โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ประเทศในเอเชียกำลังหาทางรอด จากภาวะเศรษฐกิจ “ถดถอย”

Businesstoday

เผยแพร่ 17 ก.พ. 2563 เวลา 11.10 น. • Businesstoday
ประเทศในเอเชียกำลังหาทางรอด จากภาวะเศรษฐกิจ “ถดถอย”

ประเทศต่างๆ ในเอเชียโดยเฉพาะจีนกำลังมองหามาตรการปกป้องเศรษฐกิจ จากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หลังแนวโน้มส่อภาวะชะลอตัวลงหนักในปีนี้

ขณะที่ตัวเลขการเพิ่มขึ้นขอการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาในจีนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีอัตราการเพิ่มที่ลดลงบ้าง โดยยอด ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ มีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 1,770 ราย ส่วนยอดผู้ป่วยติดเชื้ออยู่ที่ 71,3 3 0 ราย

ธนาคารกลางจีน (PBOC) พร้อมจัดหาเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ให้กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ในวงเงิน 200,000 ล้านหยวน หรือ 28,650 ล้านดอลลาร์ ที่เป็นเงินกู้ MLF ประเภทอายุ 1 ปี รวมถึงปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MLF ลง 0.10% สู่ระดับ 3.15%

PBOC ยังได้อัดฉีดเงิน 100,000 ล้านหยวน หรือราว 14,300 ล้านดอลลาร์ เข้าสู่ระบบการเงินในวันจันทร์ผ่านทางข้อตกลง Reverse Repo อายุ 7 วัน ที่อัตราดอกเบี้ย 2.4% หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา PBOC ยังได้อัดฉีดสภาพคล่องกว่า 76,900 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยธุรกิจใช้เป็นเงินสินเชื่อเพื่อไม่ให้ประสบกับปัญหาเป็นหนี้เสีย

ทั้งนี้ มูดี้ส์อินเวสต์เตอร์ เซอร์วิส ได้ทบทวนหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจจีนในปี 2020 ขยายตัวที่ 5.2% เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 5.7% .

สำหรับผลกระทบที่มีต่อประเทศในเอเชียอื่นๆ ทั้งสิงคโปร์มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ท่ามกลางวิกฤตการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนา โดยคาดว่าจะขยายตัวระหว่าง -0.5% ถึง 1.5% จากเดิมที่ตาดการณ์ไว้ที่ 0.5% ถึง 2.5%

สิงคโปร์อาจจะต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลทางการคลังครั้งสำคัญในปีนี้ที่มากถึง 7,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 5,040 ล้านดอลลาร์) ถึง 8,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพียง 0.7% ในปี 2019

ฮ่องกงจะเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจของจีนที่เปรียบเหมือนเผชิญหน้ากับสึนามิ จนเกิดภาวะขาดดุลงบประมาณหนักหน่วงขึ้น รวมทั้งมีการขาดแคลนเงินงบประมาณในบางครั้งบางคราว

ส่วนญี่ปุ่นที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกนั้น กำลังหวาดหวั่นว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจทรุดตัวอ่อนแอลงมากที่สุดเกือบจะใกล้เคียงกับปี 2014 จนถึงความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)

หลังจากเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการที่ขึ้นภาษีการขาย หรือ Sales Tax ซึ่งส่งผลต่อผู้บริโภค รวมทั้งแนวโน้มการใช้จ่ายของภาคธุรกิจที่เปราะบาง เนื่องจากผลกระทบทางลบจากแนวโน้มความเสี่ยงของการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น

ทำให้ต้องมีการจับตาเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงถัดจากนี้ไปอีก 2 ไตรมาสว่าจะเป็นไปในทิศทางลบจนกระทั่งเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างแท้จริงได้หรือไม่ รวมทั้งในการที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ Tokyo Olympic Games ช่วงฤดูร้อนจะช่วยกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวให้ชดเชยกับเศรษฐกิจที่อ่อนแอในภาพรวมได้หรือไม่

ท่ามกลางการใช้จ่ายของเงินลงทุนที่ดิ่งลงถึง 3.7% ในไตรมาส 4  จากค่ากลางที่คาดไว้ว่าจะร่วงลงเพียง 1.6% ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ประกอบกับความต้องการในประเทศที่ลดลง 2.1% ของ GDP
.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0