โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"ปลาดุกไฟฟ้า" ปลาตัวกลมทรงเหมือนไส้กรอก และสร้างไฟฟ้าได้กว่า 350 โวลต์

Amarin TV

เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2562 เวลา 07.57 น.
แม้ไฟฟ้ากับน้ำจะดูไม่ใช่ของที่เข้ากันสักเท่าไหร่ แต่ความหลากหลายในธรรมชาตินี้ก็สร้างความแปลกประหลาดในสิ่งมีชีวิตขึ้นมา อย่างเช่นปลาที่อาศัยอ

แม้ไฟฟ้ากับน้ำจะดูไม่ใช่ของที่เข้ากันสักเท่าไหร่ แต่ความหลากหลายในธรรมชาตินี้ก็สร้างความแปลกประหลาดในสิ่งมีชีวิตขึ้นมา อย่างเช่นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำ และสามารถพลิตไฟฟ้าขึ้นมาได้ ที่เราเรียกพวกมันว่า“ปลาดุกไฟฟ้า”

ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) เป็นสกุลปลาหนังน้ำจืดในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Malapterurus ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า μαλακός (malakos) หมายถึง “อ่อนนุ่ม”, πτερων (pteron) หมายถึง “ครีบ” และ ουρά (oura) หมายถึง “หาง” และโดยรวมมีความหมายถึง ครีบไขมันที่แลดูโดดเด่น เพราะจากปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบหลัง

รูปร่างโดยรวมแล้วปลาดุกไฟฟ้ามีลักษณะกลมยาวอวบอ้วนทรงกระบอกคล้ายไส้กรอก มีดวงตาขนาดเล็ก ริมปากหนาและรูจมูกกลมและมีความห่างจากกันพอสมควร ช่องเหงือกแคบและบีบตัว มีหนวดสามคู่ ไม่มีครีบหลัง มีครีบไขมันขนาดใหญ่อยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัวติดกับครีบหาง ครีบทุกครีบปลายครีบมนกลม ถุงลมแบ่งเป็นสองห้องยาว มีลำตัวทั่วไปสีน้ำตาลหรือเทา และมีลายจุดหรือกระสีคล้ำกระจายอยู่บนหลังและด้านข้างลำตัว ใต้ท้องเป็นสีขาวไม่มีลาย คอดหางมีลายแถบสีคล้ำสลับขาว และครีบหางมีลายสีขาวคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางครีบ

ปลาดุกไฟฟ้าพบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำไนล์, แม่น้ำคองโก, แม่น้ำแซมเบซี, แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำหลายสาย ในทวีปแอฟริกา รวมถึงทะเลสาบต่าง ๆ เช่น ทะเลสาบแทนกันยีกา หรือทะเลสาบชาด โดยพวกมันอาศัยอยู่ในน้ำขุ่นและมีตอไม้หรือโพรงหินสำหรับหลบซ่อนตัว

สิ่งที่ทำให้พวกมันได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะมันเป็นปลาไม่กี่ชนิดที่มีอวัยวะที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว ซึ่งสามารถปล่อยได้มากถึง 350 โวลต์ ในขนาดลำตัว 50 เซนติเมตร (19 นิ้ว) โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวได้ถึง 122 เซนติเมตร (48 นิ้ว) และน้ำหนัก 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์) ซึ่งไฟฟ้าที่ปลาสร้างออกมานั้น นอกจากจะใช้เพื่อการป้องกันตัวแล้ว ปลาดุกไฟฟ้ายังช็อตเหยื่อจนสลบ ก่อนจะค่อยๆ กลืนกินเข้าไปทั้งตัว

แม้จะมีอาวุธอันตรายและยังเป็นปลานักล่า แต่ปลาดุกไฟฟ้าเองก็เป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และในปัจจุบันมันยังได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย แต่สำหรับประเทศไทย กรมประมงได้ประกาศว่าเป็นปลาอันตราย และห้ามมีไว้ในครอบครอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0