โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นักวิเคราะห์เริ่มตั้งคำถามถึงความจริงใจกับปัญหา Hate Speech ต่อแบรนด์ดัง หลังแห่ถอนโฆษณาเฟซบุ๊ก

TODAY

อัพเดต 01 ก.ค. 2563 เวลา 10.29 น. • เผยแพร่ 01 ก.ค. 2563 เวลา 10.22 น. • workpointTODAY
นักวิเคราะห์เริ่มตั้งคำถามถึงความจริงใจกับปัญหา Hate Speech ต่อแบรนด์ดัง หลังแห่ถอนโฆษณาเฟซบุ๊ก

ผลสำรวจจากสมาคมผู้โฆษณาโลก (World Federation of Advertisers) ชี้แบรนด์ดังหนึ่งในสาม ประสงค์ถอนโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ สแนปแชท และอีกเกือบครึ่งยังอยู่ในช่วงขั้นตอนการตัดสินใจ - แต่ก็เริ่มมีการตั้งคำถามถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา Hate Speech แล้วเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ได้เกิดกระแสการแบนการลงโฆษณาลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อดัง ผ่าน #StopHateForProfit ซึ่งส่งผลให้หุ้นของเฟซบุ๊กร่วงลงไปถึง 8.3% มูลค่าตลาดให้ไปกว่า 5.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีที่มาเรื่องของความกังวลที่เฟซบุ๊กกลายเป็นแพลตฟอร์มที่เผยแพร่ความเกลียดชัง (Hate Speech) - แม้ว่ารายได้จากร้อยละ 75 จากเฟซบุ๊กจะมาจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กก็ตาม

แบรนด์ดังที่ถอนตัวจากเฟซบุ๊ก นับถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

แบรนด์ดังที่เข้าร่วมบอยคอตการโฆษณาทางเฟซบุ๊กนั้นรวมถึง ยูนิลีเวอร์ เวริซอน สตาร์บัคส์ อาดิดาส และ โคคาโคลา โดยประกาศไม่ลงโฆษณาบนเฟซบุ๊กนาน 1-6 เดือน

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโฟล์คสวาเก้น ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์รถยนต์ยี่ห้อดังอย่างออดี้และปอร์เช่ ก็ประกาศระงับการโฆษณาบนเฟซบุ๊กแบบไม่มีกำหนด โดยบอกว่า "จนกว่าจะได้เห็นเฟซบุ๊กออกแอคชั่นอย่างชัดเจนในเรื่องนี้"

มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก CEO เฟซบุ๊กเผชิญกับมรสุมทางการตลาดอีกครั้ง

มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กออกแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่าระงับข้อความเกลียดชังและเหยียดเชื้อชาติ และวันจันทร์ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กก็ได้ยืนยันว่าพร้อมเข้ารับการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระว่าแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กนั้นปกป้องแบรนด์ดังจากข้อความเกลียดชัง แต่ดูเหมือนว่าแบรนด์ต่างๆ ได้เริ่มตัดสินใจถอนโฆษณาออกไปแล้ว

สตีเฟ่น เลิร์ค ประธานสมาคมผู้โฆษณาโลกชี้ว่าสิ่งที่แบรนด์ต่างๆ ต้องการในตอนนี้คือเครื่องมือที่ช่วยให้พวกเขามีอำนาจในการควบคุมว่าสปอตโฆษณาต่างๆ นั้นจะถูกวางอยู่ที่ไหน รวมถึงระบบของเฟซบุ๊กในการกลั่นกรองเนื้อหาบนแพลตฟอร์มให้มีการแยกแยะชัดเจนว่ามีความรุนแรงหรือสะท้อนความเกลียดชังอย่างไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม ก็มีการตั้งคำถามไปถึงความจริงใจของแบรนด์ดังที่ประกาศถอนโฆษณาโดยให้เหตุผลเรื่องของการเผยแพร่ข้อความเกลียดชังและปัญหาเหยียดผิว โดย เกร็ก พอล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท R3 Worldwide ก็ได้ตั้งคำถามว่า "ปัญหาการเหยียดผิวมีมานานแล้ว การถอนโฆษณาเพียงแค่ 30 วัน ไม่น่าจะส่งผลอะไรเลย สิ่งที่แบรนด์ต่างๆ ควรทำคือย้อนกลับไปตรวจสอบวัฒนธรรมองค์กร การให้เกียรติ ให้อำนาจคนผิวดำ หรือสตรีว่ามีมากน้อยแค่ไหน"

"เฟซบุ๊กมีลูกค้า 8 ล้านคน ความจริงก็คือแบรนด์ดัง 100 แบรนด์ (ที่มีข่าวว่าจะถอนตัวร้อยละ 30 นี้) ส่งผลต่อรายได้ขอเฟซบุ๊กเพียงแค่ร้อยละ 20 เท่านั้น ฉะนั้น ผลกระทบจริงๆ จะไม่เป็นไปอย่างที่เกิดขึ้นกับมูลค่าในตลาดหุ้นแน่นอน"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0