โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธรรมะ

บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

LINE TODAY

เผยแพร่ 17 ก.ย 2561 เวลา 08.24 น.

บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงเอาไว้ เป็นธรรมทานอันวิจิตร เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า (พระวินัยปิฎก มหาวรรค) ซึ่งบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 4 เล่มที่ 19 และเล่มที่ 31 

คำว่า ธรรมจักร มีความหมายว่า “กงล้อคือพระธรรม” ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงประกาศหลักการของพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมที่ไม่เชื่อการเนรมิตของพระเจ้า ด้วยการตรัสเหตุแห่งทุกข์ว่า คือ ตัณหา ทั้งปฏิเสธอาตมันหรือวิญญาณด้วยการตรัสทุกขสัจว่า คือ อุปทานขันธ์ 5 ทรงแสดงแนวทางแห่งความพ้นทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 และตรัสผลของการปฏิบัติว่าคือความดับตัณหา 

ข้อสำคัญของการสวดบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็คือต้องสวดแบบรู้ความหมาย การสวดบาลีโดยไม่รู้ความหมายอาจได้อานิสงส์ในเรื่องสมาธิ แต่การสวดแบบรู้ความหมายจะได้อานิสงส์ที่มากกว่า ได้ทั้งปัญญา ดับทุกข์ และรู้แจ้งเกี่ยวกับชีวิต

บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฏิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูส๎วาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนังนาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ยังไม่มีใครแสดงโดยชอบในโลก ได้ทรงแสดงธรรมจักร ซึ่งกล่าวถึงส่วนที่สุดสองประเภท และทางสายกลางเป็นรู้แจ้งหมดจดอริยสัจสี่ 

ขอเราทั้งหลายจงสวดธรรมจักรนั้นที่พระธรรมราชาทรงแสดง ปรากฏสมญานามว่า ธัมมจักจักกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศ พระสัมมาสัมโพธิญาณและพระสังคีติกาจารย์ได้ร้อยกรองไว้โดยความเป็นพระบาลีประเภทร้อยแก้ว เทอญ

บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร

เอวัมเม สุตัง

ข้าพเจ้าคือ พระอานนท์เถระ ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเนมิคะทาเย

เสด็จประทับอยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขุ อามันเตสิ

ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า

เทวเม ภิกขะเว อันตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างเหล่านี้

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา

อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

โย จายัง กาเมสุ กามะ สุขัลลิกานุโยโค

คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ใด

หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของผู้มีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละบะมะถานุโยโค

คือ การประกอบด้วยความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่านี้ใด

ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่นำผู้ประกอบ ให้ไปจากข้าศึก คือกิเลส ไม่กอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น

ตะถาคะเตนะ อภิสัมพุทธา

อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี

กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ

ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเหล่าไหน

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี

กระทำดวงตา คือกระทำญาณเครื่องรู้

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ

ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค

ทางมีองค์แปดเครื่อง ไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง

เสยยะถีทัง, สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ        

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี

กระทำด้วยดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้

อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ

ย่อมเป็นไป เพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลของจริงแห่งอริยบุคคลคือ ทุกข์

ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง

แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัส สุปายาสาปิ ทุกขา

แม้ทุกข์ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข

ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั้นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลของจริงแห่งอริยบุคคล คือเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น

จายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา

ความทะยานอยากนี้ใด ทำความเกิดอีก เป็นไปกับความกำหนดด้วยอำนาจความเพลิน

ตัตระ ตัตราภินันทินี 

เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ

เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตันหา วิภะวะตัณหา

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ความทะยานอยากในความมีความอยากเป็น ความทะยานอยากในความไม่มีไม่อยากเป็น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลของจริงแห่งอริยบุคคล คือ ความดับทุกข์

โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะ วิราคะนิโรโธ

ความดับโดยไม่ติด ย่อมอยู่ได้โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นแหละ อันใด

จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย

ความสละตัณหานั้น ความวางตัณหานั้น ความปล่อยตัณหานั้น ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลของจริงแห่งอริยบุคคล คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค

ทางมีองค์แปดเครื่องไปจากข้าศึก คือ กิเลสนี้เอง

เสยยะถีทัง, สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ        

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจังติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว

ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว

วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์อริยสัจจ์

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ทุกข์อริยสัจจ์นี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว 

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์อริยสัจจ์นี้ นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจังติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว

ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว

วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่านี่ทุกข์ สมุทัยอริยสัจจ์

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว 

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ทุกข์ สมุทัยอริยสัจจ์นี้ นั้นแล ควรละเสีย

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ทุกข์ สมุทัยอริยสัจจ์นี้ นั้นแล อันเราได้ละเสียแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว

ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว

วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่านี่ทุกข์ นิโรธอริยสัจจ์

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์นิโรธอริยสัจจ์นี้ นั้นแล ควรทำให้แจ้ง

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์นิโรธอริยสัจจ์นี้ นั้นแล อันเราได้กระทำให้แจ้งแล้ว

อิทัง ทุกขะนิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว 

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว

ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า

นี่ทุกข์นิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจจ์

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามีนี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง 

ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์นิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจจ์นี้ นั้นแล ควรให้เจริญขึ้น

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง 

ภาวิตันติ เม ภิกขะเว

ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ 

ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์นิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจจ์นี้ นั้นแล อันเราได้เจริญแล้ว

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุจะตูสุ อริยะสัจเจสุ

เอวันติ ปะริวัฏฏังวาทะสาการัง ยะถาภูตัง

ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็น

ตามเป็นจริงแล้ว อย่างไร ในอริยสัจจ์สี่ เหล่านี้ของเรา

ซึ่งมีรอบสามมีอาการสิบสองอย่างนี้ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเกโลเก สะมาระเก

สะพรหมะเก สัสสะมะณะ พราหมณิยา ปะชายะ

สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง

อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้

พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ชอบ

ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก

เป็นไปกับด้วยเทวดา มาร พรหมในหมู่สัตว์

ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น

ยะโต จะโข เม ภิกขะเว อิเมสุจะตูสุ อะริยะสัจเจสุ

เอวันติ ปะริวัฏฏัง เทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง

ญาณะ ทัสสะนัง สุวิสุทธัง อโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแลปัญญา

อันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจจ์สี่ เหล่านี้ของเรา

ซึ่งมีรอบสามมีอาการสิบสองอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว

ยะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเกโลเก สะมาระเก

สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา

ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง

สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นเรายืนยันตนได้ว่า

เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ

ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก

เป็นไปกับด้วยเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์

ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา มนุษย์

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ

ก็แลปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

อุกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ

ว่าความพันวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ

ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก

อิทะมะโวจะ ภะคะวา

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง

พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็มีใจยินดี เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน

ก็แลเมื่อไวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่

อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะสัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ

จักษุในธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน

ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีอายุ โกณฑัญญะ

ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ

ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งทั้งปวงนั้นมีอันดับไปเป็นธรรมดา

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก

ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เหล่าภุมเทวดาก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

เอตัม ภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย 

อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ

วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรหมุนา วา

เกนะจิ วา โลกัสมินติ

ว่านั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว

ในป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี

อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม แลใคร ๆ

ในโลกยังไม่ให้เป็นไปได้แล้ว ดังนี้

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของ

เทพเจ้าเหล่าภุมเทวดา แล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา 

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงษ์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า

เหล่าชั้นจาตุมหาราช แล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า

เหล่าชั้นดาวดึงษ์ แล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า

เหล่าชั้นยามา แล้วก็ยังเสียงให้ บันลือลั่น

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานรดี 

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า

เหล่าชั้นดุสิต แล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี 

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ได้ฟังเสียงของเพทเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี

แล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรหมะกายิกา 

เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม

ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี

แล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

เอตัม ภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย

อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง

อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา

เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ

ว่านั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว

ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม แลใคร ๆ

ในโลกยังไม่ให้เป็นไปได้แล้ว ดังนี้

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะมุหุตเตนะ

ยาวะพรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ

โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้

อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ

สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ

ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป

อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ

ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง

ล่วงเทวานุภาพของเทพยดาทั้งหลายเสียหมด

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ

อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญ

อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง

อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ

ลำดับนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทาน

ว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ

โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ เพราะเหตุนั้นนามว่า

อัญญาโกณฑัญญะนี้ นั่นเทียว

อัญญาโกณฑัญโญเตววะ นามังอะโหสีติ

ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการ ฉะนี้แล

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0