โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"บิ๊กป้อม" เดินหน้าชก 3 ยก 45 วัน ระดม ส.ส.-มวลชน เผด็จศึกยึดพรรค

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 06.34 น. • เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2563 เวลา 08.10 น.
งานออกแบบที่ไม่มีชื่อ (1)

1 มิถุนายน 2563 ปรากฏรายนาม 18 กรรมการบริหาร (กก.บห.)พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ถูกรวบรวม-ล่ารายชื่อลาออก ส่งผลให้ กก.บห.พปชร. “พ้นสภาพ” เทกระจาด

ในทางกฎหมาย-ข้อบังคับพรรคการเมือง “อุตตม สาวนายน” และ “สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์” พ้นสถานะหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคตามลำดับ เหลือตำแหน่ง “รักษาการ 45 วัน”

ในทางการเมือง-อุตตมและสนธิรัตน์ ถูก “ยึดพรรค”-ถีบลงจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนครบ 1 ปีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์-ปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)

45 วันอันตราย

“ไพบูลย์ นิติตะวัน” รักษาการรองหัวหน้าพรรค มือ “ชงชื่อ” 18 กก.บห.พปชร. “ลอดช่อง” ข้อบังคับพรรคข้อ 15 (3) ประกอบข้อ 15 วรรคสาม ส่งผล กก.บห.พปชร. “ว่างลงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง” รื้อนั่งร้านตัวเก่าให้ “พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ”

“ให้เลือกตั้งคณะ กก.บห.พรรคการเมืองชุดใหม่ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ กก.บห.พรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ” ข้อบังคับพรรคข้อ 15 วรรคสาม

และข้อบังคับพรรคข้อ 15 วรรคสี่ระบุว่า ในกรณีที่มีเหตุให้ กก.บห.พรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะให้ กก.บห.พรรคที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะอยู่ในตำแหน่ง-รักษาการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะ กก.บห.ชุดใหม่

“ข้าพเจ้าจึงมีหนังสือฉบับนี้มาเพื่อขอให้ท่านในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคได้เรียกประชุมรักษาการคณะ กก.บห.พรรคโดยเร็ว เพื่อเร่งกำหนดวันจัดประชุมใหญ่สามัญและให้มีการเลือกตั้งคณะ กก.บห.ชุดใหม่ ภายใน 45 วัน”

แผนยึดพรรค-เผด็จศึกแบบเบ็ดเสร็จ แต่ “ไม่สะเด็ดน้ำ” ปักหมุด-ขึ้นโครงนั่งร้าน “คณะบุคคลชุดใหม่” ไม่เกินวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

เปิดช่องยื่นขอประชุมใหญ่

นับถอยหลัง 45 วันก่อนเปิดศึกยึดพรรคภาคสอง “ชิงไหวชิงพริบ” ตาม “เส้นเรื่องข้อบังคับ” ระหว่างขั้วของ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ข้างหลังภาพ “สี่กุมาร” กับขั้ว “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” ประธานยุทธศาสตร์พรรค แพ้-ชนะกันใน 3 ยก

ยกแรก-การเรียกประชุม กก.บห.พรรคชุดรักษาการ ต้องอาศัยข้อบังคับพรรค ส่วนที่ 3 การประชุมคณะ กก.บห.พรรคข้อ 48 การประชุมคณะ กก.บห.พรรคต้องมี กก.บห.พรรคมาประชุม“ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของจำนวนคณะ กก.บห.พรรคที่มีอยู่

หรือ 9 คน จากทั้งหมด 16 คน เพื่อกำหนดวัน ว. เวลา น.ประชุมใหญ่พรรค หากมีการลงมติ มติของที่ประชุมคณะ กก.บห.พรรคให้ถือ “เสียงข้างมาก”

อย่างก็ตาม หากนายอุตตม “ดื้อแพ่ง” เพื่อ “ประวิงเวลา”จนเลยเวลา “45 วันอันตราย” จะเข้าสู่ยกที่สอง-การเปิดประชุมใหญ่ หมวด 6 การประชุม ส่วนที่ 1 การประชุมใหญ่พรรคการเมืองข้อ 36 ระบุ “เปิดช่องไว้”

“สมาชิกซึ่งเป็น ส.ส.จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกซึ่งเป็น ส.ส. หรือ กก.บห.พรรคจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน กก.บห.พรรคการเมืองหรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของพรรคการเมือง หรือไม่น้อยกว่า 250 คน แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่ามีสิทธิเข้าชื่อกันยื่นคำร้องขอให้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคการเมืองได้”

250 โหวตเตอร์ชี้ขาด

1.ให้ที่ประชุมกำหนดจำนวนของคณะ กก.บห.พรรคไม่น้อยกว่า 8 คน แต่ไม่เกิน 45 คน ประกอบด้วย หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค เหรัญญิกพรรค นายทะเบียนสมาชิก และ กก.บห.พรรค

2.ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะ กก.บห.พรรคจนครบจำนวน ซึ่งการเสนอชื่อผู้เข้ารับการเลือกตั้งเป็น กก.บห.พรรคการเมืองแต่ละตำแหน่งต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมรับรองไม่น้อยกว่า 10 คน และผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อต้องอยู่ในที่ประชุม

ยกที่สาม-องค์ประชุมและ “โหวตเตอร์” ข้อบังคับข้อ 37 กำหนดองค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วย 1.กก.บห.พรรคไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กก.บห.พรรคทั้งหมด

2.ผู้แทนของสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสาขาพรรคการเมือง ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องประกอบด้วยผู้แทนของสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 2 สาขา ซึ่งมาจากต่างภาคกัน

3.ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของตัวแทนพรรค

การเมืองประจำจังหวัด และ 4.สมาชิกพรรคการเมือง ทั้งนี้ องค์ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองตามข้อ 37 ต้องรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่า 250 คน

การเลือกตั้ง “กก.บห.พรรคชุดใหม่” โดยที่ประชุมใหญ่ด้วยการ “ลงคะแนนลับ” และการลงมติให้ถือ “เสียงข้างมาก” ของที่ประชุม ในกรณีที่มีเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม (หัวหน้าพรรค) ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็น “เสียงชี้ขาด”

โมฆะ-ไม่โมฆะ

สำหรับ กก.บห.ชุดรักษาการ 16 คน 1.นายอุตตม สาวนายน รักษาการหัวหน้าพรรค 2.นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รักษาการเลขาธิการพรรค 3.นายพรชัย ตระกูลวรานนท์ รักษาการเหรัญญิกพรรค 4.นายวิเชียร ชวลิต รักษาการนายทะเบียนสมาชิกพรรค 5.นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รักษาการรองหัวหน้าพรรค 6.นายไพบูลย์ นิติตะวัน รักษาการรองหัวหน้าพรรค 7.นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล 8.นายอิทธิพล คุณปลื้ม 9.นายชวน ชูจันทร์ 10.นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ 11.นายสันติ กีระนันทน์ 12.สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ 13.อนุชา นาคาศัย 14.วิรัช รัตนเศรษฐ 15.สุชาติ ชมกลิ่น และ 16.นางประภาพร อัศวเหมหากแบ่งข้าง-ลงมติตัดสิน ก๊กสี่กุมาร ดูจะเหนือกว่า “ก๊กบิ๊กบราเธอร์”เล็กน้อย

เป็นเรื่อง “บังเอิญ” หรือ “จงใจ” เมื่อ 18 กก.บห.ที่ลาออกเกือบทั้งหมดเป็น กก.บห.ที่พรรคพลังประชารัฐมีมติเลือกเพิ่มเติม 17 คน เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2562 เป็นวันที่ พล.อ.ประวิตรพ่ายศึกยึดพรรคภาคแรก เป็น “จุดเริ่มต้น” ของรายนามใน “ใบลาออก” โดย “ไม่ระบุวันที่” สู่การรื้อโครงสร้างอำนาจ “คณะบุคคลชุดเก่า” ในวันนี้

“ไพบูลย์” ตัวเปิดเกมล้ม-โละ กก.บห.พรรค กล่าวว่า หากนายอุตตมในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคไม่เรียกประชุม 16 กก.บห.รักษาการภายใน 45 วัน จะถือว่าไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคและกระทบต่อสถานะพรรค ยิ่งทำให้เกิดปัญหา

ด้าน “วิเชียร ชวลิต” รักษาการนายทะเบียนพรรค-1 ในคีย์แมนต้านปฏิวัติ ระบุว่า การช่วงชิงทำอะไรโดยพลการจะขัดกับข้อบังคับพรรค จะเป็นปัญหา ไม่ชอบด้วยข้อบังคับข้อ 15 ทำให้เป็นโมฆะต่อ และจะเป็นข้อโต้แย้งกัน

ปมเดดไลน์ 45 วัน และ “นิติกรรมลับ-ลวง-พราง” จึงยังเป็น “ข้อกังขา” ให้ถูกพูดถึงภายในพรรค-นำไปสู่การโมฆะหรือไม่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0