โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

บอร์ด กสทช.เคาะเงินเยียวยา 3 ช่องดิจิทัล มูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท

Manager Online

อัพเดต 25 มิ.ย. 2562 เวลา 07.37 น. • เผยแพร่ 25 มิ.ย. 2562 เวลา 07.37 น. • MGR Online

บอร์ด กสทช.อนุมัติเงินเยียวยา 3 ช่องทีวีดิจิทัล รวมกว่า 1,500 ล้านบาท นาว 26 เป็นเงิน 675 ล้านบาท สปริงส์ 19 เป็นเงิน 500 ล้านบาท และไบรท์ ทีวี 371 ล้านบาท

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.2562ที่ประชุมกสทช. มีมติอนุมัติให้เยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ช่องสปริงส์ 26 หรือช่อง NOW โดยให้มีการเยียวยา 45 วัน (สิ้นสุด 15 ส.ค.2562) โดยเงินที่ได้จากการชดเชย จากยอดประมูล 2,200 ล้านบาท ชำระค่าธรรมเนียมไปแล้ว 1,472 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมที่ยังไม่ได้ใช้งาน 951.064 ล้านบาท เคยได้รับผลประโยชน์สนับสนุนค่า MUX 26.250 ล้านบาท ค่าสนับสนุนการออกอากาศทางดาวเทียม 33.97ล้านบาท

ดังนั้นค่าชดเชยที่จะได้รับ คือ 890.834 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 จำนวน 215.07 ล้านบาท จึงเหลือเงินที่จะได้ 675.764 ล้านบาท

สปริงส์ 19 ให้มีการเยียวยา 45 วัน (สิ้นสุด 15 ส.ค.2562)โดยเงินที่ได้จากการชดเชย จากยอดประมูล1,318 ล้านบาท ชำระค่าธรรมเนียมไปแล้ว 888.8 ล้านบาท คิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ยังไม่ได้ใช้งาน 567.795 ล้านบาท เคยได้รับผลประโยชน์สนับสนุนค่า MUX 27 ล้านบาท ค่าสนับสนุนการออกอากาศทางดาวเทียม 35.431ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 4.412 ล้านบาท ไม่มีค้างชำระค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 ดังนั้นค่าชดเชยที่จะได้รับ คือ 500.951 ล้านบาท

ไบรท์ทีวี ให้มีการเยียวยา 45 วัน (สิ้นสุด 15 ส.ค.2562)โดยเงินที่ได้จากการชดเชย จากยอดที่ประมูล 1,298 ล้านบาท ชำระแล้ว 866.8 ล้านบาทค่าธรรมเนียมที่ยังไม่ได้ใช้งาน 56.042 ล้านบาท ผลประโยชน์จากการสนับสนุนค่า MUX 26.25 ล้านบาท ค่าสนับสนุนการออกอากาศทางดาวเทียม 34.692 กำไรสุทธิไม่มี ค้างชำระค่าธรรมเนียมงวดที่ 4 จำนวน 127.116 ล้านบาท ดังนั้นค่าชดเชยที่จะได้รับ คือ 371.983 ล้านบาท

ทั้งนี้กสทช.จะยืมเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อชดเชยผู้ประกอบการที่ขอคืนใบอนุญาต 7 ช่อง โดยประมาณการงบประมาณที่ต้องใช้ไว้ 4,847.198 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินชดเชยช่องทีวีที่คืนใบอนญาตประมาณ 2,962.798 ล้านบาท เงินชดเชยค่า MUXสำหรับทีวีดิจิทัลที่ได้รับการเยียวยาทั้งหมด 552.8 ล้านบาท ค่าการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีภาคพื้นดิน รวม 345 ล้านบาท ส่วนความคืบหน้าในการยื่นแผนเยียวยาเพื่อรับการชดเชยล่าสุดวอยซ์ทีวีได้ยื่นหลักฐานมาแล้วเหลือเพียง บีอีซีมัลติมีเดีย และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0