โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"ปลาปอดออสเตรเลีย" ซากดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิต และอยู่บนโลกนี้มาแล้วกว่า 100 ล้านปี

Amarin TV

เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2562 เวลา 07.50 น.
ท่ามกลางการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมากมายจากโลกยุคดึกดำบรรพ์ ที่เปิดทางให้กับสัตว์ยุคใหม่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่อาศัยบนโลก ก็ยังมีสิ่งมีชีวิต

ท่ามกลางการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตมากมายจากโลกยุคดึกดำบรรพ์ ที่เปิดทางให้กับสัตว์ยุคใหม่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่อาศัยบนโลก ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตจากยุคก่อนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้สูญพันธุ์ไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และยังคงสืบต่อเผ่าพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้ อย่างเช่นปลายุคแรกๆ กลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า “ปลาปอดออสเตรเลีย”

ปลาปอดออสเตรเลีย หรือ ปลาปอดควีนส์แลนด์ (Australian lungfish, Queensland lungfis) เป็นปลากระดูกแข็งในชั้นปลาปอด (Dipnoi) ที่อยู่ในวงศ์ Ceratodontidae และเป็นปลาในอันดับ Ceratodontiformes เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงสืบสายพันธุ์มาจากต้นตระกูลเมื่อ 380 ล้านปีก่อน และคงรูปร่างลักษณะเดิมนี้มานานกว่า 100 ล้านปี

ในบรรดาปลาปอดที่เหลือมาจนถึงทุกวันนี้ ปลาปอดออสเตรเลียยังมีญาติอีกสองชนิดคือ ปลาปอดแอฟริกา และปลาปอดอเมริกาใต้ ที่อยู่ในอันดับ Lepidosireniformes แต่สิ่งที่ปลาปอดออสเตรเลียมีความแตกต่างจากญาติของมันคือ การมีครีบอกและครีบบริเวณท้อง มีรูปทรงคล้ายใบพาย และมีถุงลมที่ใช้ช่วยในว่ายน้ำและพยุงตัว 1 ถุง ซึ่งถุงลมนี้มีความสามารถที่จะแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจนได้ แต่ไม่สามารถที่อาศัยอยู่ใต้น้ำได้เป็นระยะเวลานานเท่าปลาปอดจำพวกอื่น และไม่มีความสามารถสร้างเมือกมาปกคลุมลำตัวเพื่อช่วยในการจำศีลในฤดูแล้งได้เมื่อญาติในแอฟริกา และอเมริกาใต้ ดังนั้นในช่วงฤดูแล้งที่แหล่งน้ำที่อาศัยแห้งขอด ปลาปอดออสเตรเลียจะอยู่นิ่งๆ ขึ้นมาฮุบอากาศหายใจเพียงครั้งละ 1-2 ครั้งต่อชั่วโมงเท่านั้น

นอกจากนี้ ปลาปอดออสเตรเลียยังมีดวงตากลมโตเห็นได้ชัดเจนกว่า และมีเกล็ดมีขนาดใหญ่แบบ Cosmoid ซึ่งเป็นเกล็ดลื่นๆ ผิวลักษณะเรียบ และมีขนาดใหญ่ ทั้งยังเป็นเกล็ดที่ไม่มีปรากฏในปลาสมับใหม่อีกแล้ว

ปัจจุบัน ปลาปอดออสเตรเลียมีสถานะปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติเต็มที และเป็นปลาที่ได้รับการอนุรักษ์ตามกฎหมายของออสเตรเลีย โดยมีชื่อติดอยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ที่จะมีการค้าขายหรือครอบครองต้องได้รับการอนุญาตจากทางการเสียก่อน โดยได้รับการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1975 แต่ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะเพาะขยายพันธุ์ปลาปอดออสเตรเลียในสถานที่เลี้ยง ทำให้ปลาปอดออสเตรเลียกลายเป็นปลาสวยงาม ที่มีความต้องการมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ก็มีราคาซื้อขายที่แพงมาก และการส่งออกหรือนำเข้าแต่ละครั้งต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และปลาทุกตัวที่เกิดจากสถานเพาะเลี้ยงต้องผ่านการฝังชิปเพื่อระบุถึงตัว

จากข้อมูลผูเมีประสบการณ์เลี้ยงปลาปอดออสเตรเลียในไทยพบว่า ปลาปอดออสเตรเลียมีนิสัยค่อนข้างรักสงบ ไม่ก้าวร้าวเหมือนเช่นปลาปอดที่พบในทวีปแอฟริกา และสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ง่ายกว่า โดยลูกปลาปอดออสเตรเลียที่เกิดใหม่จะไม่มีพู่เหงือกพิเศษเหมือนปลาปอดจำพวกอื่น และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากในขวบปีแรก จากนั้นจะโตช้าลงเรื่อยๆ เมื่อมีขนาดเกิน 1 ฟุต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0