โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นายกฯอินเดียขอโทษคนยากจน รับผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์สู้โควิด-19

TODAY

อัพเดต 29 มี.ค. 2563 เวลา 14.56 น. • เผยแพร่ 29 มี.ค. 2563 เวลา 14.56 น. • Workpoint News
นายกฯอินเดียขอโทษคนยากจน รับผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์สู้โควิด-19

วันที่ 29 มี.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย กล่าวขอโทษประชาชนที่มีฐานะยากจน หลังจากรัฐบาลใช้มาตรการห้ามประชาชนออกนอกบ้านเรือนเป็นเวลา 21 วันเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 จนก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อประชาชนและความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเสียงพากษ์วิจารณ์ว่าขาดการวางแผนอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจ

นายโมดีประกาศใช้มาตรการดังกล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งห้ามประชาชนออกจากบ้านเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ธุรกิจที่ไม่มีความจำเป็นถูกปิดให้บริการทั้งหมด และห้ามการรวมรวมตัวทำกิจกรรมในที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม มันกลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนที่มีฐานะยากจนหลายล้านคนทั่วประเทศ หลายคนประสบกับความหิวโหย และทำให้แรงงานอพยพที่ต้องตกงานหลายหมื่นคนต้องเดินเท้าจากเมืองใหญ่กลับหมู่บ้านในชนบท เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร เนื่องจากบริการขนส่งสาธารณะหยุดให้บริการทั้งหมด

นายกรัฐมนตรีโมดี กล่าวปราศรัยทางวิทยุประจำสัปดาห์ในวันนี้ว่า เขาต้องกล่าวขอโทษประชาชนทุกคนป็นลำดับแรก เมื่อเขามองไปที่พี่น้องคนยากจนทั้งหลาย พวกเขาเหล่านั้นอาจจะคิดว่าเขาเป็นนายกรัฐมนตรีแบบไหน ที่ปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่เขายืนยันว่า ไม่มีทางเลือกอื่นในการสู้กับโควิด-19 มาตรการต่างๆ จะช่วยให้อินเดียมีชัยชนะเหนือโคโรนาไวรัส

รัฐบาลอินเดียประกาศแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 723,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ยากไร้ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดียระบุว่า งบประมาณดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในมาตรการช่วยเหลือคนยากจนของอินเดียทั้งในรูปแบบของอาหารและเงินสด ในช่วงที่รัฐบาลอินเดียประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ 21 วัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบและผู้มีรายได้น้อยจำนวนมากที่ขาดรายได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงไม่ประกาศแผนช่วยเหลืออื่นๆ ที่แน่ชัด

ด้านนายอภิจิต บาเนอร์จี ชาวอินเดีย และนายเอสเธอร์ ดูโฟล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2019 ได้กล่าวเตือนว่า คนยากจนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะหากปราศจากความช่วยเหลือ วิกฤตด้านอุปสงค์ก็จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้ว และประชาชนจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องขัดขืนคำสั่งของรัฐบาล

ทั้งนี้ อินเดียยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากมาตรการที่เข้มงวดดังกล่าว เพื่อป้องกันหายนะที่อาจเกิดขึ้นในประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ขณะที่การเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นไปได้ยาก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0