โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ปภ.รายงาน 3 จังหวัดเผชิญพายุเซินติญ เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยเร็ว

JS100

เผยแพร่ 23 ก.ค. 2561 เวลา 04.17 น. • JS100:จส.100
ปภ.รายงาน 3 จังหวัดเผชิญพายุเซินติญ เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยเร็ว
ปภ.รายงาน 3 จังหวัดเผชิญพายุเซินติญ เร่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยเร็ว

กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อน "เซินติญ" ตั้งแต่วันที่ 17–22 กรกฎาคม 2561 ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยใน 13 จังหวัด คลี่คลายแล้ว 10 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 3 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก และประจวบคีรีขันธ์ นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินติญ ตั้งแต่วันที่ 17–22 กรกฎาคม 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ทำให้มีผู้เดือดร้อน 2,369 ครัวเรือน 6,935 คน โดยจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย ได้แก่ กาญจนบุรี เกิดฝนตกหนักน้ำไหลหลากในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี รวม 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 400 ครัวเรือน 1,042 คน วัด 1 แห่ง ถนน 2 สาย สถานที่ราชการ 7 แห่ง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 300 ไร่ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ตาก เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง และอำเภออุ้มผาง รวม 6 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80 ครัวเรือน 271 คน ถนน 18 สาย ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ประจวบคีรีขันธ์ เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่อำเภอหัวหิน รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 80 ครัวเรือน 248 คน ฝาย 3 แห่ง ปัจจุบันระดับน้ำลดลง ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ อีกทั้งเร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคุลมภาคใต้ ทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางพื้นที่ รวมถึงทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรง ปภ.จึงได้ประสานจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยจากภาวะฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม และคลื่นลมแรง โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด อีกทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน คลื่นลมมีกำลังแรง คลื่นสูง 2 – 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณชายฝั่งระมัดระวังอันตรายจากคลื่นซัดฝั่ง รวมถึงชาวประมงให้เพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือเป็นพิเศษ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง อีกทั้งนักท่องเที่ยวควรงดประกอบกิจกรรมทางทะเลทุกประเภท หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป   … กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0