โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นายกฯ รับข้อเสนอตั้ง ศูนย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจโควิด-19 เร่งมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี

Businesstoday

เผยแพร่ 10 ก.ค. 2563 เวลา 09.33 น. • Businesstoday
นายกฯ รับข้อเสนอตั้ง ศูนย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจโควิด-19 เร่งมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในฐานะเลขานุการ ครม. เศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านแนวทางการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า นายกรัฐมนตรีรับข้อเสนอที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีและภาคเอกชน 3-4 รายที่มีความเห็นร่วมกันในการเสนอให้รัฐบาลตั้ง ศูนย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจโควิด โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าในการบริหาร รูปแบบคล้ายกับตอนที่รัฐบาลตั้ง ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ที่แก้ไขปัญหาโรคระบาดได้ผลสำเร็จมาแล้ว

ส่วนการหารือเรื่องมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้มีการหารือเรื่องมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีเพิ่มเติม ได้แก่ การขยายระยะเวลาพักชำระดอกเบี้ยเงินกู้และเงินต้นให้กับเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินจากเดิมที่ขยายไปให้ถึงวันที่ 22 ต.ค. โดยมีข้อเสนอให้มีการขยายออกไปหรือมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิดที่ประเมินมีผลกระทบมากกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ตั้งแต่แรก

ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่กำลังมีการพิจารณาเช่นการก่อตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการหารือกับสภาพัฒน์ในการขอใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจะสามารถเสนอเข้า ครม.เศรษฐกิจก่อนที่จะเข้า ครม. ต่อไป ขณะที่มาตรการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งจะเสนอให้ ครม.พิจารณาเร็วๆนี้คือการเพิ่มโอกาสให้เอสเอ็มอีสามารถขายสินค้าให้กับหน่วยงานราชการได้เพิ่มขึ้นได้แก่ การให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเสนอสามารถเสนอราคาสูงกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ 10% และ ให้แต่ละหน่วยงานราชการต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าจากเอสเอ็มอีไม่น้อยกว่า 30% ของการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละปี

นอกจากนี้ยังมอบหมายให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เตรียมความพร้อมที่จะมีการออกสินเชื่อค้ำประกันสินเชื่อระยะที่ 9(PGS 9) ในวงเงิน 2 แสนล้านบาท จากเดิมวงเงิน PGS8 อยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาทเพื่อเปิดให้เอสเอ็มอีมีช่องทางที่จะขอหลักประกันในการขอสินเชื่อได้มากขึ้น

สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีจาก พ.ร.ก. เงินกู้ช่วยเหลือเอสเอ็มอีวงเงิน 5 แสนล้านบาทจาก ธ.ป.ท. ซึ่งปัจจุบันมีการปล่อยสินเชื่อไปเพียง 1 แสนล้านบาทเท่านั้นส่วนที่ยังไม่สามารถปล่อยออกไปได้ก็มีการหารือกันในที่ประชุมฯว่าให้มีการดูกลไกในเรื่องการออกซอฟท์โลนเพื่อช่วยค้ำประกันเงินกู้ให้กับเอสเอ็มอีภายหลังจากที่หมดระยะเวลาการพักชำระดอกเบี้ยในปีที่ 2 เพื่อให้เอสเอ็มอีมีวงเงินมารองรับกรณีที่ต้องกู้เงินต่อเนื่องไปในปีที่ 3-5 ก็ถือว่าเป็นข้อเสนอที่ดีในการช่วยปลดล็อกในเรื่องนี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0