โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีตรวจหาเซลล์มะเร็งจากตัวอย่างเลือด โดยใช้โปรตีนจากเชื้อมาลาเรีย

Thaiware

อัพเดต 22 ส.ค. 2561 เวลา 03.27 น. • เผยแพร่ 22 ส.ค. 2561 เวลา 02.52 น. • นอร่า
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีตรวจหาเซลล์มะเร็งจากตัวอย่างเลือด โดยใช้โปรตีนจากเชื้อมาลาเรีย
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีตรวจหามะเร็งแบบใหม่ ด้วยการใช้โปรตีนจากเชื้อมาลาเรียตรวจหาเซลล์มะเร็งจากตัวอย่างเลือด

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร Nature Communications ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์จาก University of Copenhagen ประเทศเดนมาร์ก สามารถพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ จากการตรวจเลือดด้วยโปรตีนที่สร้างขึ้นจากเชื้อมาลาเรีย

Ali Salanti ศาสตราจารย์จากคณะภูมิคุ้นกันวิทยา และจุลวิทยาของ University of Copenhagen ซึ่งเป็นผู้ร่วมทำการศึกษาดังกล่าว เผยในแถลงการณ์ว่า ทีมวิจัยสามารถตรวจจับเซลล์มะเร็งจากตัวอย่างเลือดได้หลายชนิด ซึ่งหากมีเซลล์มะเร็งอยู่ในเลือด นั่นหมายความว่ามีเนื้องอกอยู่ในร่างกายไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง

ในผลการศึกษาชิ้นนี้ ทีมวิจัยแสดงให้เห็นถึงการใช้โปรตีนที่สร้างขึ้นจากเชื้อมาลาเรีย (มีชื่อเรียกว่า "VAR2CSA") ที่สามารถช่วยตรวจหามะเร็งได้เกือบทุกชนิดจากการตรวจเลือดง่ายๆ ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะจับตัวกับโมเลกุลน้ำตาล ที่พบได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ในเซลล์มะเร็งทุกชนิด  

และเนื่องด้วยโปรตีน VAR2CSA เกาะติดกับเซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ ทีมวิจัยจึงค้นพบว่า พวกเขาสามารถติดอนุภาคแม่เหล็กเล็กๆ ไว้กับโปรตีนดังกล่าว และใส่ลงไปในตัวอย่างเลือด เพื่อกู้คืนเซลล์มะเร็ง และนำไปทำการศึกษาต่อไป

ทั้งนี้  จากการทดลองด้วยตัวอย่างเลือด 5 มิลลิลิตร พบว่าสามารถกู้คืนเซลล์มะเร็งได้ถึง 9 ใน 10 เซลล์เลยทีเดียว

Mette ØrskovAgerbæk ผู้ร่วมทำการวิจัยระบุว่า จากการนับจำนวนเซลล์มะเร็งนี้ ส่งผลให้สามารถพยากรณ์โรคได้ ซึ่งหากจำนวนเซลล์เนื้องอกไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างทำการรักษาคนไข้ ก็อาจช่วยให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนวิธีการรักษาได้ นั่นหมายความว่า การใช้โปรตีนจากเชื้อมาลาเรียจะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนรักษาคนไข้ได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยให้ได้เซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งสามารถนำไปเพาะ และใช้ทดสอบการรักษา เพื่อกำหนดทิศทางในการรักษาที่ตอบสนองต่อคนไข้ด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0