โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้

Thaiware

อัพเดต 04 เม.ย. 2563 เวลา 06.00 น. • เผยแพร่ 04 เม.ย. 2563 เวลา 06.00 น. • l3uch
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้
หลังจากพื้นที่ไปเก็บตัวอย่างพื้นใต้ทะเลในทวีป Antarctic ในช่วงปี 2017 ก็ได้เผยผลการศึกษาออกมาเป็นที่เรียบร้อย

นักวิทยาศาสตร์ ขุดเจาะพื้นน้ำแข็งใต้ทะเลบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีป Antarctica เพื่อนำมาศึกษาหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณหาค่าอายุก็พบว่าตัวอย่างของพื้นดินที่ขุดเจาะมานี้น่าจะเป็น พื้นดินในช่วงยุค Cretaceous ที่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นระดับน้ำทะเลน่าจะสูงกว่าในปัจจุบันถึง 100 เมตร

โดยทีมจากสถาบันวิจัยทะเลและขั้วโลก AWI (Alfred Wegener Institute) ประเทศเยอรมนีได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและสำรวจทวีป Antarctic BAS (British Antarctic Survey) ของประเทศอังกฤษ และสถาบันอื่นๆ ในการขุดเจาะพื้นน้ำแข็งและพื้นดินใต้ทะเลด้วย เครื่องขุดเจาะ MeBo (Meeres­boden-Bo­hr­gerät)เพื่อเก็บตัวอย่างของสสารที่อยู่ใต้พื้นทะเลลึกกว่า 30 เมตร บริเวณอ่าวใกล้กับเกาะ Pine ในทวีป Antarctic เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา

เครื่องขุดเจาะ Mebo (Meeres­boden-Bo­hr­gerät)

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้

ภาพจาก : https://www.bbc.com/news/science-environment-52125369

ซึ่งหลังจากได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างที่ขุดเจาะมานี้เป็นเวลาหลายปี ก็ได้ออกมา สรุปข้อมูลผลการศึกษา ว่าภายในพื้นน้ำแข็งใต้ทะเลนี้อุดมไปด้วย ดิน, เกสรดอกไม้และรากของต้นไม้ดึกดำบรรพ์กว่า 62 สปีชีส์ โดยจากการวิเคราะห์เทียบหาช่วงเวลาทางธรณีวิทยาแล้วนั้นก็พบว่า สิ่งต่างๆ ที่ขุดค้นพบนี้น่าจะมีชีวิตอยู่ในช่วงยุค Cretaceous โดยศาสตราจารย์ Karsten Gohl ประจำสถาบัน AWI ที่เป็นผู้นำทีมวิจัยในครั้งนี้ก็ได้เปิดเผยวิดีโอการสแกนตัวอย่างพื้นน้ำแข็งที่ขุดเจาะมาอีกด้วย

เรามีภาพวิดีโอการ X-ray ของสิ่งที่เราได้ทำการขุดเจาะมา และมันเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากว่ามันคล้ายกับป่าดิบชื้นเขตร้อนและป่าพรุในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ถึงรากของต้นไม้, หรือพวกละอองเกสรต่างๆ แต่มันถูกเก็บไว้ตั้งแต่ช่วง 90 ล้านปีก่อน

การศึกษาในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พบหลักฐานว่าในยุค Cretaceous นั้น ทวีป Antarctica ที่อยู่ใกล้กับขั้วโลกใต้นั้น เคยเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก่อน โดยจากการสันนิษฐานก็คาดว่าพืชเหล่านี้น่าจะเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิราว 55 องศาฟาร์เรนไฮต์ (ราว 13 องศาเซลเซียส)

“เราเชืื่อว่ามันน่าจะมีไดโนเสาร์อยู่ในป่าแห่งนี้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าคุณไปแถวๆ ขอบคาบสมุทร Antarctic คุณจะเจอฟอซซิลของไดโนเสาร์จำพวก Hadrosaur (ไดโนเสาร์ปากเป็ด), Sauropod (ไดโนเสาร์คอยาว) และไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างคล้ายนก ไดโนเสาร์ทุกประเภททั่วโลกก็น่าจะสามารถอาศัยอยู่ในทวีป Antarctica ช่วงยุค Cretaceous ได้เหมือนกับที่อื่นๆ” ศาสตราจารย์ Jane Francis ผู้อำนวยการสถาบัน BAS กล่าว

ไดโนเสาร์จำพวก Hadrosaur (ไดโนเสาร์ปากเป็ด)

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้

ภาพจาก : https://www.savalli.us/BIO113/Labs/10.HerbivorousDinos.html

ไดโนเสาร์ประเภท Sauropod (ไดโนเสาร์คอยาว)

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้

ภาพจาก : https://glas.ru/science/2812--issledovanie-ogromnyj-dinozavr-mog-hodit-na-vysokih-kablukah.html

ในช่วงยุค Cretaceous ที่ไดโนเสาร์และพืชเหล่านี้เติบโตได้ดี โลกของเราไม่เพียงแต่จะ ไม่มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ในทวีป Antarctic เท่านั้น แต่มันยังอุดมไปด้วยก๊าซเรือนกระจกและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากในชั้นบรรยากาศ หากว่าในปัจจุบันนี้มีจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์เจือปนอยู่ในชั้นบรรยากาศราว 400 PPM (400 ส่วนต่อต่อล้าน) ในยุคนั้นก็น่าจะมี คาร์บอนไดออกไซด์เจือปนอยู่ในชั้นบรรยากาศถึง 1,120 PPM ไปจนถึง1,680 PPM เลยทีเดียว

ภาพจำลองพื้นทวีปโลกในช่วงยุค Cretaceous

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบป่าดิบชื้นยุค Cretaceous บริเวณใกล้กับขั้วโลกใต้

ภาพจาก : https://www.bbc.com/news/science-environment-52125369

นอกจากนี้ Dietmar Muller ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัย Sydney ประเทศออสเตรเลียก็ได้ตั้งข้อสังเกตจากผลการศึกษาในครั้งนี้ว่า หากมนุษย์ยังไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็คาดว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอาจพุ่งสูงถึง 1,000 PPM ได้ภายในเวลาไม่กี่ร้อยปี นับจากนี้ และเมื่อน้ำแข็งในทวีป Antarctic ทั้งหมดละลายลงแล้ว โลกของเราก็น่าจะกลับไปเป็น ดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิสูง อีกครั้ง ซึ่งอาจกินเวลายาวนาน หลายล้านปี ก็เป็นได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0