โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ประท้วงที่สหรัฐฯ ยากควบคุม ปัญหาการเหยียดผิวฝังรากลึก

TODAY

อัพเดต 02 มิ.ย. 2563 เวลา 03.38 น. • เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2563 เวลา 14.54 น. • Workpoint News
ประท้วงที่สหรัฐฯ ยากควบคุม ปัญหาการเหยียดผิวฝังรากลึก

วันที่ 1 มิ.ย. Workpoint Today สนทนากับ อ.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อดีตอาจารย์รัฐศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย ถึงสถานการณ์การประท้วงที่ต่อเนื่องมากจากการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำ ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดที่คอจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 พ.ค.

อ.ปองขวัญ กล่าวว่า ที่ลอสแอนเจลิส การประท้วงเริ่มต้นด้วยความสันติแบบหลายรัฐ ต่อมาก็มีความรุนแรงมากขึ้น แต่ยังสรุปไม่ได้ว่ามาจากผู้ประท้วงหรือไม่ เพราะมีคนภายนอกมาผสมโรง และทำให้ผู้ประท้วงบางส่วนออกไปป้องกันไม่ให้มีการปล้น เพื่อรักษาให้เป็นการประท้วงที่สันติ

แต่ภายหลังที่มีความรุนแรงขึ้น มีการใช้เนชั่นแนลการ์ด มารักษาความปลอดภัย ซึ่งก็มีมุมมอง 2 ด้าน กลุ่มผู้ที่ประท้วงโดยสันติก็ไม่เห็นด้วย ส่วนผู้ได้รับผลกระทบและร้านค้าต่างๆ ก็สนับสนุนเพราะมองว่าการประท้วงเกินพอดีไปแล้ว

ตำรวจใช้สเปรย์พริกไทย กับ กลุ่มผู้ประท้วงการตายของ จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำ
Jason Connolly / AFP

ส่วนการที่การประท้วงครั้งนี้ ในภาพรวมที่มีความรุนแรงกว่าครั้งอื่น มีปัจจัยหลายอย่าง การใช้ความรุนแรงกับคนดำมีปัญหามาตลอด ต่อเนื่องหลายสิบปี ในลอสแอนเจลิส มีเหตุการณ์ปี 1992 ก่อให้เกิดจลาจล แต่ตอนนั้นสเกลไม่ได้กระจายออกไปเหมือนครั้งนี้

ความรุนแรงครั้งนี้มีคนวิเคราะห์ว่า โควิด ทำให้ความอัดอั้นตันใจเพิ่มมากขึ้น คนจำนวนหนึ่งออกไปทำงานไม่ได้ มีปัญหาเศรษฐกิจ จึงออกไปร่วมกับผู้ประท้วง เพราะรู้สึกไม่ได้รับความยุติธรรม กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว เมื่อเกิดการประท้วง คนยิ่งเห็นยิ่งอยากออกไป

การแก้ปัญหาระยะสั้น รัฐต้องควบคุมให้ไม่บานปลาย ทรัพย์สินเสียหายน้อยกว่านี้ ส่วนการจะทำให้การชุมนุมหายไปเลย คงไม่มีการใช้วิธีกระชับพื้นที่ เพราะการชุมนุมคือสิทธิขั้นพื้นฐาน และจะยุติภายในไปกี่วันยังไม่สามารถคาดการณ์ได้

ภาพจาก Kerem Yucel / AFP

ระยะยาวการแก้ปัญหาเรื่องสีผิว การเหยียดกัน มีการพูดเรื่องนี้ตลอดแต่เป็นปัญหาที่ฝังรากลึก นักรัฐศาสตร์ก็พยายามศึกษาว่าต้นเหตุจากอะไร คนขาวมองคนดำว่าอยู่ในสภาวะที่ต่ำ หรือรู้สึกว่าถ้าให้สิทธิ์คนกลุ่มนี้สิทธิ์ของตัวเองจะหายไป

แนวทางอาจขึ้นอยู่กับว่า เอาคนที่รับฟังปัญหาคนผิวดำ ไปอยู่ในสภา ในตำแหน่งตัดสินใจได้แค่ไหน ซึ่งปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาผิวดำ ก็มีน้อยมาก หรือ กรณีประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า ที่เป็นข้อยกเว้น แต่ตอนโอบาม่า ขึ้นมา มีข้อมูลสำรวจว่า คนผิวขาวกลุ่มหนึ่งก็รู้สึกไม่มั่นคงในสถานะตัวเอง เรื่องนี้ยอมรับว่าต่อให้ว่ากันระยะยาวก็ยังเป็นเรื่องยาก

ส่วนปรากฎการณ์ที่เกิดความเคลื่อนไหวไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย เพราะคนเห็นเรื่องความไม่เท่าเทียม เป็นความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน มีการสนับสนุนให้คนมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกันกลุ่มอื่น การประท้วงหลายเมืองก่อนหน้านี้ เช่น ที่ตะวันออกกลาง คนทั้งโลกก็สนับสนุน คนที่มีอุดมกาณ์ความยุติธรรม มีจิตสำนึกเรื่องนี้ก็ออกมาสนับสนุน

ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อการเมืองและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐหรือไม่ โดยเฉพาะการที่ ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ออกมาทวีตข้อความกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง อ.ปองขวัญ บอกว่า ยังตอบยากเพราะสถานการณ์ยังไม่นิ่งตั้งแต่โควิด ระบาด

ทรัมป์เองมีผู้สนับสนุน โดยเฉพาะกลุ่มคนขาวที่เคยเลือกก็ไม่น่าจะเปลี่ยนใจ ส่วนกลุ่มที่ประท้วงก็ไม่ใช่คนที่เลือกทรัมป์อยู่แล้ว อาจจะหวังคนตรงกลางอาจจะเปลี่ยนบ้าง แต่ที่สุดต้องดูนโยบายของทั้ง 2 พรรค และอยู่ที่ โจ ไบเดน ผุ้สมัครจากพรรคเดโมแครต ด้วย ซึ่งไบเดน เองก็เคยไปพูดหาเสียงแล้วก็เกิดความผิดพลาดจนถูกวิจารณ์เช่นกัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0