โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นาทีทอง ประกันสะสมทรัพย์การันตีผลตอบแทนดี ...เทรนด์ปีหน้าหายากแล้ว

Wealthy Thai

อัพเดต 26 พ.ย. 2562 เวลา 06.48 น. • เผยแพร่ 26 พ.ย. 2562 เวลา 06.49 น. • wealthythai
นาทีทอง ประกันสะสมทรัพย์การันตีผลตอบแทนดี ...เทรนด์ปีหน้าหายากแล้ว

ภายในงาน SET in the City ที่เพิ่งจบลงไปปีนี้ เห็นการเคลื่อนไหวของเหล่าตัวแทนของบูธบริษัทประกันชีวิต หลายแห่ง ต่างชูขายโปรดักต์กรมธรรม์ “สะสมทรัพย์” หรือ ออมทรัพย์ กันเป็นส่วนใหญ่ โดยชูจุดขายเรื่อง ผลตอบแทนที่จะได้รับกลับมาแต่ละปี ที่สูงกว่าดอกเบี้ยต่ำของตลาดเงินในปัจจุบัน และบอกว่า ปีหน้า แนวโน้มโปรดักต์สะสมทรัพย์ตัวเก่าๆจะเก็บขึ้นไม่มีขายแล้ว
เพราะผลตอบแทน (IRR) หรือเรียกง่ายๆว่า “ดอกเบี้ย” ของประกันสะสมทรัพย์ จะถูกการันตีว่าจะต้องจ่ายให้ลูกค้าที่ถือกรมธรรม์เหล่านี้ ระดับสูงกว่า 2-3%
การการันตีผลตอบแทนในกรมธรรม์ จึงเป็นอะไรที่ยากมากสำหรับบริษัทประกันชีวิต ที่จะต้องหาสินทรัพย์ลงทุนหรือฝากเงิน เพื่อจะบริหารผลตอบแทนกลับมาได้ระดับนี้ทุกปีในระยะยาวข้างหน้า
ยิ่งปีนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในรอบปีนี้ ซึ่งลดลงต่ำเหลือ 1.25% จากเมื่อต้นปีนี้ที่อยู่ระดับ 1.75% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ จึงทำให้บรรดาแบงก์พาณิชย์ทยอยปรับลดดอกเบี้ยตามกันไปด้วย อีกทั้งเป็นกระแสทั่วโลกที่อัตราดอกเบี้ยฝากต่ำจนถึงระดับติดลบด้วยซ้ำ
มาฟังมุมของ คุณอังกูร ศรีกัลยาณบุตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Marketing Officer บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) กัน

 

ปัจจุบันเราจะเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยลดลงมาเยอะ เพราะฉะนั้น ลักษณะของสินค้าออมทรัพย์ ที่การันตีผลตอบแทนสูงเช่นในปีนี้ จะไม่มีแล้ว ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ การบริหารให้ได้ผลตอบแทนสูง ทำได้ยากขึ้น เพราะแบบประกันที่ผู้ขายหรือบริษัทประกันต้องผูกพันการการันตีผลตอบแทนทุกปี ๆเป็นระยะเวลายาว 10-20 ปี ซึ่งจะต้องมารับภาระตามที่การันตีผลตอบแทนนั้นๆ แตกต่างกับแบงก์ที่ดอกเบี้ยในตลาดลดลง ก็สามารถปรับตัวได้เร็วกว่าประกัน
ดังนั้น แนวโน้มปีหน้า จะเห็นการปรับลักษณะของกรมธรรม์ออมทรัพย์ใหม่ เรื่องของปรับเปลี่ยนการการันตีผลตอบแทน
“ endownment (ประกันสะสมทรัพย์) มันไม่ได้หายไป จากตลาด เพียงแต่ว่าผลตอบแทนที่จะให้การันตีโปรดักต์ ตัวนั้นอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแล้ว
การการันตีอาจจะมีอยู่ แต่ว่าต้องเทรดด้วยเรื่องของค่าตอบแทนที่ลดลง หรือว่าอาจจะมีการ reprice สำหรับกรมธรรม์ใหม่ที่จะออกมาขายแทน อีกทางออกหนึ่ง จะเป็นการปรับสินค้า non guarantee ซึ่งจะเป็นอีกโปรดักส์หนึ่ง โดยผลตอบแทนจะขึ้นกับผลดำเนินงานการบริหารการลงทุนให้ของบริษัท”
สำหรับสินค้าประกัน นอน-การันตี จะเป็นลักษณะ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (UL) กับ ประกันยูนิตลิงค์ (UK) ซึ่งสินค้าทั้ง 2 แบบนี้ จะเป็นการแบ่งเงินส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายซื้อเบี้ยประกันชีวิต และอีกส่วนจะเป็นเงินสำหรับลงทุนในกองทุนรวมที่จะบริหารให้ได้ผลตอบแทนกลับมา
โดยจุดต่างของ 2 กรมธรรม์นี้ คือ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ บริษัทประกันเป็นผู้เข้าไปบริหารหรือเลือกลงทุนในกองทุนรวมให้แทน ดังนั้น ลูกค้าจะไม่ได้เป็นคนเลือกกองทุน ส่วนประกันยูนิตลิงค์ ผู้ซื้อกรมธรรม์จะเป็นผู้เลือกลงทุนในกองทุนรวมที่บริษัทประกัน โดยตัวคุณเอง ดังนั้น ผลตอบแทนของยูนิตลิงค์จะอยู่ที่ตัวลูกค้าแล้ว
ขณะที่การลงทุนของ 2 กรมธรรม์นี้ จะขึ้นภาวะตลาดหุ้นด้วย ซึ่งหากมีความผันผวนมาก ก็จะมีความเสี่ยงสูงในการบริหารให้ได้ผลตอบแทน แต่ว่าในส่วนของยูนิเวอร์เซลไลฟ์ จะมีการการันตีขั้นต่ำให้อยู่ ทั้งนี้ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ จะมีลักษณะลูกครึ่ง ระหว่างประกันสะสมทรัพย์ที่การันตี กับ ประกันยูนิตลิงค์ที่ไม่มีการันตี อย่างไรก็ตาม โปรดักส์ทั้ง 2 ประกันนี้มีขายอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่เนื่องจากตัวแทนส่วนใหญ่จะเน้นขายประกันสะสมทรัพย์มากกว่า
คุณอังกูร อธิบายให้ฟังว่า ผลตอบแทนของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ จะขึ้นกับผลการดำเนินงาน เราจะไม่สามารถบอกได้ว่า คุณจะได้ผลตอบแทน 3%ทุกปี ผูกพันแบบนั้นจนครบอายุกรมธรรม์ แต่เราจะบอกบางปีได้ 3% บางปี ได้ 4% หรือบางปีได้ 1%ก็แล้วแต่ผลจากการบริหารเงินลงทุนในกองทุนรวมนั้นๆ
ปี 2563 จึงเป็นปีที่ผู้ซื้อประกันและผู้ขายประกัน จะต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ซึ่งปีนี้ จะเห็นบางบริษัทที่เริ่มให้ตัวแทนมาขาย”ยูนิเวอร์แซลไลฟ์” ซึ่งเป็นการปรับตัวและทำตลาดนำไปก่อน ประกอบกับโปรดักต์ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อจะมีความเข้าใจในโปรดักต์นี้ได้ง่ายกว่าประกันยูนิตลิงค์
คุณอังกูร บอกว่าในส่วนของบริษัทไทยประกัน ตัวยูนิวอร์แซลไลฟ์อาจจะยังไไม่ได้มาเร็วๆนี้ เพราะขั้นแรกที่เราจะทำก่อน คือ ยังขายประกันสะสมทรัพย์ แต่ปรับการการันตีผลตอบแทน เนื่องจากเข้าใจว่า ความต้องการของผู้ซื้อในแบบประกันสะสมทรัพย์ยังมีอยู่มาก
“ ตอนนี้จะเห็นตัวแทนเรา ขายประกันสะสมทรัพย์เยอะ เพราะเรายังไม่มีการ reprice ขั้นตอนต่อไป(ปีหน้า) อาจจะเป็นเรื่องของการ reprice เพราะฉะนั้น IRR อาจจะไม่ได้ขนาดนี้แล้ว เช่น เดิมเราอาจจะให้ 2.5% อาจจะลงมาเหลือ 1.25 หรือ 1.5% เป็นต้น อันนี้เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะไปทำสตรัคเจอร์โปรดักต์ใหม่ อันนั้นมันยากทั้งในมุมของคนขาย มุมของคนซื้อ”
คุณอังกูร สรุปปิดท้ายว่า เทรนด์ประกันสะสมทรัพย์ ไม่น่าจะชะลอตัว เพราะทั้งผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความต้องการอยู่ จึงเชื่อว่า โปรดักต์นี้ไม่ได้หายไปจากตลาด แต่จะมีการปรับการันตีผลอบแทนที่ลดลง สำหรับคนที่ถือประกันสะสมทรัพย์อยู่แล้ว แนะนำว่า อย่ายกเลิกกรมธรรม์ประเภทนี้ เพราะเสียโอกาสการได้รับผลตอบแทนสูงในระยะข้างหน้า ที่ไม่หวนกลับมาอีก ซึ่งปัจจุบันยังมีคนถือกรมธรรม์ที่ให้ผลตอบแทนสูง 6%อยู่
สำหรับบริษัทไทยประกันชีวิต ปัจจุบัน มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนประมาณ 4.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ 46.5% ตราสารหนี้อื่นๆ 41% หุ้นสามัญรวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ 12.5% พร้อมกับคาดการณ์ผลตอบแทนในปี 2562 และ ปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 4.20% และ 3.81% ตามลำดับ ทั้งนี้ ปี 2560 บริษัทบริหารผลตอบแทนได้อยู่ที่ 2.17%
ตอนนี้เหลือเวลาอีกเพียงเดือนครึ่งของปี 2562 ที่กำลังจะจบลง มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สูงๆ กำลังเลือกช้อปโปรดักต์ทางการเงิน เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษี คงต้องตัดสินใจแล้ว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0