ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> “ธนกร” แจงยังไม่พิจารณาออกสลาก 18,000 ล้านบาทผลิตหมอนยางพาราช่วยเกษตรกร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> สธ.ขานรับช่วยชาวสวนยาง- จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ที่มียางพารา
รองศาสตาจารย์ ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเคยศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตหมอนยางพารา พร้อมออกตัวว่าเห็นด้วยกับแนวคิดผลิตหมอนยางพาราประชารัฐ 30 ล้านใบ แต่ตั้งข้อสังเกตว่ามูลค่าของการผลิตที่ตั้งสูงถึง 18,000 ล้านบาท อาจไม่สมเหตุสมผล เพราะเป็นราคาที่สูงเกินไป และมูลค่าขนาดนี้สามารถผลิตได้อีกเท่าตัวของ 30 ล้านใบ
อาจารย์วีรชัย เปิดเผยว่าจากการศึกษาวิจัยการผลิตหมอนยางพาราทั่วไปตามท้องตลาดแล้ว มีต้นทุนและกำไรตกใบละประมาณ 300- 400 บาท แต่เมื่อคำนวนจากงบประมาณ 18,000 ล้านบาทของรัฐบาล ตกใบละ 600 บาท หมายความว่ามีเงินส่วนต่าง 200 บาท และเมื่อนำมาคูณกับจำนวนหมอน 30 ล้านใบ จึงต้องข้อสังเกตว่าอาจมีเงินส่วนต่างที่เหลือจำนวนมาก
อาจารย์วีรชัย เปิดเผยว่าโครงการผลิตหมอนยางพาราประชารัฐเป็นหนึ่งในโครงการที่จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกยางพาราได้ค่อนข้างดี เพราะจะได้อนิสงส์โดยตรง จะส่งผลให้สามารถระบายน้ำยางได้จำนวนมาก และดันราคายางได้สูงขึ้น แต่เป็นเพียงการกระตุ้นราคายางพาราในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น แต่หากจะให้ยั่งยืนรัฐฯต้องมีนวัฒกรรมใหม่ๆในการสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากยางพาราเพื่อให้เกิดการใช้ยางอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง เปิดเผยกรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมหารือกระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำโครงการผลิตหมอนยางพาราประชารัฐ 30 ล้านใบ มูลค่า 18,000 ล้านบาท โดยให้องค์การตลาดเพื่อการเกษตร หรือ อ.ต.ก.กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. แล้วให้รัฐออกสลากการกุศลมาคืนเพื่อช่วยเหลือเกตรกรว่า เรื่องนี้กระทรวงการคลังยังไม่ได้พิจารณา โดยต้องหารืออย่างรอบด้านกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่เบื้องต้นเข้าใจเจตนาของกระทรวงเกษตรฯ ที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เพราะขณะนี้ราคายางยังไม่ค่อยดีนัก หากมีโครงการดังกล่าวมาช่วยก็จะเป็นทางเลือกหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> กรมทางหลวงเร่งประยุกต์นำ “ยางพารา” มาใช้บนทางหลวงมากขึ้น