โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นายกฯสิงคโปร์ไม่หนุนม็อบฮ่องกง ชี้เป็นไปไม่ได้มีประชาธิปไตยเต็มใบ

Manager Online

เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 15.07 น. • MGR Online

เซาต์ไชนามอร์นิงโพสต์/รอยเตอร์ - ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เมื่อวันพุธ(16ต.ค.) แสดงจุดยืนไม่หนุนม็อบฮ่องกง ระบุข้อเรียกร้องหลัก 5 ข้อของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลมีความตั้งใจดูหมิ่นผู้บริหารเมืองและมีเจตนาแฝงคือการโค่นล้มรัฐบาล

ในความเห็นที่แข็งกร้าวที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากสิงคโปร์ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีคนเชื้อสายจีนเป็นชนกลุ่มใหญ่และมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับจีน นายกรัฐมนตรีลีบอกว่าข้อเรียกร้องต่างๆของผู้ประท้วงไม่ได้มอบทางออกของสถานการณ์ความตึงเครียดที่เกาะกุมฮ่องกงมานานหลายเดือนและบ่อยครั้งได้เลี้ยวเข้าสู่ความรุนแรง

"พวกผู้ชุมนุมบอกว่าพวกเขามีข้อเรียกร้องหลัก 5 ข้อและไม่สามารถประนีประนอมได้แม้แต่ข้อเดียว แต่ข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆของฮ่องกงอย่างแท้จริง ข้อเรียกร้องเหล่านี้มีเจตนาดูหมิ่นและโค่นล้มรัฐบาล" ลี กล่าวที่เวทีสัมมนาทางเศรษฐกิจหนึ่งในสิงคโปร์

ในข้อเรียกร้องเหล่านั้น รวมถึงการมีประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์และและดำเนินการสืบสวนอิสระในสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของตำรวจในการควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบ "ไม่มีทางออกง่ายๆหรอก ที่จะบอกว่าเราต้องการสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นสากล แต่ฮ่องกงไม่ใช่ประเทศ ฮ่องกงคือเขตบริหารพิเศษ"

ลี บอกว่าการปฏิรูปกฎหมายบางอย่างหรือนโยบายพิเศษต่างๆอาจช่วยคืนความสงบเรียบร้อยของเมือง แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พร้อมระบุสถานการณ์ความไม่สงบในฮ่องกงได้ก่อแรงกระเพื่อมไปทั่วภูมิภาค "เมื่อฮ่องกงมีปัญหา เมื่อมีการชุมนุมหรือจลาจล เมื่อผู้บริหารสูงสุดถูกโห่ในสภานิติบัญญัติ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องแย่สำหรับฮ่องกงและเป็นเรื่องแย่สำหรับภูมิภาค"

สิงคโปร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของฮ่องกงในด้านความเป็นศูนย์กลางทางการเงิน ถูกมมองว่าอาจผู้ได้ประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายทางธุรกิจและทางการเงินสืบเนื่องจากการประท้วงในฮ่องกง อย่างไรก็ตามพวกสมาชิกสภาของสิงคโปร์พยายามลดความสำคัญเกี่ยวกับผลพลอยได้ในทางบวกใดๆ

พวกผู้ประท้วงฮ่องกงแสดงความโกรธกริ้วต่อสิ่งที่พวกเขาเล็งเห็นว่าเป็นการกระชับอำนาจของปักกิ่งในการควบคุมฮ่องกง ซึ่งไดรับประกันเสรีภาพเป็นเวลา 50 ปีภายใต้สูตร "1ประเทศ 2ระบบ" เมื่อครั้งที่อังกฤษส่งมอบเกาะแห่งนี้คืนแก่จีนในปี 1997

ในการแถลงข่าว แคร์รี ลัม ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงปฏิเสธ 2 ข้อเรียกร้องจากทั้งหมด 5 ข้อของผู้ชุมนุม ได้แก่นิรโทษกรรมบุคคลที่ถูกต้องข้อหาและขอมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นสากล โดยระบุว่าประเด็นแรกนั้นผิดกฎหมาย ส่วนประเด็นที่สองนั้นอยู่เกินขอบเขตอำนาจของผู้บริหารสูงสุด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0