โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ปรุง ป้อมเกิด กับการจัดการดูแลมะละกอแขกดำ

รักบ้านเกิด

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 06.54 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 06.54 น. • รักบ้านเกิด.คอม

เป็นเวลากว่า 30 ปีที่คุณปรุง ป้อมเกิดปลูกมะละกอแขกดำจุดเริ่มต้นเมื่อครั้งอดีตมีแม่ค้าในตลาดนำมะละกอแขกดำมาให้ภรรยาของคุณปรุงมาชิมทั้งสองชอบใจในรสชาติ จึงนำเมล็ดมะละกอลูกนั้นมาเพาะขยายพันธุ์ในตอนแรกที่ผลผลิตออกมายังไม่ค่อยได้รับความนิยม แต่คุณปรุงก็ไม่ย่อท้อพยามปลูกพร้อมคัดพันธุ์มะละกอแขกดำมาอย่างต่อเนื่องจนสายพันธุ์นิ่งให้รสชาติหวานหอมอร่อยมากจนได้ชื่อว่า "มะละกอแขกดำสายพันธุ์นายปรุง" สิ่งนี้เป็นเครื่องสะท้อนความมุ่งมั่น ความพยายามที่มีต่ออาชีพเกษตรกรการคัดเมล็ดพันธุ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปีเป็นเรื่องไม่ง่ายเพราะต้องใช้ความอดทนอย่างมากจึงจะประสบความสำเร็จ

Plant/10475_1_1.JPG
Plant/10475_1_1.JPG

เป็นเวลากว่า 30 ปีที่เรียนรู้การปลูกมะละกอแขกดำด้วยตัวเองได้ลองผิด ลองถูกจนเป็นองค์ความรู้ที่ทำให้คุณปรุง ประสบความสำเร็จโดยให้ความใส่ใจในทุกขั้นตอนนับตั้งแต่การเพาะเมล็ดไปจนถึงการเก็บเกี่ยวบรรจุภัณฑ์ทุกขั้นตอนต้องทำด้วยความระมัดระวังนี่คือเคล็ดลับที่คุณปรุงทำจนประสบความสำเร็จ

Plant/10475_2_2.JPG
Plant/10475_2_2.JPG

มะละกอแขกดำต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกการดูแลอย่างดีโดยเฉพาะโรคไวรัสวงแหวนเป็นสิ่งที่ชาวสวนมะละกอกลัวกันมาก โรคนี้ยังไม่มียารักษาเท่าที่สังเกตุจะมาในช่วงเปลี่ยนลมจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว,ฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อนโดยมีไรแดงเป็นพาหะคุณปรุงจะใช้วิธีฉีดยากันไรแดง 1 เที่ยวป้องกันขณะที่ลมเริ่มเปลี่ยนทิศในทุกๆครั้ง วิธีนี้ใช่ว่าจะป้องกันได้ทุกครั้ง ในกรณีที่เป็นไวรัสวงแหวนเมื่อตรวจเจอต้นไหนที่ติดโรคนี้ให้ทำการโค่นต้นแล้วเผาทำลายเอาออกไปทิ้งนอกสวนทันทีอย่าเสียดายและอย่าเชื่อว่ามียารักษาได้

Plant/10475_3_3.JPG
Plant/10475_3_3.JPG

การให้น้ำมะละกอสวนคุณปรุงไม่ได้ให้น้ำทุกวันมะละกอชอบน้ำแต่ไม่ชอบแฉะ โดยสังเกตุว่าบนผิวดินยังมีความชื้นอยู่ไหมถ้ามีก็ยังไม่ต้องให้แต่ถ้าผิวดินแห้งก็จะให้น้ำผ่านระบบสปริงเกอร์โดยให้ในช่วงเย็นราว 30 นาที ดังนั้นน้ำอาจจะให้ประมาณ 2-3 วันครั้งแล้วแต่สภาพดินของแต่ละสวน

Plant/10475_4_4.JPG
Plant/10475_4_4.JPG

ดินที่ดีสำหรับการปลูกมะละกอแขกดำคุณปรุงบอกว่าต้องเป็นดินเหนียวแต่ปัจจุบันดินอะไรก็ได้ให้ใช้หลักคิดว่าดินขาดธาตุไหนก็เติมธาตุนั้นนี่คือเคล็ดลับว่าทำไม 30 ปีที่คุณปรุงปลูกมะละกอแขกดำในที่ดินผืนนี้ถึงยังคงคุณภาพได้ดีอยู่เสมอ หลักการให้ปุ๋ยคุณปรุงจะใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวราว 30 กระสอบต่อพื้นที่ 16 ไร่ทยอยใส่สลับกับปุ๋ยมูลไก่ซึ่งใส่เป็นหลัก ปุ๋ยน้ำจะใช้ปุ๋ยหมักปลาที่ทำเองสูตรปุ๋ยหมักปลาคือปลา 3 ส่วน,กากน้ำตาล 2 ส่วนและเปลือกสัปปะรด หมักทิ้งไว้ 3 เดือนอัตราการใช้ 10-20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำหมักปลาคือหัวใจของความใหญ่โตถ้าใช้มากเกินจะได้มะละกอที่มีผลใหญ่มากเกินตลาดจะรับซื้อ(ใหญ่เกินก็ไม่ดี)คุณปรุงเคยทำได้ถึงลูกละ 3 กิโลกรัมซึ่งตลาดรับได้ที่ 1.5-2 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนปุ๋ยเคมีคุณปรุงจะใส่สูตรเสมอเป็นการบำรุงต้นไม่ต้องใส่มาก

Plant/10475_5_5.JPG
Plant/10475_5_5.JPG

การดูแลเรื่องหญ้าในสวนมะละกอคุณปรุงจะฉีดยาฆ่าหญ้าปีละ2-3 ครั้งโดยจะต้องเลือกใช้ยาที่ไม่ส่งผลกระทบกับต้นมะละกอ

Plant/10475_6_6.JPG
Plant/10475_6_6.JPG

การเก็บเกี่ยวมะละกอควรทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากผิวมะละกอแขกดำจะบางและช้ำง่ายกว่าฮอลแลนด์ดังนั้นการเก็บต้องดูแลเป็นพิเศษเครื่องมือในการเก็บผลมะละกอต้องเก็บทีละลูกใช้แบบในภาพ เมื่อการบรรจุส่งขายลูกค้าต้องสวมโฟมตาข่ายป้องกันการกระแทกอีกด้วย

Plant/10475_7_7.JPG
Plant/10475_7_7.JPG

คำแนะนำ:ปุ๋ยมูลค้างคาวแท้ต้องมาจากแหล่งแถวลพบุรีที่คุณปรุงซื้อกระสอบละ 550 บาท ส่วนมูลไก่ต้องเลือกแหล่งที่เลี้ยงไก่เนื้อระบบ 38 วัน เพาะอาหารที่ไก่เหล่านั้นกินจะมีอาหารสูงมูลไก่ที่ได้จะเป็นปุ๋ยที่ดี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0