โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ปรับเป้าเพิ่ม

autoinfo.co.th

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2561 เวลา 20.00 น.
ปรับเป้าเพิ่ม
ปรับเป้าเพิ่ม

เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2018/2017
ตลาดโดยรวม
+25.7 %
รถยนต์นั่ง
+23.2 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV)
+52.3 %
รถอเนกประสงค์ (MPV)
-14.2 %
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ
+25.0 %
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ
+20.4 %
อื่นๆ
+13.9 %
เปรียบเทียบยอดจำหน่ายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2018/2017
ตลาดโดยรวม
+20.2 %
รถยนต์นั่ง
+20.0 %
รถกิจกรรมกลางแจ้ง (SUV)
+34.9 %
รถอเนกประสงค์ (MPV)
-19.3 %
กระบะขับเคลื่อน 2 ล้อ
+21.3 %
กระบะขับเคลื่อน 4 ล้อ
+12.4 %
อื่นๆ
+2.0 %
ก่อนฤดูกาลค้าขายรถยนต์ใหม่ในประเทศปี 2561 จะเริ่มต้น บรรดาผู้บริหารระดับสูงของบริษัทรถยนต์ทั้งหลาย รวมถึงผู้สันทัดกรณีในแวดวงยานยนต์ไทย ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในประเทศปี 2561 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 900,000 คัน อย่างไรก็ตาม เมื่อการค้าขายรถยนต์ใหม่ของปี 2561 ผ่านไปได้ครึ่งทาง ดูเหมือนว่าสิ่งที่คาดการณ์กันไว้ไม่น่าจะเป็นไปตามนั้นเสียแล้ว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้เพียงแค่ครึ่งปีแรกเท่านั้น ยอดจำหน่ายรวมของตลาดรถยนต์ในประเทศก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่าในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2560 ถึง 19.3 % ทำให้ต้องมีการปรับคาดการณ์ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศของปี 2561 กันใหม่ โดยค่ายยักษ์ใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้นไปแตะที่ประมาณ 980,000 คันเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็จะทำให้การแข่งขันในตลาดทวีความเข้มข้นมากขึ้น ผู้คนมีกำลังซื้อมากขึ้น และการตัดสินใจซื้อที่ง่ายขึ้น แต่จะเป็นอย่างที่คาดหวังกันไว้หรือไม่ เวลา 6 เดือนที่เหลืออยู่ของปี 2561 จะให้คำตอบได้อย่างแน่นอน
สำหรับเดือนกรกฎาคม 2561 ตลาดรถยนต์ในบ้านเรามีความคึกคักขึ้นมาในระดับหนึ่ง โดยได้งาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโท ซาลอน 2018 เป็นยากระตุ้น ถึงแม้หลักใหญ่ใจความแล้วงานดังกล่าวนี้จะเป็นการแสดงรถยนต์ที่ผ่านการปรับแต่งโมดิฟายด์มาใหม่ของสำนักปรับแต่งรถยนต์ชื่อดังต่างๆ ซึ่งรถที่นำมาจัดแสดง มีทั้งที่อิมพอร์ทมาจากต่างบ้านต่างเมือง และที่ตกแต่งโมดิฟายด์ใหม่ภายในประเทศ แต่ถึงกระนั้น บริษัทรถยนต์หลายค่ายก็เล็งเห็นถึงการมีส่วนร่วมกับงานนี้ โดยนำรถยนต์ที่ตกแต่งพิเศษมาเปิดตัว พร้อมจำหน่ายในงานนี้ด้วยเช่นกัน ขณะที่รถยนต์รุ่นใหม่ที่เปิดตัวเข้าสู่ตลาดรถยนต์บ้านเราในเดือนกรกฎาคมนี้ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษเห็นจะได้แก่ เอเวอเรสต์ ใหม่ ของค่าย ฟอร์ด ที่คาดว่านักเลงรถเอสยูวีจะให้การต้อนรับโมเดลใหม่นี้กันอย่างอบอุ่นไม่ใช่น้อย จากรูปร่างหน้าตา และสมรรถนะที่โดดเด่นไม่แพ้เอสยูวีระดับหัวแถวอื่นๆ
ในเดือนกรกฎาคม 2561 มีการซื้อขายรถยนต์ใหม่รวมทั้งสิ้น 81,946 คัน เป็นตัวเลขยอดจำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนกรกฎาคม 2560 ถึง 25.7 % โดยที่ มาซดา มียอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกโมเดลขยับจากอันดับที่ 5 ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 จำหน่ายได้ 6,362 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.8 % มิตซูบิชิ มียอดจำหน่ายรวมที่สลับไปอยู่ในอันดับที่ 5 แทน โดยจำหน่ายได้ 6,008 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.3 % ส่วนอันดับที่ 1-3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันดับแต่อย่างไร โดย โตโยตา มียอดจำหน่ายรวมสูงสุดเป็นอันดับที่ 1 จำหน่ายได้ 26,177 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 31.9 % อันดับ 2 อีซูซุ 13,140 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 16.0 % อันดับ 3 ฮอนดา 10,488 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 12.8 %
ในส่วนของยอดจำหน่ายสะสมเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม ปรากฏตัวเลขยอดจำหน่ายพุ่งขึ้นไปเกินกว่า 500,000 คันแล้ว โดยล่าสุดอยู่ที่ 571,061 คัน เพิ่มสูงขึ้นกว่า 7 เดือนแรกของปี 2560 อยู่ 20.2 % 5 อันดับรถขายดีที่สุดประกอบด้วย โตโยตา จำหน่ายแล้ว 167,870 คัน เพิ่มขึ้น 30.5 % ส่วนแบ่งตลาด 29.4 % ตามด้วย อีซูซุ จำหน่ายแล้ว 99,503 คัน เพิ่มขึ้น 11.5 % ส่วนแบ่งตลาด 17.4 % ฮอนดา จำหน่ายแล้ว 70,326 คัน ลดลง 2.2 % ส่วนแบ่งตลาด 12.3 % มิตซูบิชิ จำหน่ายแล้ว 47,109 คัน เพิ่มขึ้น 24.9 % ส่วนแบ่งตลาด 8.2 % และมาซดา จำหน่ายแล้ว 39,955 คัน เพิ่มขึ้นถึง 43.7 % ส่วนแบ่งตลาด 7.0 %

ภาพประกอบ : ปรับเป้าเพิ่ม
ภาพประกอบ : ปรับเป้าเพิ่ม

สำหรับรถพิคอัพขับเคลื่อน 2 ล้อ เดือนกรกฎาคม 2561 มียอดจำหน่ายรวมกันที่ 31,659 คัน เพิ่มขึ้น 25.0 % เมื่อเทียบกับตัวเลขยอดจำหน่ายของเดือนกรกฎาคมปี 2560 เดือนนี้ อีซูซุ กลับมาทวงตำแหน่งแชมพ์รายเดือนได้สำเร็จ หลังถูก โตโยตา แซงไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดย อีซูซุ จำหน่ายได้ 10,544 คัน รับส่วนแบ่งการตลาดไป 33.3 % ส่วน โตโยตา จำหน่ายได้ 10,464 คัน ส่วนแบ่งตลาด 33.1 % เฉือนกันแค่ไม่กี่ 10 คันเท่านั้น ส่วนอันดับ 3 ยังคงเป็น ฟอร์ด ที่จำหน่ายได้ 3,799 คัน ส่วนแบ่งตลาด 12.0 % ต่อด้วย มิตซูบิชิ ในอันดับที่ 4 ยอดจำหน่าย 2,731 คัน ส่วนแบ่งตลาด 8.6 % และอันดับ 5 นิสสัน 1,955 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6.2 %
ตัวเลขยอดจำหน่ายสะสมรวม 7 เดือนของตลาดนี้อยู่ที่ 223,028 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.3 % และเป็น อีซูซุ ที่โกยตัวเลขยอดจำหน่ายทิ้งห่างคู่แข่งสำคัญ โตโยตา ออกไปเรื่อยๆ โดย อีซูซุ ยอดสะสม 7 เดือนอยู่ที่ 79,966 คัน เพิ่มขึ้น 13.7 % ส่วนแบ่งตลาด 35.9 % โตโยตา อยู่ที่ 64,318 คัน เพิ่มขึ้น 25.2 % ส่วนแบ่งตลาด 28.8 % อันดับ 3 ฟอร์ด ยอดสะสม 29,049 คัน เพิ่มขึ้น 40.3 % ส่วนแบ่งตลาด 13.0 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ 21,400 คัน เพิ่มขึ้น 35.8 % ส่วนแบ่งตลาด 9.6 % และอันดับ 5 นิสสัน 12,150 คัน เพิ่มขึ้น 15.0 % ส่วนแบ่งตลาด 5.4 %
รถพิคอัพขับเคลื่อน 4 ล้อ ทั้งตลาดมียอดจำหน่ายรวมกันที่ 2,794 คัน เพิ่มขึ้น 20.4 % เดือนกรกฎาคม 2561 ตลาดนี้ โตโยตา จองแชมพ์อีก จำหน่ายได้ 1,613 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ 57.7 % ตามด้วย อีซูซุ 501 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 17.9 % ฟอร์ด 424 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 15.2 % มิตซูบิชิ 183 คัน ส่วนแบ่งตลาด 6.5 % และนิสสัน 53 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1.9 % รวม 7 เดือน ตลาดนี้มียอดสะสมที่ 20,929 คัน เพิ่มขึ้น 12.4 % ยอดสะสมสูงสุดอันดับ 1 โตโยตา 11,667 คัน เพิ่มขึ้น 20.4 % ส่วนแบ่งตลาด 55.7 % อันดับ 2 อีซูซุ ยอดสะสม 4,082 คัน เพิ่มขึ้น 6.7 % ส่วนแบ่งตลาด 19.5 % อันดับ 3 ฟอร์ด 2,690 คัน ลดลง 5.2 % ส่วนแบ่งตลาด 12.9 % อันดับ 4 มิตซูบิชิ ยอดสะสม 1,804 คัน เพิ่มขึ้น 15.2 % ส่วนแบ่งตลาด 8.6 % และอันดับ 5 นิสสัน ยอดสะสม 479 คัน เพิ่มขึ้น 9.6 % ส่วนแบ่งตลาด 2.3 %
รถเอสยูวี ความต้องการรถยนต์ประเภทนี้ยังคงมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดือนกรกฎาคมนี้ทั้งตลาดมียอดจำหน่ายรวมกันที่ 11,298 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมปีก่อนถึง 52.3 % โดยที่ โตโยตา ซึ่งได้ ซี-เอชอาร์ มาเสริมแนวรุกยังทำยอดจำหน่ายพุ่งฉิวต่อไป เดือนนี้ โตโยตา จำหน่ายได้ 3,768 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 33.4 % ยึดอันดับ 1 ต่อไปอย่างเหนียวแน่น ส่วน ฮอนดา คงต้องพอใจกับอันดับที่ 2 เพราะความสดใหม่ของพโรดัคท์ตกเป็นรอง โตโยตา นั่นเอง เดือนนี้ ฮอนดา จำหน่ายรถเอสยูวีทุกโมเดลได้รวม 2,430 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 21.5 % อันดับ 3 เป็นของน้องใหม่มาแรง เอมจี เดือนนี้จำหน่ายไปได้อีก 1,401 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 12.4 % อันดับที่ 4 และ 5 เป็นของ อีซูซุ และมิตซูบิชิ โดย อีซูซุ จำหน่ายได้ 874 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.7 % มิตซูบิชิ 840 คัน ส่วนแบ่งการตลาด 7.4 %
7 เดือนผ่านไป รถเอสยูวียี่ห้อต่างๆ มีการจำหน่ายออกไปแล้วรวมทั้งสิ้น 77,827 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2560 ถึง 34.9 % โดยที่ยอดจำหน่ายสะสมสูงสุดเป็น โตโยตา จำหน่ายไปแล้วรวม 24,067 คัน เพิ่มขึ้นถึง 108.1 % คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 30.9 % ตามด้วย ฮอนดา 13,465 คัน ลดลง 8.3 % ส่วนแบ่งการตลาด 17.3 % เอมจี จำหน่ายแล้วรวม 10,263 คัน เพิ่มขึ้นถึง 696.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 13.2 % มิตซูบิชิ จำหน่ายแล้วรวม 7,178 คัน ลดลง 13.2 % ส่วนแบ่งการตลาด 9.2 % และอันดับสุดท้ายใน 5 อันดับ เอสยูวีจำหน่ายขายดีที่สุดเป็นของ อีซูซุ จำหน่ายแล้วรวม 6,868 คัน ลดลง 5.1 % ส่วนแบ่งการตลาด 8.8 %
ในส่วนของรถเอมพีวีที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 5 อันดับแรกในเดือนกรกฎาคมนี้ มีชื่อของ ซังยง จากเกาหลีใต้กลับเข้ามาอยู่ในชาร์ทอีกครั้งหนึ่ง หลังจากหายหน้าหายตาไปนาน โดยมียอดจำหน่ายสูงสุดอยู่ในอันดับที่ 5 จากยอดจำหน่ายรวมทั้งตลาด 1,434 คัน ลดลง 14.2 % ขณะที่อันดับ 1-4 ยังคงเป็นหน้าเดิมๆ เริ่มจากอันดับ 1 โตโยตา 673 คัน ส่วนแบ่งตลาด 46.9 % อันดับ 2 ฮอนดา 556 คัน ส่วนแบ่งตลาด 38.8 % อันดับ 3 เกีย 171 คัน ส่วนแบ่งตลาด 11.9 % อันดับ 4 ซูซูกิ 22 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1.5 % อันดับ 5 ซังยง 8 คัน ส่วนแบ่งตลาด 0.6 % ผ่านไป 7 เดือน รถเอมพีวีทั้งตลาดมียอดจำหน่ายสะสมรวมกันที่ 9,625 คัน ลดลง 19.3 % ยอดจำหน่ายสะสมสูงสุดเป็น โตโยตา 4,347 คัน ลดลง 25.2 % ส่วนแบ่งตลาด 45.2 % ตามด้วยอันดับ 2 ฮอนดา 4,174 คัน ลดลง 16.0 % ส่วนแบ่งตลาด 43.4 % อันดับ 3 เกีย 688 คัน เพิ่มขึ้น 60.4 % ส่วนแบ่งตลาด 7.1 % อันดับ 4 ซูซูกิ 254 คัน ลดลง 48.5 % ส่วนแบ่งตลาด 2.6 % และอันดับ 5 ฮันเด 114 คัน ลดลง 27.8 % ส่วนแบ่งตลาด 1.2 %
สำหรับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ยกเว้นรถยนต์นั่ง เดือนกรกฎาคม 2561 มียอดจำหน่ายรวม 3,258 คัน เพิ่มขึ้น 13.9 % รวม 7 เดือน 23,395 คัน เพิ่มขึ้น 2.0 %

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0