โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กคัพ ติดอันดับปริมาณโซเดียมเกินมาตรฐาน

THE STANDARD

อัพเดต 26 เม.ย. 2562 เวลา 09.07 น. • เผยแพร่ 25 เม.ย. 2562 เวลา 08.17 น. • thestandard.co
ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กคัพ ติดอันดับปริมาณโซเดียมเกินมาตรฐาน
ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กคัพ ติดอันดับปริมาณโซเดียมเกินมาตรฐาน

หลายคนอาจเข้าใจว่าอาหารที่มีโซเดียมสูงต้องเป็นอาหารที่มีรสเค็มจัดอย่างน้ำปลา อาหารหมักดอง หรืออาหารตากแห้งเท่านั้น หารู้ไม่ว่า อาหารที่ไม่ได้มีรสสัมผัสที่เค็มแต่อย่างใดก็มีปริมาณโซเดียมที่สูงเกินมาตรฐานได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารสำเร็จรูปต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวคนเมืองมากกว่าที่คิด   

 

หลังสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้เครือข่ายขับเคลื่อนรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือ (โซเดียม) ในประเทศไทย ได้ลองสุ่มตรวจเส้นทางของอาหารต่างๆ ในประเทศไทย เริ่มจากปลาร้า จากผลการศึกษาพบว่า กว่าที่ปลาร้าจะเดินทางถึงผู้บริโภคต้องผ่านกระบวนการปรุงแต่งรสชาติหลายครั้งหลายครา เริ่มจากต้นทางการผลิตอย่างการนำปลาหมักกับเกลือ จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะเพิ่มรสชาติด้วยการเติมผงชูรสและผงปรุงรสต่างๆ ก่อนที่ผู้บริโภคจะปรุงรสอีกครั้งให้ถูกปากตน

 

นอกจากนี้ยังพบว่า อาหารยอดนิยมอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีติดครัวทุกบ้านมีปริมาณโซเดียมสูงที่สุดในบรรดาอาหารสำเร็จรูปทั้งหมด โดยพบว่า มีสูงถึง 1,275 มิลลิกรัม / 1 ซอง ขนาด 50 กรัม รองลงมา ได้แก่ โจ๊กคัพ ที่พบว่า มีโซเดียม 1,269 มิลลิกรัม / 1 ถ้วย ขนาด 35 กรัม ในขณะที่ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้กินต่อวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม สิ่งที่น่ากลัวคือ ผู้ปกครองจำนวนมากไม่ยอมให้เด็กกินขนมขบเคี้ยว เพราะไม่อยากให้ได้รับโซเดียมที่มากเกิน แต่กลับให้เด็กกินโจ๊กคัพเป็นอาหารเช้า เพราะความสะดวกและเชื่อในเรื่องคุณค่าทางสารอาหารผ่านคำโฆษณา โดยไม่พิจารณาให้ดีว่า อาหารสำเร็จรูปต่างๆ นั้นมักแฝงมาด้วยปริมาณโซเดียมที่สูงจนน่ากลัว

 

ล่าสุด องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยได้เปิดเผยข้อมูลว่า คนไทยเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมสูงมากกว่า 20,000 คนต่อปี อันมีสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคไต ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับพฤติกรรมการกินของคนเรา

 

ภาพ: shutterstock  

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:      

  • *สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล *
  • *คณะกรรมการอาหารและยา *
  • เครือข่ายลดการบริโภคเค็ม    
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0