โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"บินไทย" ส่งทีมจาก "เบเคอร์" ยื่นศาลล้มละลายขอฟื้นฟูกิจการแล้ว พร้อมชื่อบอร์ด 6 คนเป็นผู้ทำแผน

MATICHON ONLINE

อัพเดต 26 พ.ค. 2563 เวลา 13.08 น. • เผยแพร่ 26 พ.ค. 2563 เวลา 12.21 น.
บินไทย

“บินไทย” ส่งทีมจาก”เบเคอร์” ยื่นศาลล้มละลายขอฟื้นฟูกิจการแล้ว พร้อมชื่อบอร์ด 6 คนเป็นผู้ทำแผน “อุตตม”รอใช้สิทธิโหวต

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจากบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากฎหมายการฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เข้ายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง โดยองค์ประกอบการในการยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลฯมี 3 ส่วนคือ 1.มูลเหตุของการยื่นขอฟื้นฟูกิจการ 2.ชื่อผู้ทำแผน และ 3.ความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูกิจการ สำหรับรายชื่อผู้ทำแผนที่ทาง การบินไทย เสนอนั้นมี 6 คนซึ่งเป็นบอร์ดของการบินไทย ประกอบด้วย 1.พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการบริษัท 2. นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองประธานกรรมการ และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่(ดีดี) การบินไทย 3.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 4.นายบุญทักษ์ หวังเจริญ 5.นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร 6. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ โดยรายชื่อ 3-6 นั้นทางการบินไทยเพิ่งแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่า คดีนี้มีรายละเอียดต้องพิจารณาและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก จึงนัดฟังคำสั่งว่าจะรับคำร้องหรือไม่ ในวันที่ 27 พฤษภาคม

ทั้งนี้ หลังจากศาลอนุมัติคำร้องขอฟื้นฟูกิจการบริษัทการบินไทย แล้ว บริษัทจะแจ้งเจ้าหนี้มาประชุมว่าจะเห็นชอบผู้ทำแผนที่ฝ่ายลูกหนี้เสนอหรือไม่ หากที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบกับรายชื่อผู้ทำแผนที่ลูกหนี้เสนอ ที่ประชุมเจ้าหนี้ต้องเห็นชอบไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่หากฝ่ายเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบรายชื่อผู้ทำแผนที่ฝ่ายลูกหนี้เสนอ และต้องการเสนอผู้ทำแผนแข่ง ต้องใช้เสียงของที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3

ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การบินไทย ไปยื่นต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ซึ่งการยื่นฟื้นฟูจะต้องมีการยื่นแผนและกำหนดชื่อผู้ทำแผนด้วย และจะต้องรอเวลาศาลพิจารณาว่าจะรับหรือไม่ ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้จะรอใช้สิทธิเจ้าหนี้ในการโหวตการทำแผนและผู้บริหารแผนฟื้นฟู ซึ่งโดยกฎหมายคนที่ทำแผนกับผู้บริหารแผน ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0