โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักวิทยาศาสตร์พบแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่กินพลาสติกประเภทโพลิยูรีเทนเป็นอาหาร

The Momentum

อัพเดต 30 มี.ค. 2563 เวลา 09.00 น. • เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 09.00 น. • THE MOMENTUM TEAM

พลาสติกประเภทโพลิยูรีเทนที่ใช้ทำรองเท้ากีฬา ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ฟองน้ำล้างจานเป็นพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลได้ยากมาก เมื่อมันแตกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ จะปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษออกมา ซึ่งแทบจะทำลายแบคทีเรียทุกชนิด แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีแบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งที่รอดชีวิตอยู่ได้

เฮอร์มาน ไฮพายเพอร์ แห่งศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อม Helmholtz Centre for Environmental Research-UFZ เยอรมนี และคณะเผยแพร่ผลการค้นพบในวารสารวิชาการ Frontiers in Microbiology ว่า  หลังจากที่นักวิจัยให้อาหารที่มีองค์ประกอบทางเคมีหลักของโพลิยูรีเทนแก่แบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ในสกุล Pseudomonas ที่รู้จักกันดีว่าเป็นแบคทีเรียที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิร้อนจัดหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด พวกเขาพบว่า มันสามารถใช้สารประกอบเหล่านี้เป็นแหล่งคาร์บอน ไนโตรเจนและพลังงานของมัน

ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยที่ทดลองใช้ฟังไจย่อยสลายโพลิยูรีเทนแล้ว แต่ว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ที่เพิ่งค้นพบนี้สามารถนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรมได้ง่ายกว่า เมื่อปี 2018 นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า พวกเขาสร้างเอนไซม์กลายพันธุ์ชนิดหนึ่งขึ้นมาด้วยความบังเอิญที่ทำให้มันสามารถย่อยขวดน้ำพลาสติกที่เป็นพลาสติก PET ได้ เป็นครั้งแรก

การย่อยสลายโพลิยูรีเทนควรจะจัดการอย่างระมัดระวัง เนื่องจากมันปล่อยสารพิษและสารก่อมะเร็งออกมาได้ด้วย นักวิจัยกลุ่มนี้พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์นี้สามารถจัดการกับสารเคมีได้จำนวนหนึ่ง แม้ว่ายังต้องศึกษาอีกมาก แต่เขากล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ก็น่าตื่นเต้นมาก เพราะแสดงให้เห็นถึงการหาสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ การเข้าใจกระบวนการทางธรรมชาติจะเปิดประตูสู่นวัตกรรมการรีไซเคิล

ขั้นต่อไป ไฮพายเพอร์กล่าวว่าจะต้องระบุสารพันธุกรรมที่ทำให้เอนไซม์ที่ผลิตออกมาสามารถย่อยสลายโพลียูรีเทนได้

แม้จะเป็นข่าวดี แต่ไฮพายเพอร์กล่าวว่า เมื่อคุณมีพลาสติกในปริมาณมหาศาลในสิ่งแวดล้อม แปลว่ามีคาร์บอนมากมาย ต่อไปคงจะมีวิวัฒนาการใช้มันเป็นอาหารได้ แบคทีเรียมีจำนวนมากและการวิวัฒนาการของมันเร็วมาก อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่า นี่ไม่ได้หมายความว่า งานของนักจุลชีพวิทยาจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยพลาสติกออกมาในสิ่งแวดล้อม

 

ที่มา:

https://www.theguardian.com/environment/2020/mar/27/scientists-find-bug-that-feasts-on-toxic-plastic

https://www.sciencedaily.com/releases/2020/03/200327081436.htm

https://thehill.com/changing-america/sustainability/environment/489853-scientist-identify-bacteria-strain-that-eats

ภาพ: Getty Images

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0