โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบฉลามสายพันธุ์ใหม่ ที่ใช้ครีบเดินได้ ซึ่งมีวิวัฒนาการหลังแยกออกมาจากกลุ่มดั้งเดิม

The MATTER

อัพเดต 29 ม.ค. 2563 เวลา 09.37 น. • เผยแพร่ 27 ม.ค. 2563 เวลา 09.00 น. • Brief

ยังมีสัตว์น้ำในมหาสมุทรอีกหลายสปีชีส์ที่เรายังไม่รู้จัก อย่างฉลามเดินได้ ซึ่งก่อนหน้าเคยถูกค้นพบแล้ว 5 สปีชีส์ ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ก็ได้พบใหม่อีก 4 สปีชีส์

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Marine and Freshwater Research นักวิจัยได้ทำการเก็บตัวอย่างสารพันธุกรรมของฉลามเดินได้ที่เป็นสปีชีส์ที่ถูกค้นพบแล้ว 5 สปีชีส์ เพื่อประเมินว่าพวกมันมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อไหร่

แต่ในระหว่างที่ทำการวิจัยอยู่ นักวิจัยพบฉลามเดินได้สายพันธุ์ใหม่อีก 4 สปีชีส์ซึ่งทำให้มีจำนวนสปีชีส์ของฉลามเดินได้ที่ถูกค้นพบแล้วมีทั้งหมด 9 สปีชีส์ โดยฉลามเหล่านี้ถูกค้นพบในทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และเกาะปาปัวนิวกินี

คริสติน ดัดเจียน (Christine Dudgeon) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีสแลนด์ ในรัฐบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ทำงานร่วมกับ แกรี่ อเลน (Gerry Allen) จากพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียตะวันตก และ มาร์ค เอ็ดมาน (Mark Erdmann) จากองค์กร Conservation International เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างสารพันธุกรรมของฉลามที่อยู่ทั่วภูมิภาค นำมาหาลำดับและวิเคราะห์ในห้องทดลอง ร่วมกับสารพันธุกรรมที่ได้มาจากพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ยังนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อสร้างสายวิวัฒนาการของฉลามเดินได้จีนัส ‘Hemiscyllium’

"พวกเราประเมินความเชื่อมโยงระหว่างสปีชีส์ต่างๆ โดนอิงจากการเปรียบเทียบไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอของพวกมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งต่อผ่านทางเชื้อสายมารดา” ดัดเจียน กล่าว

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ฉลามเหล่านั้นเกิดการวิวัฒนาการ ดัดเจียน กล่าวว่า ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ปลาฉลามสปีชีส์ใหม่ได้มีวิวัฒนาการหลังจาก พวกมันได้เคลื่อนย้ายออกจากประชากรดั้งเดิมของพวกมัน มาอยู่โดดเดียวในพื้นที่ใหม่ และเกิดการพัฒนาเป็นสปีชีส์ใหม่

งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ฉลามเหล่านี้มีวิวัฒนาการในช่วง 9 ล้านปีที่ผ่านมา โดยฉลามชนิดที่เด็กที่สุด อาจมีวิวัตนาการในช่วงไม่เกิน 2 ล้านปีก่อน ซึ่งถือว่่าใช้เวลาในการวิวัฒนาการไม่นาน ขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่าฉลามมีวิวัฒนาการช้า

ดัดเจียน ยังเผยอีกว่า ความสามารถในการอดทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนต่ำ และความสามารถในการเดินด้วยครีบ ทำให้พวกมันมีข้อได้เปรียบเหนือเหยื่อที่เป็นพวกกุ้งกั้งปูตัวเล็กๆ หรือ สัตว์จำพวกหอยและปลาหมึก

เขากล่าวเสริมอีกว่า ฉลามสปีชีส์ใหม่ที่ถูกค้นพบก็เหมือนกับฉลามอื่นๆ ที่ต้องเจอกับภัยคุกคาม เช่น การจับปลาที่มากเกินไป หรือ การเก็บเกี่ยวเพื่อการค้าตู้ปลา และบางสีปีชีส์ที่มีจำกัดแค่ในพื้นที่เล็กๆ มีความอ่อนแอ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับพวกมันยังมีน้อย ทำให้ข้อมูลไม่เพียงพอ นอกจากนี้ มีเพียงแค่ 3 ใน 9 สปีชีส์เท่านั้น ที่อยู่ในรายชื่อสปีชีส์ที่ถูกคุกคามขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

อ้างอิงจาก

https://www.nationalgeographic.com/animals/2020/01/walking-sharks-new-species-evolving-fast/

https://www.independent.co.uk/news/science/shark-species-new-walk-seabed-fins-australia-a9302171.html

https://edition.cnn.com/2020/01/23/world/walking-sharks-recently-evolved-scn-trnd/index.html

พิสูจน์อักษร: จิรัชญา ชัยชุมขุน

#Brief #TheMATTER

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0