โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

'นักออกแบบ'ต้องคิดหนัก ทำรถ'นิวนอร์มอล'หลังโควิด

เดลินิวส์

อัพเดต 01 มิ.ย. 2563 เวลา 02.14 น. • เผยแพร่ 30 พ.ค. 2563 เวลา 18.29 น. • Dailynews
'นักออกแบบ'ต้องคิดหนัก ทำรถ'นิวนอร์มอล'หลังโควิด
นักออกแบบรถยนต์ในยุคหลังโควิด-19 คงจะมีการบ้านต้องขบคิดกับหลายมิติ เพราะโลกในยุคนิวนอร์มัลหรือ “วิถีชีวิตใหม่” นั้นมาถึงเร็วกว่าที่คิด หลังจากนี้ไปจะเกิดโจทย์ใหม่มาให้ขบคิดกันขนานใหญ่ว่าทิศทางของผู้กำหนดกฎเกณฑ์กติกาสังคมและทัศนคติของผู้บริโภคนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร

  นักออกแบบรถยนต์ในยุคหลังโควิด-19 คงจะมีการบ้านต้องขบคิดกับหลายมิติ เพราะโลกในยุคนิวนอร์มัลหรือ “วิถีชีวิตใหม่” นั้นมาถึงเร็วกว่าที่คิด จากเดิมนักออกแบบและวิศวกรต่างคิดแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยรถใหม่แต่ละรุ่นแตกต่างจากรุ่นเดิมไม่มาก แค่ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น ประหยัดขึ้น ปล่อยมลพิษต่ำลงแต่หลังจากนี้ไปจะเกิดโจทย์ใหม่มาให้ขบคิดกันขนานใหญ่ว่าทิศทางของผู้กำหนดกฎเกณฑ์กติกาสังคมและทัศนคติของผู้บริโภคนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร

  ในโลกการออกแบบรถยนต์ส่วนตัวนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่ากระแสที่เกิดขึ้นในไม่นานนี้พุ่งเป้าไปที่การพัฒนายานยนต์อัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และสนใจนำาเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้งานกับยานพาหนะสาธารณะ เนื่องจากรูปแบบสังคมเมืองที่มีความจำากัดในเรื่องของพื้นที่อันไม่อำานวยกับการครอบครองยานพาหนะส่วนบุคคล ทำให้เกิดบริการจำพวก

“รถยนต์ปันขับ” (คล้ายกับจักรยานปันปั่นในบ้านเรา) ที่สมาชิกเครือข่ายสามารถที่จะใช้งานรถสาธารณะแบบขับเองได้ อาทิ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีโครงการวิจัยร่วมกับโตโยต้าเพื่อให้บริการรถยนต์ไฟฟ้าขนาดจิ๋ว “ฮาโม” ให้กับนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยมาได้สักพักใหญ่แล้วนั่นเอง

  แต่ด้วยกระแสตื่นตัวเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อโรคทำาให้คนในทุกวันนี้รับรู้ได้ถึงมิติของสุขอนามัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงซึ่งจะส่งผลให้การจัดการพื้นที่สาธารณะเปลี่ยนแปลงไปจากเก้าอี้ที่เคยวางเรียงชิดกันก็จำาเป็นจะต้องวางห่างกัน ในรถสาธารณะอย่างรถแท็กซี่ ก็อาจจะต้องออกแบบฉากกั้นรวมไปถึงระบบปรับอากาศที่แยกเป็นเอกเทศมีระบบฆ่าเชื้อโรคทั้งบนพื้นผิวและในอากาศ

  มีตัวอย่างที่น่าสนใจของงานออกแบบรถแนวคิดประเภทรถสาธารณะไร้คนขับอยู่ 2 งานด้วยกัน อันดับแรกได้แค่ “ควอเตอร์” รถแนวคิดรถสาธารณะไร้คนขับจากสำนักออกแบบซีมัวร์ พาวเวลล์ (Seymour Powell) และอันดับต่อไปคือ “จอยน์” (Joyn) จากสตูดิโอ เลเยอร์(Studio Layer) ทั้งคู่นั้นล้วนแล้วแต่เป็นสำานักออกแบบชั้นนำาจากสหราชอาณาจักร แม้ว่างานออกแบบที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะแก้ปัญหาเรื่องสุขอนามัยจากโควิด-19 แต่อย่างใด แต่กลับเป็นที่น่าสนใจว่าแนวคิดทั้ง 2 นี้อาจจะใช้เป็นตัวจุดประกายให้กับการออกแบบพื้นที่ภายในสำาหรับรถสาธารณะในยุคต่อไปได

  แนวคิดของทั้งคู่ก็คือเราจะทำเช่นไรจึงจะสร้างพื้นที่ซึ่งสามารถสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้โดยสาร โดยทั้ง 2 สำนักได้นำเสนอรูปแบบที่แตกต่างของการใช้ฉากกั้นความเป็นส่วนตัว ซึ่งแนวคิดนี้โดยส่วนตัวคิดว่าน่าสนใจที่จะนำมาพัฒนาใช้สำหรับรถสาธารณะในยุคต่อไป

  เหล่านักออกแบบก็ได้แต่จินตนาการกันไปว่าหลังจากนี้โลกเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? กับโจทย์ใหญ่ที่มาแบบไม่ทันตั้งตัวนี้ พวกเราเองต่อจากนี้ไปก็อย่าเพิ่งการ์ดตกกันนะครับ.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0