โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"น้ำ" ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!

NATIONTV

อัพเดต 23 ก.ย 2562 เวลา 08.23 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 04.20 น. • Nation TV
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!
น้ำ ที่ห้ามกินพร้อมยา เด็ดขาด!

เป็นที่รู้กันว่าปัจจุบันมีเครื่องดื่มหลากหลายประเภท ให้เราเลือกทาน ทั้ง น้ำเปล่า นม กาแฟ น้ำอัดลม ชาไข่มุก น้ำหวานประเภทต่างๆอีกมากมาย แต่มี เครื่องดื่มบางประเภทที่เราไม่ควรทานคู่กับ ยา เพราะจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

นม

นมมีโปรตีนชนิดที่ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจขัดขวางการดูดซึมยา ทำให้ตัวยาไม่สามารถออกฤทธิ์รักษาได้ นอกจากนี้แคลเซียมในนมก็ยังมีผลต่อการดูดซึมของยาอีกด้วย โดยเฉพาะการกินยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ กับนม ที่แคลเซียมจากนมจะเข้าไปจับตัวยาปฏิชีวนะ ทำให้ยาปฏิชีวนะที่เรากินเข้าไปเพื่อหวังผลในการรักษาอาการอักเสบในส่วนต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่ควรได้รับการรักษาด้วยตัวยาได้ เท่ากับการกินยาปฏิชีวนะในครั้งนี้มีผลเป็นโมฆะนั่นเอง

หรือแม้แต่การกินยาลดกรดกับนมก็ตาม ซึ่งบางคนอาจคิดว่า ในเมื่อยาลดกรดก็ช่วยเคลือบกระเพาะ และนมก็มีโปรตีนช่วยเคลือบกระเพาะ ทำไมจะกินพร้อมกันไม่ได้ คำตอบก็คือในนมนั้นมีแคลเซียมอยู่ในปริมาณไม่น้อย และแคลเซียมในนมนี่แหละที่อาจไปขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาลดกรด หรืออาจไปเพิ่มสารบางในร่างกายที่ทำให้ยาลดกรดถูกดูดซึมเข้าไปในระบบลำไส้

คราวนี้คำถามคือ เมื่อยาลดกรดถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย อันตรายยังไง เราก็ขอเคลียร์ให้เข้าใจตรงกันก่อนค่ะว่า ยาลดกรดเป็นยาที่จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพราะยาลดกรดมีหน้าที่เคลือบกระเพาะอาหาร เพื่อไม่ให้กรดหรือน้ำย่อยมากัดกระเพาะได้ ดังนั้นหากแคลเซียมในนมเปิดทางให้ตัวยาในยาลดกรดถูกดูดซึมเข้าไป ก็อาจเป็นการสะสมพิษหรือยาในร่างกายโดยไม่จำเป็น ซึ่งการที่ตัวยาไม่ถูกขับออกจากร่างกายแบบนี้ ยังไงก็คงไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อสุขภาพแน่ ๆ

กาแฟ

เชื่อว่าหลายคนเคยกินยาคู่กับกาแฟอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะไม่ส่งผลกระทบอะไร หากคุณไม่ได้กินกาแฟคู่กับแคลเซียมในรูปแบบวิตามินหรืออาหารเสริม เพราะหากคุณดื่มกาแฟคู่กับแคลเซียม ก็จะเหมือนกินแคลเซียมเล่น ๆ เสียเงินไปฟรี ๆ เพราะกาแฟมีฤทธิ์ขับแคลเซียมออกจากร่างกายนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ในกรณีที่อันตราย ก็คือ การดื่มกาแฟกับยากลุ่มแก้หวัด หรือขยายหลอดลม (ซึ่งอาจได้ยาชนิดนี้มาตอนเป็นหวัด คัดจมูก หรือในคนที่เป็นโรคหอบหืดที่ต้องกินยาขยายหลอดลมเป็นประจำ) ต้องขอเตือนว่าอย่ากินยาขยายหลอดลมพร้อมกาแฟเด็ดขาดค่ะ เนื่องจากกาแฟมีฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เช่นเดียวกับยาขยายหลอดลมที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อกินพร้อมกันอาจเกิดอาการใจสั่น รวมทั้งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ หรือในคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว เคสนี้อันตรายมาก

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

นอกจากกาแฟแล้ว เครื่องดื่มอย่างโกโก้ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเหล่านี้ก็มีคาเฟอีนอยู่เช่นกัน ดังนั้นอย่ากินยาขยายหลอดลมคู่กับเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทุกชนิดจะดีกว่า เพราะอาจส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะได้น้ำอัดลม

น้ำอัดลมมีทั้งกรดและคาเฟอีน ดังนั้นเราจึงไม่ควรกินยากับน้ำอัดลม โดยเฉพาะยาขยายหลอดลม ที่คาเฟอีนในน้ำอัดลมจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ รวมไปถึงคนที่เป็นโรคกระเพาะ การกินยาลดกรดกับน้ำอัดลมอาจทำให้ตัวยาไม่สามารถลดกรดในกระเพาะอาหารได้ เนื่องจากในกระเพาะอาหารมีกรดจากน้ำอัดลมมาให้ยาจัดการจนหมดฤทธิ์ยาไปซะก่อน ส่งผลให้กระเพาะอาหารไม่ได้รับยาลดกรดไปช่วยเคลือบกระเพาะนั่นเอง

หรือหากใครทานยาที่มีผลในการกระตุ้นประสาทอยู่แล้ว การทานยาพร้อมน้ำอัดลมผสมคาเฟอีน จะยิ่งทำให้การดูดซึมและระยะเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ช้าลง มีผลให้ฤทธิ์ของยาลดลง และอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์และผลข้างเคียงของยามากขึ้น

น้ำผลไม้

น้ำผลไม้ที่เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ก็ไม่ควรกินคู่กับยานะคะ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อย่างน้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยวชนิดอื่น ๆ ไม่ควรกินคู่กับยาลดกรดเด็ดขาด เนื่องจากคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารที่ต้องกินยาลดกรด จะมีภาวะร่างกายหลั่งกรดเกินปกติอยู่แล้ว ดังนั้นหากดื่มน้ำผลไม้ที่มีกรดเพิ่มไปอีก ตัวยาเคลือบกระเพาะอาหารหรือยาลดกรดอาจต้านทานไม่ไหว หรือออกฤทธิ์ลดกรดได้แต่ในส่วนของน้ำผลไม้มีกรดที่เราดื่มเข้าไป กลายเป็นว่ากระเพาะอาหารต้องเผชิญกับกรดโดยลำพังอย่างไร้ซึ่งผู้ช่วยใด ๆ

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับยาเป็นสิ่งที่ไม่ควรกินคู่กัน แต่อย่างน้อยเราก็เชื่อว่าหลายคนคงไม่กินยากับเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือค็อกเทลแน่ ๆ ทว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับยาที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับร่างกายก็คือในกรณีของคนที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ มีภาวะพิษสุราเรื้อรัง หากดื่มมาอย่างหนักแล้วเช้าขึ้นมาปวดหัว จัดยาพาราเซตามอลเข้าไป บอกเลยว่ายิ่งเป็นการทำร้ายตับซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงถึงภาวะตับวายได้เลย

สรุปแล้วการกินยาอย่างปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคและอาการป่วยที่ดีที่สุด ก็คือการกินยาคู่กับน้ำเปล่านั่นเองค่ะ เพราะน้ำเปล่าคือตัวละลายยาที่ดีที่สุด และทางที่ดีควรกินยากับน้ำในอุณหภูมิห้อง โดยเฉพาะคนที่เป็นหวัด มีอาการเจ็บคอ ซึ่งน้ำเย็นอาจส่งผลให้ระคายคอมากยิ่งขึ้นได้

ขอขอบคุณ : ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0