โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ปลอดภัยแต่ไม่ได้สบายใจ! สำรวจ “3 ปัญหาครอบครัว” เมื่อต้องกักตัวด้วยกัน - จุดประเด็น

LINE TODAY

เผยแพร่ 08 เม.ย. 2563 เวลา 19.22 น. • AJ.

ข่าวดีของสถานการณ์โควิด19 ช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นการที่อู่ฮั่นกลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง หลังล็อกดาวน์มา 76 วันเต็ม ๆ

ประเทศไทยเองเพิ่งเริ่มประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่นาน แต่ก็มีทั้งเคอร์ฟิว ทั้งด่านตรวจ เรียกว่าทุกภาคส่วนให้ความร่วมมืออย่างจริงจังและเข้มข้น ประชาชนอย่างเราเองก็พยายามเต็มที่ที่จะช่วยกันอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ด้วยเหมือนกัน

ในขณะที่การล็อกดาวน์ รวมถึงการกักตัวอยู่บ้าน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดขณะนี้ในการชะลอการระบาดของโควิด19 แต่สำหรับบางคนและบางครอบครัว “การอยู่บ้าน” กลับไม่ได้ปลอดภัยและสบายใจอย่างที่หวัง LINE TODAY ชวนทุกคนมาสำรวจอีกมุมหนึ่งของปัญหาที่เกิดจากกักตัว ที่ส่วนมากเกิดจากความเครียดของการต้องอยู่บ้าน รวมถึงความรุนแรงจากคนใกล้ตัวด้วย

1.ปัญหาสุขภาพจิตของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกไปด้วยทำงานไปด้วย

รูปแบบครอบครัวสมัยใหม่หลายครอบครัวทั่วโลก ไม่ได้มีคุณปู่คุณย่าช่วยเลี้ยงหลานแบบสมัยก่อน บางครอบครัวที่มีลูกเล็กต้องพึ่งพาสถานรับเลี้ยงเด็กระหว่างที่คุณพ่อคุณแม่ออกไปทำงาน พอมีโควิด19 ระบบครอบครัวย่อมเปลี่ยนไป ทุกคนถูกบังคับให้อยู่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ทำงานที่บ้าน สถานรับเลี้ยงเด็กต้องปิดให้บริการ เด็กโตหน่อยก็ต้องเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์บ้านแทน ไม่แปลกที่ผู้ปกครองหลายคนจะหนักใจกับภาระที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความเครียดสะสมเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว เหล่าผู้ปกครองโปรดสำรวจตัวเองด้วยว่ากำลังเครียดเกินเหตุหรือไม่

2.ปัญหาการหย่าร้างเพราะอยู่ด้วยกันมากเกินไป

ประสบการณ์ตรงของทนายคดีหย่าร้างในประเทศจีน สตีฟ ลี (Steve Li) แห่ง Gentle & Trust Law Firm ให้ความเห็นว่างานของเขาเพิ่มมากขึ้นกว่า 25% ตั้งแต่มีการปิดเมืองที่เซียงไฮ้เมื่อกลางเดือนมีนาฯ ก่อนหน้านี้เคสที่เขาเจอประจำคือ “นอกใจ” แต่ตั้งแต่เกิดโควิด19 คนจีนต้องทนอยู่กับบ้านมากขึ้น และในหลาย ๆ เคส ยิ่งอยู่ด้วยกัน ก็ยิ่งผิดใจกัน ยิ่งอยู่ด้วยกัน ก็ยิ่งพบว่าตัวเองไม่ได้“ชอบ” คู่ของตนมากขนาดนั้น

เช่นเดียวกับเมืองซีอานและเมืองต๋าโจว ในจีน ที่คดีหย่าร้างทะยานสูงเกือบแซงยอดผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนมีนาฯ ที่เพิ่งมีการล็อกดาวน์

แต่คู่รักที่รู้สึกโชคดีก็มีไม่น้อยในสถานการณ์แบบนี้ ขอให้คนที่กำลังเบื่อหน่ายคนรัก ลองมองมุมกลับและนึกย้อนไปดูว่า เรารักกันเพราะอะไร?

เพราะทุกคนต้องการ“พื้นที่ส่วนตัว” ไม่ใช่แค่กับคู่สมรส แต่ทุกคนที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น ไม่แปลกที่บางครั้งการกักตัวจึงกลายเป็นพื้นที่แสนอึดอัดสำหรับบางคนไปโดยปริยาย

3.ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวรอบโลก

โควิด19 ระบาดเร็วแค่ไหน ปัญหาความรุนแรงในบ้านก็ระบาดเร็วไม่ต่างกัน โดยเฉพาะกับบ้านที่คู่สมรสมีประวัติความรุนแรงอยู่แล้ว

ในประเทศจีน องค์กร NGO กรุงปักกิ่งต้องง่วนกับการรับแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะเคสที่ผู้หญิงโดนทำร้ายมาตั้งราวเดือนกุมภาพันธ์ เริ่มตั้งแต่ช่วงที่มณฑลหูเป่ย์ถูกล็อกดาวน์

ในสเปน มีคนโทรเข้าสายด่วนรับแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัวมากกว่าเดิม 18% ช่วง 2 สัปดาห์หลังจากล็อกดาวน์ ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในเดือนอื่น ๆ ที่ผ่านมา

เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศส คดีกว่า 30% ที่ตำรวจได้รับแจ้งในช่วงโควิด19 จากทั่วประเทศคือคดีทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้นในครอบครัว

หลายเคสจบลงที่การหย่าร้าง ซึ่งก็ไม่ง่ายนัก เพราะในช่วงที่กิจการและองค์กรแทบทุกอย่างต้องหยุดชะงักตามมาตรการ Social Distance การขึ้นศาลเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ ผู้เคราะห์ร้ายหลายคนจำต้องอาศัยอยู่กับคนที่ทำร้ายพวกเธอ/เขา ตลอดระยะเวลาที่ต้องกักตัว

ในประเทศอังกฤษอัตราความรุนแรงเหล่านี้ก็เพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน จนผู้ประกาศข่าว วิคตอเรีย เดอร์บีไชร์ (Victoria Derbyshire) ช่อง BBC ตัดสินใจเขียนเบอร์สายด่วนช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงไว้บนหลังมือตอนรายงานข่าวไปด้วย เพื่อให้ผู้เคราะห์ร้ายที่อาจกำลังดูรายการของเธออยู่ขณะนั้นได้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ 

วิคตอเรีย เดอร์บีไชร์ เขียนเบอร์สายด่วนช่วยเหลือความรุนแรงไว้ที่หลังมือของเธอขณะรายงานข่าว / ขอบคุณภาพจาก dailymail.co.uk
วิคตอเรีย เดอร์บีไชร์ เขียนเบอร์สายด่วนช่วยเหลือความรุนแรงไว้ที่หลังมือของเธอขณะรายงานข่าว / ขอบคุณภาพจาก dailymail.co.uk

The National Domestic Abuse hotline has seen a 25% increase in calls & online requests for help in past week
During the lockdown there’s also been a daily rise in people going on the helpline website & last wk that figure was up by 150%
The helpline is open 24/7 pic.twitter.com/onHBSfhERV

— Victoria Derbyshire (@vicderbyshire) April 6, 2020

อย่างไรก็ตาม คนที่สามารถกักตัวกับครอบครัวอย่างสงบสุขก็มีไม่น้อย ซึ่งก็นับเป็นโอกาสดีที่ได้อยู่กับคนที่รักอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ขอให้ถ้อยทีถ้อยอาศัย และอย่าลืมว่าแม้อยู่ด้วยกัน ก็ต้องรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ก็ยังจำเป็นต้องทำ อย่างที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แนะนำเสมอ

ระยะหลังดูเหมือนปัญหาที่เกิดจากการกักตัวจะเริ่มปรากฏ ไม่ว่าจะปัญหาครอบครัวที่ผุดขึ้นทั่วโลก ผลกระทบด้านรายได้กับคนบางกลุ่ม หรือสำหรับบางอาชีพที่ไม่มีทางเลือกให้ Work from Home นอกจากมาตรการรัฐที่คลอดออกมารัว ๆ แล้ว เราหวังว่าคงไม่มีใครถูกหลงลืมไว้ข้างหลังในช่วงเวลาที่บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะโรคระบาดแบบนี้

หากพบสถานการณ์รุนแรงในครอบครัว โปรดแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม ที่เบอร์ 1300

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 / 5

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0