โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักวิชาการสถาบันทิศทางไทยโต้แถลงการณ์นิติมธ.

สยามรัฐ

อัพเดต 24 ก.พ. 2563 เวลา 23.43 น. • เผยแพร่ 24 ก.พ. 2563 เวลา 23.38 น. • สยามรัฐออนไลน์
นักวิชาการสถาบันทิศทางไทยโต้แถลงการณ์นิติมธ.

นายศาสตรา โตอ่อน วิชาการกลุ่มสถาบันทิศทางไทย โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Sattra Janto Toaon ระบุว่า …

ความเห็นแย้งแถลงการณ์​ คณาจารย์​ คณะนิติศาสตร์​ ธรรมศาสตร์

จากแถลงการณ์คณาจารย์คณะนิติศาสตร์​ ม.ธรรมศาสตร์​ ผมในฐานะประชาชนคนหนึ่งขออนุญาตเห็นแย้งคณาจารย์ตามธรรมเนียมทางวิชาการดังนี้ครับ

1.ในข้อ​ 1และ2​ของแถลงการณ์ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของพรรคการเมืองในการทำสัญญานั้น​ ไม่ว่าพรรคการเมืองจะเป็นนิติบุคคลแบบใด​ หรือ​ บุคคลในทางกฎหมายชนิดใด​ สามารถทำสัญญากู้ยืมเงินและกำหนดอัตราดอกเบี้ย​ ที่เป็นนิติกรรมทางแพ่งได้อยู่แล้ว

แม้แต่นิติบุคคลมหาชนอย่างส่วนราชการก็ทำสัญญาในกฎหมายเอกชนได้​ เช่น​ การซื้อวัสดุคุรุภัณฑ์ต่างๆ

การกู้ยืมเงิน​ หากไม่มีปัญหาในการแสดงเจตนา​ ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย​ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีย่อมทำได้ตามกฎหมายแพ่งทีี่วางอยู่บนหลักเสรีภาพในการทำสัญญา

ซึ่งหากสัญญามีผล​ ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่บังคับการระหว่างคู่สัญญา​

แต่บังเอิญว่ากรณีนี้เป็นการกู้ยืมเงินของพรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมหาชนด้วย

ซึ่งจะทำได้ในพรมแดนกฎหมายมหาชนหรือไม่เป็นอีกเรื่อง​ เพราะกฎหมายมหาชนเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ

2.ในข้อ​ 3​ ของแถลงการณ์กล่าวว่าการกู้เงินเกินกว่า​ 10ล้านบาทซึ่งเข้าตามมาตรา66วรรค2​ พรป.พรรคการเมืองนั้นไม่สามารถกำหนดผลทางกฎหมายเป็นการยุบพรรคตามมาตรา​ 72 พรป.พรรคการเมืองได้​ เนื่ิองจากเงินหรือประโยชน์อื่นใดต้องได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น

กรณีนี้การได้รับเงินหรือประโยชน์อื่นใดนั้นเป็นการต้องห้ามโดยมาตรา​ 66​ วรรค2​ พรป.พรรคการเมืองอยู่แล้ว​ การกู้เงินจึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคือมาตรา66วรรค2​ จึงยุบพรรคได้ตามมาตรา​ 72

การตีความกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรดังกล่าวหากพิจารณาประกอบกับเจตนารมณ์ของกฎหมายในการห้ามครอบงำพรรคการเมืองจะพบว่า​ การให้กู้เงินจำนวนมากนั้นย่อมทำให้ผู้ให้กู้มีอิทธิพลเหนือพรรค​ จึงต้องกำหนดมาตรการบังคับในมาตรา​ 72​ ไว้เพื่อให้ข้อห้ามตามมาตรา​ 66​ วรรค​ 2​ มีค่าบังคับนั่นเอง

3.ในข้อ​ 4.ว่าด้วยพรรคการเมืองกับหลักประชาธิปไตยแม้พรรคการเมืองจะมาจากประชาชน​ เช่นพรรคนาซีมาจากประชาชน

แต่ประชาชนคงไม่อนุญาตให้ตัวแทนของเขากระทำการอย่างไร้ขื่อแป​ อันเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา​ เท่ากับเซ็นเชคเปล่าให้ไปกรอกจำนวนตามอำเภอใจจึงต้องถูกตรวจสอบและถูกยุบพรรคได้

การอ้างเพียงอำนาจประชาชนไม่เพียงพอที่จะทำให้สังคมอยู่ได้หากขาดกฎหมายควบคุมพรรคการเมือง

สิ่งนี้ในทางวิชาการพึงพิจารณาว่า

กฎหมายไม่อาจแยกขาดจากสังคม

และหลักนิติรัฐมีขึ้นเพื่อปกป้องอำนาจของประชาชนมิให้ถูกพรรคการเมืองทำลายเช่นกัน

We​ are​ People!

ขอบคุณข้อมูลและภาพ เฟซบุ๊ก - Sattra Janto Toaon

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0