โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศเข้าขั้นวิกฤต เหลือใช้จริงได้เฉลี่ยเพียง 24%

THE STANDARD

อัพเดต 19 ก.ค. 2562 เวลา 05.33 น. • เผยแพร่ 19 ก.ค. 2562 เวลา 05.33 น. • thestandard.co
ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศเข้าขั้นวิกฤต เหลือใช้จริงได้เฉลี่ยเพียง 24%
ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศเข้าขั้นวิกฤต เหลือใช้จริงได้เฉลี่ยเพียง 24%

สืบเนื่องจากหลายวันที่ผ่านมา ปัญหาวิกฤตการณ์ภัยแล้งเริ่มเป็นกระแสให้พูดถึงเป็นวงกว้าง หลังจากมีภาพการรายงานของน้ำในเขื่อนต่างๆ เริ่มปริมาณลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ

 

 

ล่าสุด กรมชลประทานได้รายงานสรุปศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ เรื่อง สถานการณ์น้ำและการเฝ้าระวัง ประจำวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (ข้อมูลของวันที่ 18 กรกฎาคม 2562) ปรากฏว่า ตัวเลขปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางเริ่มอยู่ในภาวะวิกฤต หลังพบปริมาณน้ำที่ใช้ได้จริงเหลือเพียง 24% เท่านั้น ขณะที่สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง สามารถสรุปได้ดังนี้ 

 

  • ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 36,429 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 48 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 12,516 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24) 
  • ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เมื่อเทียบกับปี 2561 (46,970 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 62) จะพบว่า น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 10,541 ล้านลูกบาศก์เมตร 
  • ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จํานวน 53.03 ล้านลูกบาศก์เมตร 
  • ปริมาณน้ำระบายจํานวน 124.01 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 39,639 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

และหากจำแนกเพียงสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จะพบว่า อ่างเก็บน้ำทั้ง 35 แห่ง มีปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 

 

  • ต่ำกว่า 30% รวม 18 แห่ง
  • ตั้งแต่ 31-50% รวม 10 แห่ง
  • มากกว่า 50% รวม 7 แห่ง

 

นอกจากนี้สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4 เขื่อนหลัก) รวมทั้งสิ้น 8,256 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 (ปริมาณน้ำใช้การได้ 1,560 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 9) ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 9.30 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายจำนวน 44.55 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 16,615 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยแยกได้ ดังนี้

 

  • เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำ 4,692 ล้านลูกบาศก์เมตร (35% ของความจุอ่างฯ) เป็นน้ำใช้การได้ 892 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 5.45 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายจำนวน 23.00 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 8,770 ล้านลูกบาศก์เมตร

  • เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ 3,373 ล้านลูกบาศก์เมตร (35% ของความจุอ่างฯ) เป็นน้ำใช้การได้ 523 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 3.85 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายจำนวน 18.69 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 6,137 ล้านลูกบาศก์เมตร

  • เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนมีปริมาณน้ำ 144 ล้านลูกบาศก์เมตร (15% ของความจุอ่างฯ) เป็นน้ำใช้การได้ 101 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 0.00 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายจำนวน 2.16 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 795 ล้านลูกบาศก์เมตร

  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำ 47 ล้านลูกบาศก์เมตร (5% ของความจุอ่างฯ) เป็นน้ำใช้การได้ 44 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 0.00 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายจำนวน 0.70 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถรับน้ำได้อีก 913 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

 

ขณะเดียวกันสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำต่างๆ ก็มีแนวโน้มลดลงมากถึง 7 แห่ง และอยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ำในตลิ่งน้อยกว่าเกณฑ์มากถึง 15 แห่ง โดยพบว่า 2 แม่น้ำที่มีสถานการณ์น่าเป็นห่วงคือ แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ที่มีน้ำอยู่ในเกณฑ์ -10.96 เมื่อเทียบกับขนาดของตลิ่งที่ 16.34 เมตร และแม่น้ำป่าสัก โรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีน้ำอยู่ในเกณฑ์ -3.86 เมื่อเทียบกับขนาดของตลิ่งที่ 4.70 เมตร

 

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า ขณะนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ สามารถเก็บกักน้ำได้กว่า 960 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพียง 48 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุอ่างฯ 

 

เนื่องจากขณะนี้ได้ระบายน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศและการอุปโภคบริโภควันละประมาณ 700,00 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งยืนยันว่า เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ หากยังคงระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะสามารถสนับสนุนน้ำได้จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2562 แต่ตามความคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ต่อจากนี้ไปจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น

 

 

และแม้ว่าช่วงนี้เข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้วก็ตาม แต่หลายพื้นที่ยังคงมีฝนตกน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อยตามไปด้วย จึงขอให้เกษตรกรติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากน้ำที่เหลือในขณะนี้ จะเน้นเพื่อการอุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศเท่านั้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดและจริงจัง เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้มากที่สุด

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0