โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

บทความคิดเห็น: ข้อจำกัดวีซ่านศ.จีน เผยแนวคิด ‘สงครามเย็น’ บั่นทอนผลประโยชน์สหรัฐฯ

Xinhua

เผยแพร่ 02 มิ.ย. 2563 เวลา 11.18 น.
บทความคิดเห็น: ข้อจำกัดวีซ่านศ.จีน เผยแนวคิด ‘สงครามเย็น’ บั่นทอนผลประโยชน์สหรัฐฯ

ปักกิ่ง, 2 มิ.ย. (ซินหัว) -- ภายใต้ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ วอชิงตันได้ประกาศข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับการออกวีซ่าให้แก่บัณฑิตชาวจีนบางคนที่ต้องสงสัยว่าก่อเหตุ "จารกรรม" โดยไม่มีหลักฐานรองรับ

การตัดสินใจดังกล่าวได้เปิดโปงให้เห็นแนวความคิดฝังลึกเกี่ยวกับเกมที่ต้องมีแพ้-ชนะ (zero-sum game) ของนักการเมืองสหรัฐฯ บางคนที่ไร้หนทางจะเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชน ในช่วงเวลาที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังปลุกปล้ำกับสองวิกฤต นั่นคือการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) และการประท้วงที่ลุกลามอย่างฉับไวว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ วอชิงตันได้พยายามตรวจสอบประวัติของนักศึกษาชาวจีนด้วยจุดประสงค์ที่ผิดๆ โดยยกประเด็นความมั่นคงแห่งชาติมาเป็นข้ออ้างอย่างไร้มูล ซึ่งก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความชอบธรรมตามกฎหมายของมาตรการเหล่านั้น รวมถึงความวิตกกังวลว่า ฤๅยุคสมัยของลัทธิแม็คคาร์ธี (McCarthyism) จะหวนคืนมาอีกครั้ง

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สชี้ให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยอมรับว่ามี "ไม่มีหลักฐานโดยตรงที่พิสูจน์การกระทำผิดอันกฎหมายของนักศึกษา (จีน) ที่กำลังจะสูญเสียวีซ่า" ขณะที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐฯ ต่างวิตกว่าจะเกิด "ความหวาดกลัวสีแดง" (Red Scare) ในรูปแบบใหม่ที่ "มุ่งโจมตีกลุ่มนักศึกษาที่มีภูมิหลังบางสัญชาติโดยเฉพาะ และอาจนำไปสู่ลัทธิการเหยียดเชื้อชาติในเอเชีย"

เมื่อปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยเยล สแตนฟอร์ด สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับเพื่อสนับสนุนลูกหลานชาวจีนที่เรียนอยู่ในสถานศึกษาของพวกเขาและยืนยันในพันธกรณีของตนต่อความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก "การสงสัยผู้คนโดยอิงจากแหล่งกำเนิดชนชาติของพวกเขาอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้าย" มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ระบุในแถลงการณ์
แนวความคิดสงครามเย็นล่าสุดของวอชิงตันสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความมั่นใจในตนเองของชาวอเมริกันอย่างลึกซึ้ง ในด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ผู้ที่มีแนวคิดแบบเกมที่ต้องมีผู้แพ้-ผู้ชนะในวอชิงตันจึงตัดสินใจใช้สมมติฐานที่ว่า จีนได้ขโมยเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ และดูเหมือนว่าพวกเขายังมีความเชื่อที่ว่า ตราบใดที่พวกเขาปิดประตูเชื่อมต่อกับจีน จีนก็จะหยุดก้าวหน้า

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ไม่เพียงเข้าใจความสำเร็จของจีนอย่างผิดๆ แต่ยังมีแนวโน้มที่จะพ่ายแพ้ด้วยการกระทำที่ต่อต้านจีน ซึ่งความพ่ายแพ้ลำดับแรกของประเทศแห่งนี้ก็คือในแง่ของเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน มีนักเรียนจีนประมาณ 360,000 คนกำลังศึกษาหรือทำงานอยู่ในสหรัฐฯ หรือคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของจำนวนนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด การรับนักศึกษาจีนเข้ามาทำให้สถาบันการศึกษาของสหรัฐฯ มีผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งวารสารวอลล์สตรีทเคยให้ความเห็นว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็น "การส่งออกที่สร้างความสำเร็จอย่างสูงแก่สหรัฐฯ" ขณะที่กฎระเบียบใหม่เรื่องวีซ่าจะทำให้เกิดปรากฏการณ์สมองไหลและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

การขัดขวางกระบวนการแลกเปลี่ยนบุคลากรตามปกติระหว่างสองประเทศ จะบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกของสหรัฐฯ

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศที่ทำให้ผู้มีพรสวรรค์จำนวนมากหลั่งไหลสู่สหรัฐฯ และนับตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศของจีน ก็มีนักศึกษาชาวจีนจำนวนมากที่เดินทางไปยังสหรัฐฯ ขณะที่บางคนก็ตัดสินใจทำงานที่นั่นหลังสำเร็จการศึกษา และได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและหล่อหลอมความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ

นักวิจัยชาวจีนและชาวจีน-อเมริกันจำนวนมากไม่เพียงแต่เป็น "สมาชิกที่เป็นแบบอย่างของชุมชนเราเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้มีส่วนสนับสนุนสังคมอเมริกันด้วย" แอล. ราฟาเอล เรฟ ประธานสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์เขียนเช่นนี้ในจดหมาย

การปิดประตูสู่จีน ปิดกั้นนักศึกษาชาวจีน รังแต่จะเป็นการโจมตี "ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมหลักของสหรัฐฯ นั่นคือ ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ" สำนักข่าวบลูมเบิร์กระบุในบทความแสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมทางเทคโนโลยีจะเฟื่องฟูต่อเมื่ออยู่ภายใต้การแลกเปลี่ยนที่ไร้ข้อจำกัด และการแข่งขันที่ไม่เป็นภัยข้ามพรมแดนเท่านั้น ผู้มีอำนาจตัดสินใจในวอชิงตันจำเป็นต้องตระหนักว่าการลดม่านเหล็กทางเทคโนโลยี จะไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวางความตั้งมั่นในการพัฒนาของจีนแต่อย่างใด นอกจากนี้ ม่านเหล็กดังกล่าวจะไม่ช่วยคุ้มกันความได้เปรียบทางเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0