โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

บ้าไปแล้ว! นั่งแท็กซี่ เดือนละ 12,000 ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะได้นั่งแท็กซี่?

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 08 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น.

 บ้าไปแล้ว! นั่งแท็กซี่เดือนละ 12,000  ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ถึงจะได้นั่งแท็กซี่? 

จะทำได้ไหมทำได้หรือเปล่า? ไม่ต้องกลัวการไม่รับเพราะส่งรถหรือแก๊สหมดอีกต่อไป! เมื่อแท็กซี่ไทยจำนวนนึงจะโบกมือบ๊ายบายไม่เอาแล้วมิเตอร์ขอแค่ผู้โดยสารสมัครสมาชิกเพื่อชำระค่าบริการเป็นรายเดือนเดือนละ12,000 บาทก็ไปได้ทุกที่นั่งรถได้ทุกคันที่ร่วมโครงการคุณว่าคุ้มไหมจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า

ไปไงมาไงพี่ถึงจะให้เหมาละ?

คือเรื่องของเรื่องเนี่ย กรมขนส่งเค้าอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาแท็กซี่ขึ้น 8% ภายในปีนี้ เพื่อชดเชยช่วงเวลาที่รถติด แต่ก็มีกลุ่มแท็กซี่ที่ไม่เห็นด้วยเพราะการขึ้นราคาจะทำได้เฉพาะแท็กซี่ที่เข้าร่วมโครงการ Taxi OK  ซึ่งเจ้าของแท็กซี่จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการเองเพราะจะมีการเพิ่มเติมอุปกรณ์ในรถทั้ง ระบบ GPS Tracking ติดตามรถ, ระบบยืนยันตัวตนผู้ขับรถ, กล้องบันทึกภาพในรถ, ปุ่มแจ้งเหตุร้องเรียน ทำให้มีแท็กซี่ที่เข้าร่วมโครงการเพียง 13,000 คัน ในขณะที่ประมาณ 7 หมื่นคันที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และอาจไม่ได้เห็นตรงกันกับแนวคิดนี้เท่าไหร่นัก

จากกรณีนี้กลุ่มแท็กซี่ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเค้าเลยผุดไอเดียที่จะร่วมมือกับนักลงทุนต่างประเทศทำบริษัท มาย แท็กซี่ (My Taxi) ขึ้นมา  ให้บริการรถแท็กซี่รูปแบบใหม่ ซึ่งมาตรการแรก ก็คือเมินค่าโดยสารจากกรมการขนส่งทางบกไปเลย บอกลาระบบการกดมิเตอร์และใช้การเหมาจ่ายโดยให้ผู้โดยสารสมัครสมาชิกรายเดือน 12,000 บาทแทนแต่  ใช้ได้ไม่จำกัดเที่ยวใน กทม. และปริมณฑล แถมน้ำผลไม้ให้ 6 ขวด เรียกรถจากแอพได้ ไม่เกี่ยงที่หมาย ไม่เลือกผู้โดยสารด้วย 

แต่ในมุมผู้โดยสารอย่างเราๆ ชาวกรุง เรื่องนี้คุ้มไหม? มีความเป็นไปได้แค่ไหนกันแน่?

เครดิตภาพ: <a href=
https://www.matichon.co.th/economy/news_1204099 ">
เครดิตภาพ: https://www.matichon.co.th/economy/news_1204099

 ตกวันละ 400 เห็นราคาแล้วถอยกรูด 

เปิดมาด้วยเรื่องตัวเลขกันก่อน  จริงอยู่ว่าทุกวันนี้รถติดสาหัส นั่งแท็กซี่ทีไรก็แบงค์ร้อยปลิวออกไป 2 ใบแทบจะทุกที แต่ถ้าหากจ่ายค่าสมาชิกไปแล้ว 12,000 บาท หาร 30 วัน ตามมาตรฐาน 1 เดือน รายจ่ายอยู่ที่ประมาณวันละ 400 แบบกลม ๆ นี่เรียกได้ว่าแซงค่าแรงขั้นต่ำไปแล้ว เราจะมาสามารถนั่งได้คุ้มกันจริงหรือไม่?

ถ้านั่งไปทำงานไป-กลับวันละ 2 รอบก็ตกรอบละ 200 ซึ่งก็ไม่ใช่ตัวเลขที่น้อยเลย ครั้นจะพยายามเรียกให้คุ้มด้วยการพยายามใช้บริการให้มากกว่า 2 รอบ ก็ยังติดปัญหาว่าปริมาณรถที่เข้าร่วมโครงการจะเพียงพอหรือไม่? แล้วในสภาพการจราจรแบบกรุงเทพมหานครของเราจะมีรถในโครงการ มาย แท็กซี่ ผ่านมาให้เราใช้บริการกันได้มากน้อยแค่ไหน เกิดเรียกไปแล้วรถดันติด มาไม่ถึงสักทีจะทำยังไง 

ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า หากเรียกเก็บค่าสมาชิกถึงเดือนละ 12,000 บาทผู้ใช้บริการจะต้องมีรายได้อยู่ในระดับไหน เพราะแท้จริงแล้วจำนวนเงินเท่านี้ถ้าต้องจ่ายทุกเดือนก็มากพอที่จะผ่อนรถยนต์ส่วนตัวได้เลยทีเดียว

ทั้งนี้ความติดขัดเรื่องจำนวนเหมาจ่ายก็ได้รับการแก้ต่างจากทางมายแท็กซี่มาว่า สุดท้ายแล้วยังสรุปกันไม่ลงตัวว่าจำนวนค่าสมาชิกจะจบลงที่จำนวนเท่าไหร่ 12,000 บาทเป็นตัวเลขที่ปรับกันได้ และอาจจะมีแพคเกจที่จ่ายน้อยลงกว่านี้ในอนาคต ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไป 

 ความสะดวกความปลอดภัยเมื่อโครงการนี้ไม่มีภาครัฐมาเอี่ยว 

สิ่งนึงที่ผู้โดยสารต้องคำนึงถึงเมื่อเดินทางไม่ว่าจะในระบบไหนก็คือ ความปลอดภัยอยู่แล้ว ยิ่งถ้าหากโครงการนี้ไม่ได้อยู่ภายในการควบคุมดูแลของกรมขนส่ง เกิดเหตุฉุกเฉินเช่น แท็กซี่ปล้น เมายา ลวนลามผู้โดยสารขึ้นมา ผู้เสียหายจะเรียกร้องกับใคร วางใจได้แค่ไหน? 

แต่ก่อนตอน grab กับ uber เป็นที่นิยมมาก ๆ ทั้งคนขับทั้งผู้โดยสารในบางพื้นที่ก็ต้องเผชิญหน้ากับผู้ให้บริการที่ไม่ได้อยู่ในโครงการเป็นประจำแบบที่เราจะมีโอกาสได้เห็นตามข่าวบ่อย ๆ กรณีนี้ก็น่าจะมีโอกาสเช่นกัน เพราะถือเป็นการทับซ้อนในเรื่องผู้โดยสาร แนวทางตรงนี้ก็ไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก

และเพราะความไม่แน่นอนเรื่องนี้ ทำให้แท็กซี่ไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแท็กซี่ OK, กลุ่ม มาย แท็กซี่และกลุ่มที่ยังไม่เลือกข้างปะปนกัน ซึ่งจะต้องกระทบกับผู้ใช้งานในอนาคต อย่างน้อยก็สร้างความสับสนว่าเรียกรถส่วนไหนไป ส่วนไหนยังเป็นมิเตอร์ ส่วนไหนจะจ่ายเหมา 

แล้วที่สำคัญแท็กซี่ที่เข้าโครงการไปแล้ว ไม่ว่าจะโอเคแท็กซี่ หรือมายแท็กซี่ จะสามารถรับผู้โดยสารได้ทั่วไปตามปกติหรือไม่ในกรณีที่ไม่มีผู้โดยสารของตัวเองในขณะนั้น แล้วดูจากรถเฉย ๆ ผู้โดยสารจะสามารถดูออกได้เลยหรือไม่ว่านี้คือแท็กซี่ส่วนไหนกันแน่

คิดแค่นี้ก็ต้องขอยาดมกันแล้วละ เฮ่อ!

เครดิตภาพ: <a href=
http://www.komchadluek.net/news/hotclip/350351 ">
เครดิตภาพ: http://www.komchadluek.net/news/hotclip/350351

ถ้าปัญหาคือรถติดการไม่รับผู้โดยสารเราจัดการวิธีอื่นได้ไหม ? 

คุณกำลังคิดเหมือนกันไหม? ว่าไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าบริการ 8% หรือเปลี่ยนให้มาชำระแบบเหมาจ่าย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้เงินทั้งสิ้น แถมยังเป็นเงินของผู้โดยสารตาดำๆ แบบเราๆ อีกต่างหาก

แล้วปัญหาที่ว่าก็คือ รถติด รถเยอะ แท็กซี่เองก็มีปริมาณมาก ทำรอบไม่ได้ ไปไม่ทันเวลา ซึ่งดูๆ ไปแล้วก็ไม่ใช่ปัญหาที่มาจากผู้โดยสารแต่อย่างใด 

ทำไมต้องเป็นเราที่จ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นทุกปีๆ เพื่อให้ตัวเองได้นั่งรถ? จำกันได้ไหมว่า การขอปรับขึ้นราคามิเตอร์นั้นมีอยู่เรื่อย ๆ อยู่แล้วทุกปี โดยที่ไม่มีเลยสักปีที่เราได้ยินว่าแท็กซี่บริการดีขึ้น มาตรฐานการให้บริการคงเดิม ปัญหาเดิม ๆ เพิ่มเติม คือจ่ายเงินมากขึ้น ทั้งตอนรถติดและตอนรถวิ่งอีกต่างหาก

นอกจากจะไม่ยุติธรรมแล้ว แสดงว่าการขึ้นค่าโดยสารอย่างเดียวไม่สามารถเยียวยาปัญหานี้ได้ถูกต้องหรือไม่

ทำไมเราไม่ลองมาจับมือคุยกับในหลาย ๆ ส่วนว่า จะจัดการเรื่องนี้อย่างยั่งยืนได้อย่างไร เพราะสุดท้ายแล้วถ้าการบริหารจัดการทั้งจำนวนรถและถนนยังไม่ดี ปัญหาแท็กซี่ก็ยังคงวนเวียนอยู่ที่เรื่องเลือกผู้โดยสารและบริการที่ไม่ได้มาตรฐานเหมือนเดิม ไม่ว่าจะจ่ายเงินแพงแค่ไหนก็ตาม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.matichon.co.th/economy/news_1204099

http://www.komchadluek.net/news/hotclip/350351

https://www.thairath.co.th/content/1230987

https://thestandard.co/taxi-ok-fee-12000thb-month-ideas/

https://voicetv.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0