โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นาซา-สเปซเอ็กซ์ เตรียมปล่อยยานครั้งประวัติศาสตร์ นำมนุษย์สู่ห้วงอวกาศจากแผ่นดินสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบ 9 ปี

Khaosod

อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 20.45 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 20.32 น.
_112481023_profilepics.jpg

นาซา-สเปซเอ็กซ์ เตรียมปล่อยยานครั้งประวัติศาสตร์ นำมนุษย์สู่ห้วงอวกาศจากแผ่นดินสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบ 9 ปี - BBCไทย

หมายเหตุ อัพเดตล่าสุดเวลา 03.30 น. วันที่ 28 พ.ค. ตามเวลาไทย : นาซาแจ้งเลื่อนการปล่อยยานออกไปเป็นวันเสาร์ที่ 30 พ.ค. เวลา 15.22 น. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐ เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยตามกำหนดเดิม

…….

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซา พร้อมด้วยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เตรียมปล่อยยานแคปซูล "ดรากอน" (Crew Dragon Capsule) ซึ่งเป็นระบบขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่ห้วงอวกาศที่พัฒนาขึ้นใหม่ ล่าสุดในวันนี้ (27 พ.ค.) จะเป็นภารกิจครั้งประวัติศาสตร์ที่นำนักบินอวกาศทะยานขึ้นจากแผ่นดินสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี

ดรากอน
ดรากอน

ภารกิจการเดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า Demo-2 โดยจรวดฟอลคอน 9 ของสเปซเอ็กซ์ซึ่งใช้นำส่งยานดรากอน จะถูกปล่อยจากฐานที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดาในเวลา 16.33 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับ 3.33 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 28 พ.ค. ตามเวลาในประเทศไทย และคาดว่ายานดรากอนจะไปถึงจุดหมายปลายทางในอีก 19 ชั่วโมงถัดไป

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จะเข้าร่วมชมการปล่อยยานดรากอนที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีด้วยตนเอง เนื่องจากเหตุการณ์นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ โดยเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของวงการธุรกิจขนส่งอวกาศ ซึ่งจะเปิดเสรีให้ภาคเอกชนอย่างเช่นโบอิ้งและสเปซเอ็กซ์เข้ามาประกอบการเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มที่ โดยนาซาคาดว่าจะมอบหมายให้บริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินภารกิจทั้งหมดที่เป็นการขนส่งมนุษย์ขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit) หลังจากนี้

ดรากอน
ดรากอน

ยิ่งไปกว่านั้น การปล่อยยานดรากอนยังเท่ากับช่วยเรียกคืนสถานะชาติมหาอำนาจด้านอวกาศของสหรัฐฯ หลังจากวิกฤติการเงินทำให้นาซาต้องยุติการใช้งานยานขนส่งอวกาศแอตแลนติสซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงไปเมื่อปี 2011 และต้องหันไปพึ่งพารัสเซียโดยใช้ยานโซยุซนำส่งมนุษย์ขึ้นสู่ห้วงอวกาศแทน

ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักบินอวกาศในภารกิจประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ได้แก่นายดักลาส หรือ "ดั๊ก" เฮอร์ลีย์ วัย 53 ปี และนายโรเบิร์ต หรือ "บ็อบ" เบห์นเคน วัย 49 ปี ซึ่งต่างก็มีประสบการณ์ยาวนานในงานด้านการสำรวจอวกาศ ทั้งยังเคยขึ้นปฏิบัติภารกิจในห้วงอวกาศมาแล้วถึงสองครั้ง

ดักลาส หรือ “ดั๊ก” เฮอร์ลีย์ วัย 53 ปี (ซ้าย) และนายโรเบิร์ต หรือ “บ็อบ” เบห์นเคน วัย 49 ปี
ดักลาส หรือ “ดั๊ก” เฮอร์ลีย์ วัย 53 ปี (ซ้าย) และนายโรเบิร์ต หรือ “บ็อบ” เบห์นเคน วัย 49 ปี

ในครั้งนี้ทั้งสองยังต้องผ่านขั้นตอนพิเศษ คือการกักตัวควบคุมโรคและตรวจหาเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ก่อนขึ้นสู่ห้วงอวกาศอีกด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคระบาดบนสถานีอวกาศนานาชาติ

ยังไม่แน่ชัดว่าเฮอร์ลีย์และเบห์นเคนจะอยู่ปฏิบัติภารกิจที่สถานีอวกาศนานาชาตินานเท่าใดก่อนกลับสู่โลก แต่มีรายงานว่าน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 4 เดือน ส่วนชุดปรับความดันหรือชุดมนุษย์อวกาศที่พวกเขาจะสวมใส่ก็เป็นแบบปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีโครงสร้างเพรียวบางลงไม่หนาเทอะทะเหมือนเก่า ห้องนักบินมีการใช้งานจอสัมผัสและมีการปรับปรุงใหม่จากต้นแบบกระสวยอวกาศของนาซาในหลายเรื่อง

The Crew Dragon capsule has gone through an arduous development process
The Crew Dragon capsule has gone through an arduous development process

สำหรับขั้นตอนการปล่อยยานนั้น หลังจรวดฟอลคอน 9 ทะยานขึ้นไปไม่กี่นาที ส่วนของจรวดท่อนล่างที่ใช้ในการนำส่งขั้นแรกจะแยกตัวออก และตกกลับลงมาจอดบนทุ่นซึ่งเป็นโดรนลอยน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก จรวดขั้นที่สองจะยังคงนำส่งแคปซูลต่อไป จนเมื่อถึงระดับวงโคจรโลกแคปซูลจะแยกตัวออก และเดินทางไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติด้วยตนเอง

นาซา-สเปซเอ็กซ์
นาซา-สเปซเอ็กซ์

ผู้สนใจสามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดได้ที่ https://www.nasa.gov/nasalive เริ่มตั้งแต่เวลา 23.15 น. ในประเทศไทยเป็นต้นไป หรือรับชมทางเว็บไซต์ของสเปซเอ็กซ์ได้ที่ https://www.spacex.com/launches/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0