โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

น้ำโขงแห้งเหลือแค่ 1 เมตร รอยพระพุทธบาท 2 พันปีโผล่ชัดสุดรอบ 10 ปี นทท.แห่ชมกราบไหว้ขอพร

77kaoded

เผยแพร่ 10 ธ.ค. 2562 เวลา 02.11 น. • 77 ข่าวเด็ด
น้ำโขงแห้งเหลือแค่ 1 เมตร รอยพระพุทธบาท 2 พันปีโผล่ชัดสุดรอบ 10 ปี นทท.แห่ชมกราบไหว้ขอพร

นครพนม - น้ำโขงแห้งเหลือแค่ 1 เมตร รอยพระพุทธบาท 2 พันปีโผล่ชัดสุดรอบ 10 ปี นทท.แห่ชมกราบไหว้ขอพร ชาวบ้านห่วงแล้ง น้ำโขงบแห้งกลายเป็นสีทะเล

https://youtu.be/vQ6b2FV8vkM

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ จ.นครพนม  ในช่วงนี้ภัยแล้ง ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำโขงมีปริมาณต่ำสุดในรอบหลายปี  ล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 1 เมตร  ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบกว่า 50 ปี  เนื่องจากมีการเก็บกักน้ำของเขื่อนประเทศจีน บวกกับปีนี้ปริมาณฝนต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็ว และมีระดับต่ำกว่าปีที่ผ่านมาถึง 2 -3 เท่าตัว จากปกติในช่วงเดือนธันวาคม ปีเดียวกันระดับน้ำโขง จะอยู่ที่ระดับประมาณ 6 -7 เมตร  แต่ปีนี้มีระดับแค่ประมาณ 1 เมตร  นอกจากนี้ยังเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คือ น้ำโขงกลายเป็นสีครามคล้ายทะเล บวกกับเกิดสันดอนทราย เป็นพื้นที่กว้างหลายจุด เริ่มส่งผลกระทบ ต่อชาวบ้านในพื้นที่ เริ่มขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค  และทำให้ลำน้ำสาขาสายหลัก มีปริมาณน้อยกว่าทุกปี  คาดว่าในช่วงฤดูแล้งปีนี้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบแล้งวิกฤติ  รวมถึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ พันธุ์ปลาเสี่ยงสูญพันธุ์ เนื่องจากปริมาณน้ำโขงต่ำ  ทำให้กระแสน้ำนิ่งไม่ไหลเชี่ยวตามธรรมชาติ จนเกิดการตกตะกอน เปลี่ยนสี  กระทบต่อระบบนิเวศน์ตามมา

เช่นเดียวกันกับพื้นที่ บริเวณ หน้าวัดบ้านเวินพระบาท ต.เวินพระบาท  อ.ท่าอุเทน  จ.นครพนม ถือเป็นอีกจุดสำคัญที่พบเห็นความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้พบเห็นโขดหิน โผล่ขึ้นเหนือน้ำชัดเจนหลายจุด รวมถึง   สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใต้น้ำโขง  คือ รอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์กลางน้ำโขง อายุราว 2,000 ปี   ที่จารึกบนโขดหินกลางน้ำโขง และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือใบลานตำนานพระอุรังคธาตุ  สมัยสร้างพระธาตุพนมรุ่นแรก หรือกว่า 2,500 ปี มาแล้ว     ที่ระบุไว้ว่า  ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังตรัสรู้  เดินทางมาเผยแพร่พระธรรมในชมภูทวีปลุ่มน้ำโขงล่องมาตามลำแม่น้ำโขง          ได้มีเหล่าพญานาคใต้เมืองบาดาล และพญาปลาปากคำ  ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้แปลงกลายนิมนต์พระองค์ลงไปแสดงธรรมใต้บาดาล  และก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นมาโลกมนุษย์เหล่าพญานาค  และพญาปลาปากคำ  ได้ร้องขอพระพุทธเจ้า ประทับรอยพระบาทไว้บนโขดหินแห่งนี้  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทนพระองค์ไหว้กราบบูชา จึงได้ปรากฏเห็นถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ โขดหินรอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์ ดังกล่าว จะสามารถมองเห็น และได้มีโอกาสกราบไหว้ขอพร ได้เฉพาะในช่วง เดือนมีนาคม – เดือนเมษายน เท่านั้น  แต่ปีนี้ นอกจากจะโผล่เหนือน้ำเร็วกว่าทุกปี ยังมีความชัดเจน จนเริ่มเห็นฐานของโขดหิน  ทำให้มีประชาชน นักท่องเที่ยว ต่างทยอยเดินทางไปกราบไหว้ขอพร ตามประเพณีความเชื่อ และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก โดยทางวัดบ้านเวินพระบาท ต.เวินพระบาท  อ.ท่าอุเทน  ร่วมกับเทศบาลตำบลเวินพระบาท และชุมชน ร่วมกันจัดสร้างสะพานเชื่อมไปยังโขดหินที่โผล่กลางน้ำ  ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้กราบไหว้ ชื่นชมใกล้ชิด และจะมีการจัดงานท่องเที่ยว สรงน้ำในช่วงฤดูแล้ง ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน ของทุกปี ซึ่งปรากฏการณ์น้ำโขงแห้งเร็วผิดธรรมชาติ ถือเป็นตัวชีวัดทางธรรมชาติ ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าปีนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้งรุนแรง กว่าทุกปี

ด้าน นายประเสริฐ มังคละคีรี อายุ 60 ปี บ้านเวินพระบาท หมู่ 1 ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เปิดเผยว่า  ยอมรับว่าปีนี้ระดับน้ำโขงผันผวนมากที่สุดในรอบหลาย 10 ปี บางช่วงระดับน้ำโขจงเพิ่ม บางวันลดระดับเกือบเมตร ที่สำคัญปีนี้แลกใจมาก สีน้ำโขงเป็นสีครามเข้มมาก คล้ายทะเล เชื่อว่าเกิดจะน้ำโขงตกตะกอน กระแสน้ำนิ่งไม่ไหลเชี่ยวตามธรรมชาติ  จุดสำคัญคือ บริเวณโขดหินต่างๆ  รวมถึง รอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์กลางน้ำโขง อายุราว 2,000 ปี   โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเร็วกว่าทุกปี และมองเห็นได้ชัดเจน จนถึงฐานโขดหิน ถือว่าแปลกมาก จากปกติ จะโผล่ช่วงฤดูแล้ง เดือนมีนาคม – เมษายน ช่วงสงกรานต์ แต่ปีนี้โผล่ขึ้นเร็ว สิ่งสำคัญที่กังวลคือ ภัยแล้ง หากระดับน้ำโขงลดต่อเนื่อง เชื่อว่าสิ่งที่ตามมาคือบางพื้นที่ขาดน้ำการเกษตร ไปจนถึงอาชีพประมงหาปลาน้ำโขง กระทบแน่นอน พันธุ์ปลาต่างๆ เสี่ยงสูญพันธุ์ เพราะปลาจะขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำยาก ซึ่งยังต้องเฝ้าติดตาม ว่าจะเกิดผลกระทบอะไรตามมาต่อเนื่อง เพราะปีนี้ระดับน้ำโขงผิดธรรมชาติกว่าทุกปี

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0