โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

นักวิชาการ แนะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่แก้ปัญหาฝุ่นควันจากการเผาไหม้

TODAY

อัพเดต 25 มิ.ย. 2562 เวลา 10.23 น. • เผยแพร่ 25 มิ.ย. 2562 เวลา 10.23 น. • Workpoint News
นักวิชาการ แนะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่แก้ปัญหาฝุ่นควันจากการเผาไหม้

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เสนอแนวคิดนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลักดันใช้รถพลังงานไฟฟ้า แทนรถยนต์ที่มีการเผาไหม้ ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ใช้ยาสูบแบบอม ที่อันตรายน้อยกว่าแทนบุหรี่ เชื่อช่วยลดอันตรายจากมลภาวะสิ่งแวดล้อมได้

วันที่ 25 มิ.ย. 62 สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จัดการประชุมวิชาการ ในหัวข้อ การลดอันตรายจากมลภาวะในสิ่งแวดล้อม (Environmental Pollution Harm Reduction) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวโยงกับสุขภาพ หรือ เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทางในการลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากภัยจากการเผาไหม้ให้กับประชาชน

โดย ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า กล่าวว่า ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองในภาคเหนือที่เกิดจากการเผาป่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี ไฟป่าก่อให้เกิดควันและฝุ่นละอองที่ประกอบไปด้วยสารอันตราย ไม่ว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารก่อการกลายพันธุ์ และโลหะหนัก จากการศึกษาล่าสุดที่ทำขึ้นใน 9 จังหวัดภาคเหนือของไทยเพื่อวัดระดับค่า PM 2.5 ก่อนและหลังการเกิดไฟป่า พบว่า มีค่าความเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น ซึ่งค่าความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของ 9 จังหวัดในประเทศไทยนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของหลายๆ เมืองในโลก ส่วนในพื้นที่เมืองอย่างกรุงเทพมหานคร แม้จะไม่มีการเผาในที่โล่งแจ้ง แต่ก็ยังมีฝุ่นควันจากการเผาไหม้ที่พบในชีวิตประจำวันในรูปแบบอื่น เช่น การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ไอเสียจากยานพาหนะ การจุดธูป การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นมลภาวะทางอากาศใกล้ตัว ทำให้เกิดโรคระบบการหายใจ และสารก่อโรคมะเร็งในร่างกาย ซึ่งการจะลดการเกิดฝุ่นด้วยการลดการเผา ลดการใช้รถยนต์ แต่อาจจะทำได้ยาก เนื่องจากเป็นวิถีในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีแนวทางใหม่ ที่เรียกว่า การลดอันตราย หรือ Harm Reduction โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยลดเรื่องการเผาไหม้ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) รถเมล์ไฟฟ้า ที่ไม่ก่อให้เกิดการไหม้ ก็จะช่วยลดสารพิษที่จะปล่อยออกมาสู่บรรยากาศได้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยภาคประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ ภาคเอกชนก็ต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่มีการเผาไหม้ ในขณะที่ภาครัฐก็ควรต้องมีมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่มีการเผาไหม้ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาและแก้ปัญหาฝุ่นละอองได้อย่างแท้จริง

ด้าน ดร. อเล็กซ์ วอแดค ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมมูลนิธิปฏิรูปกฎหมายด้านยาเสพติด และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดอันตราย เสนอว่า หลักการลดอันตรายเป็นที่ยอมรับในวงการสาธารณสุขมานานและสามารถนำมาใช้กับการลดอันตรายจากควันบุหรี่ได้ เพราะบุหรี่มีการเผาไหม้ ซึ่งก่อให้เกิดควัน นอกจากจะมีนิโคตินระเหยออกมาแล้ว ยังมีสารอันตรายที่ก่อมะเร็งด้วย ดังนั้นหากเราต้องการลดอันตรายต่อสุขภาพให้กับผู้สูบบุหรี่สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคตินทดแทนแต่ไม่มีการเผาไหม้ จึงมีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายประเภทและกำลังได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีผลการศึกษาที่คาดว่าความเสี่ยงต่อสุขภาพเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับบุหรี่ที่มีการเผาไหม้ ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ อังกฤษ และสหภาพยุโรป หรือที่ สวีเดน ที่ประสบความสำเร็จในการลดอันตรายจากยาสูบ โดยมีทางเลือกให้ผู้สูบบุหรี่สามารถใช้ สนูซ หรือ ยาสูบแบบอม โดยไม่ต้องมีการเผาไหม้ แทนการสูบบุหรี่ได้ ซึ่งทำให้อัตราผู้สูบบุหรี่และอัตราผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ในประเทศสวีเดนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปที่แบนสนูซ

สนูซ หรือ ยาสูบแบบอม ในสวีเดน ภาพโดย OLIVIER MORIN / AFP

 

บุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่เผาไหม้ ภาพโดย FABRICE COFFRINI / AFP

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0