โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

บิ๊ก“วงษ์พาณิชย์”เห็นต่าง ห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ระวังกระทบคำสั่งซื้อ

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 16 มิ.ย. 2562 เวลา 03.02 น.

 

เปิดมุมมองบิ๊ก “วงษ์พาณิชย์”กรณีครม.ไฟเขียวห้ามนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ แนะระวังผู้ซื้อต่างประเทศ ระงับการสั่งซื้อหากผู้ผลิตไม่ รับผิดชอบต่อสินค้าเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน

 

นายสมไทย วงษ์เจริญ ประธาน วงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป ผู้ดำเนินการค้าขยะเพื่อรีไซเคิล หรือโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล เป็นธุรกิจประเภทค้าวัสดุเหลือใช้ขยะรีไซเคิล เช่น พลาสติก ขวดแก้ว เศษกระดาษ โลหะ ฯลฯ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ถึง ผลกระทบของประเทศไทยจากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ11 มิ.ย.62 ที่มีมติ เห็นชอบมาตรการห้ามนําเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้วเข้ามาในประเทศ ผลกระทบสําหรับผู้ผลิตสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ มีการผลิต ทีวี ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า แอร์ พาวเวอร์ซัพพลาย เครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์เครื่องใช้สํานักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิด ตลาด ส่วนใหญ่ต้องส่งออกไปขายต่างประเทศ ด้วยมาตรการ Extended Producer Responsibility (EPR) ระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบเพิ่มเติมของผู้ผลิต ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตน ที่ผลิต สินค้าเข้าสู่ตลาด บริษัทผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้จําหน่ายสินค้า จะต้องรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตน หลังจากสิ้นอายุการใช้งาน โดยการเรียกกลับคืน แล้วมีการจัดการอย่างเหมาะสม นําไปรีไซเคิล มีการกำจัดต่อไป  การห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเด็นนี้จะมีผลกระทบกับผู้ผลิตที่ต้องส่งออกสินค้าไปขายโดยตรง

สมไทย วงษ์เจริญ

จากมาตรการดังกล่าว อาจทําให้ผู้ซื้อซึ่งอยู่ต่างประเทศที่มีกำลังซื้อขนาดใหญ่มาก ระงับการสั่งซื้อ สําหรับผู้ผลิตที่ไม่ รับผิดชอบต่อสินค้าเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน และจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมของประเทศไทย

 

ส่วนผลกระทบสําหรับโรงงานรีไซเคิลในประเทศไทย จะมีผลกระทบในด้านการลงทุน อุตสาหกรรมการรีไซเคิล เนื่องจากอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย ที่เข้า มาในระบบอย่างถูกต้องมีจํานวนน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการลงทุน และจากเหตุผล อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นซากวัสดุที่มีการจัดการนอกระบบตามต่างจังหวัด หมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งเป็นรายได้ของประชาชนคนยากจนผู้มีรายได้น้อย 

 

  อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดจะพบว่าขยะ E-Waste ในปัจจุบันนั้นไม่ได้ เป็นอันตรายมากอย่างที่เป็นข่าวออกไป E-Waste ในอดีตย้อนหลังปี ค.ศ.2006 ต้องยอมรับว่ามี สารอันตรายปะปนอยู่จริง แต่หลังปี ค.ศ.ดังกล่าวมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนประกอบของ เครื่องใช้ไฟฟ้า ในการลดสารอันตเปลี่ยนแปลงโลหะ วัสดุที่ใช้ มีการออกแบบด้วยหลักของ Eco Design และหลักการLife Cycle Assessment (LCA) เราสามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญที่มีการรับรองจาก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ให้เป็นผู้ตรวจการขยะE-Waste ขยะอันตราย ขยะชุมชน ผู้เก็บตัวอย่างสารอันตราย ผู้ควบคุมวัตถุอันตราย ให้เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าในต่างประเทศก่อนการขึ้นตู้ ทําการปิดตู้ บันทึกหลักฐาน และมีการตรวจสอบสินค้าเมื่อถึงประเทศไทย ทําการเปิ ดตู้ ตรวจสอบ บันทึกหลักฐาน จัดทํา รายงาน ลงนามรับผิดชอบ ถ้าสามารถทําได้เช่นนี้ จะทําให้เป็นโอกาสของประเทศไทยในการได้มาซึ่งทรัพยากรหมุนเวียน เพื่อการพัฒนาแบบยังยืน จะทําให้อุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าและอุตสาหกรรมรีไซเคิลได้เติบโต มีทรัพยากรหมุนเวียน มีวัตถุดิบราคาต่ำใช้ในประเทศไทย โดยไม่จําเป็นต้อง ทําร้ายทรัพยากรธรรมชาติใต้เปลือกโลกอีกต่อไป

อนึ่ง เมื่อวันที่11มิ.ย.62 คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้วเข้ามาในประเทศ โดยได้อนุมัติร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและแหล่งกำเนิดวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในโรงงาน พ.ศ. ….  เพื่อกำหนดนิยามและข้อห้ามไม่ให้โรงงานนำเข้า “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” พร้อมมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดการออกประกาศห้ามนำเข้าซึ่งสินค้าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้วที่จะนำมาถอดแยก เพื่อนำโลหะกลับมาใช้ตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

      สาระสำคัญของร่างประกาศ ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและแหล่งกำเนิดวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในโรงงาน พ.ศ. มีประเด็นรายละเอียดคือ

 

 1.กำหนดนิยาม“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษ (ไม่รวมเศษจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ที่มีส่วนประกอบซึ่งได้แก่ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า และแบตเตอรี่อื่น ๆ สวิทช์ที่มีปรอทเป็นองค์ประกอบในการทำงาน เศษแก้วจากหลอดรังสีแคโทด และแอกติเวเต็ดกลาสอื่น ๆ ตัวเก็บประจุไฟฟ้าที่มีสารพีซีบี หรือที่ปนเปื้อนด้วยแคดเมียม ปรอท ตะกั่ว โพลีคลอริเนทเต็ดไบฟีนิล ตามบัญชี 5.2 ลำดับที่ 2.18 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

 

2. กำหนดข้อห้าม ห้ามโรงงานตามประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 นำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E – Waste) จากต่างประเทศ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0