.72

1.05

46

AIE

0.25

0.36

44

ABM

0.55

0.79

44

MILL

0.52

0.74

42

SOLAR

0.83

1.17

41

NDR

0.81

1.14

41

FANCY

0.37

0.52

41

UKEM

0.47

0.66

40

BTW

0.61

0.83

36

UEC

0.64

0.87

36

TKT

0.65

0.88

35

SUPER

0.6

0.81

35

IRCP

0.4

0.54

35

TGPRO

0.06

0.08

33

ACG

0.72

0.96

33

ทั้งนี้พบว่า ณ วันที่ 5 พ.ค.63 มีหุ้นที่ราคาต่ำกว่า 1 บาทรวม 175 บริษัท ซึ่งภายใน 1 เดือนที่ผ่านมาราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 119 บริษัท หรือคิดเป็นถึง 68% แบ่งเป็นหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 70 บริษัท และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวม 49 บริษัท 
โดยมีหุ้นที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-10% จำนวน 37 บริษัท 11-20% จำนวน 33 บริษัท 21-30% จำนวน 20 บริษัท และที่เหลือราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 30%
ซึ่ง บมจ.เพาเวอร์ โซลูชั่น เทคโนโลยี (PSTC) ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 395% จากราคาหุ้น ณ 5 พ.ค.63 ที่ 0.4 บาท ล่าสุด ณ 29 พ.ค.63 อยู่ที่ 1.98 บาท โดยมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือน พ.ค.63 ระดับ 89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 80% จากมูลค่าการซื้อขาย 1 ปีย้อนหลังที่ระดับ 48 ล้านบาทต่อวัน

*** 4 บจ.ราคาพุ่งชนซิลลิ่งไม่ต่ำกว่า 5 รอบในเดือนเดียว

ทั้งนี้ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา 29 บริษัทข้างต้น ส่วนใหญ่ราคาปรับตัวขึ้นแรงจนชนเพดานการซื้อขาย (Ceiling) แต่ส่วนใหญ่อยู่ระดับเฉลี่ย 1-2 ครั้ง แต่มี 4 บริษัทที่ราคาหุ้นขึ้นชนซิลลิ่งไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งภายใน 1 เดือน ได้แก่ 1.บมจ.เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ (CHOW) แตะซิลลิ่งไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง 2.บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป (TRUBB) ซิลลิ่ง 8 ครั้งเช่นกัน 3.บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ซิลลิ่ง 6 ครั้ง และ 4.บมจ.พัฒน์กล (PK) แตะซิลลิ่้ง 5 ครั้ง โดย CHOW, TRUBB และ UMS เป็นหุ้นที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิน 100% ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

*** 13 บจ.วอลุ่มพุ่งเกินเท่าตัว

ขณะเดียวกันพบว่ามี 13 บจ.ที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือน พ.ค.63 (18 วันทำการ) เพิ่มขึ้นเกิน 100% เทียบกับมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี ประกอบด้วย

13 หุ้นต่ำบาทวอลุ่มพุ่งกินท่าตัว

ชื่อย่อหุ้น

มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน

เดือน พ.ค.63 (ลบ.)

มูลค่าซื้อขาเฉลี่ยต่อวัน

1 ปีย้อนหลัง (ลบ.)

%chg

TRUBB

30.12

2.67

1,028

EIC

8.93

1

793

UEC

0.74

0.16

363

CHOW

2.93

0.67

337

MILL

3.46

0.82

322

SUPER

378.57

90.71

317

PPM

0.32

0.08

300

BTW

1.05

0.28

275

ABM

0.75

0.21

257

SAM

0.48

0.15

220

PK

0.75

0.24

213

SOLAR

5.86

2.01

192

UKEM

3.24

1.27

155

บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป (TRUBB) มีมูลค่าการซื้อขายเปลี่ยนแปลง (เปอร์เซ็นต์) เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า จากค่าเฉลี่ย 1 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 2.67 ล้านบาทต่อวัน เป็น 30.12 ล้านบาทต่อวัน
ขณะที่ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) มีมูลค่าการซื้อขายเปลี่ยนแปลง (จำนวนเงิน) เพิ่มขึ้นเป็น 379 ล้านบาทต่อวัน จากค่าเฉลี่ย 1 ปีที่มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 91 ล้านบาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่า

*** วงการชี้หุ้นใหญ่อัพไซด์ต่ำ-รายย่อย "Come Back"

"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส ระบุว่า สาเหตุที่มีแรงเก็งกำไรหุ้นขนาดเล็กรอบนี้ เนื่องจากตลาดหุ้นไทยเริ่มตึงตัวในเชิงของ Valuation โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ นักลงทุนจึงใช้วิธีหมุนกลุ่มลงทุนแทน โดยเน้นเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กที่ราคายังปรับตัวไม่มากนักในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่ "ณัฐชาต เมฆมาสิน" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ เสริมว่า บจ.ขนาดใหญ่ ได้รับผลกระทบต่อกำไรจากไวรัสโควิด-19 มากกว่า บจ.ขนาดเล็ก ขณะเดียวกันพบว่าหุ้นขนาดเล็กปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาด (Laggard) มา 3 ปีแล้ว สวนทางกับหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นจนอัพไซด์เริ่มจำกัด
ด้าน "มนตรี ศรไพศาล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า สาเหตุหนึ่งที่มีการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กมากขึ้น เกิดจากนักลงทุนรายย่อยเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง สะท้อนจากสัดส่วนการซื้อขายนักลงทุนบุคคลที่เพิ่มขึ้นเป็น 46-47% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จากสิ้นปี 62 ที่มีสัดส่วนเพียง 32% เท่านั้น
"ตั้งแต่ตลาดฯ ปรับปรุงเกณฑ์ Short Selling ชั่วคราวและคุมเข้มการทำ Naked Short นักลงทุนรายย่อยที่เคยหมดหวังกับตลาดหุ้นก็กลับเข้ามาอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่หุ้นไทยปรับตัวลงแรงก่อนหน้านี้จากโควิด-19 จึงเป็นจังหวะและโอกาสในการเข้ามาเก็งกำไร" มนตรี กล่าว
"ศรพล ตุลยะเสถียร" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยว่า ช่วง 2-3 เดือนหลังนักลงทุนรายย่อยซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันการเปิดบัญชีใหม่ก็เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติด้วย โดยพบว่าเดือน มี.ค.-เม.ย.63 นักลงทุนรายย่อยเปิดบัญชีซื้อขายใหม่ถึง 8 หมื่นราย จากก่อนหน้านี้ที่เฉลี่ย 2-3 หมื่นรายต่อเดือน ซึ่งมองว่าตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลดลงแรงจากความกังวลโควิด-19 ทำให้ต้นทุนลดลง 30-40% แต่ความสามารถในการลงทุนยังมีอยู่ จึงเป็นจุดตัดสินใจเข้าลงทุนช่วงนี้

*** เตือนเสี่ยงสูง ส่วนใหญ่ยังขาดทุน

"ณัฐชาต เมฆมาสิน" เตือนว่า การลงทุนในหุ้นขนาดเล็กต้องระมัดระวัง เนื่องจากสภาพคล่องต่ำ คาดการณ์ผลการดำเนินงานยาก เพราะหลายบริษัทไม่มีบทวิเคราะห์ ที่สำคัญหุ้นขนาดเล็กข้างต้นหลายบริษัทยังอยู่ในภาวะขาดทุน

ด้าน "ประกิต สิริวัฒนเกตุ" ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ ระบุว่า หุ้นกลุ่มนี้เป็นประเภทของการเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน ให้ระมัดระวัง เพราะราคาขึ้นลงเร็วและแรง หากไม่ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบหรือไม่ชำนาญการลงทุนหุ้นประเภทนี้ควรหลีกเลี่ยง เพราะรอบการเก็งกำไรในหุ้นลักษณะนี้มักจะสั้น โดยเฉพาะบริษัทที่ผลประกอบการไม่ดี
เช่นเดียวกับ "เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ที่มองว่า หุ้นขนาดเล็กมักมีแรงเก็งกำไรและปรับตัวขึ้นได้ดียามที่ดัชนีฯ เป็นขาขึ้น แต่หากมีการปรับฐาน หุ้นกลุ่มนี้จะมีแรงขายก่อน ต้องระมัดระวัง เพราะคาดว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับฐานลงมาในระยะสั้น เนื่องจากปัจจุบันซื้อขายที่ระดับ P/E ถึง 20 เท่า สูงที่สุดในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เฉลี่ยเพียง 16 เท่า ประเมินว่าหากมีการปรับฐานดัชนีฯ มีโอกาสลงไปต่ำสุดถึงระดับ 1,200 จุด

*** พบเกินครึ่งยังขาดทุน

"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจผลประกอบการ 29 บจ.ข้างต้นพบว่า 15 บริษัทผลประกอบการยังขาดทุน

15 หุ้นต่ำบาทงบขาดทุน

ชื่อย่อหุ้น

กำไรปี 61

กำไรปี 62

กำไร Q1/63

CHOW

-122

-198

-191

SOLAR

-383

-435

-73

TGPRO

1

-172

-58

GEL

-150

-273

-51

IRCP

-52

-101

-35

EIC

5

-22

-32

PK

-17

-186

-21

SAM

-99

-186

-20

BGT

-8

-42

-19

UMS

-64

-42

-13

EMC

370

4

-13

FANCY

-165

-92

-13

PRECHA

-30

-25

-7

ARIN

N/A

-14

-6

TKT

-37

12

-1

 

 

 

ดูข่าวต้นฉบับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0