โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นักวิชาการชี้แบนพาราควอต สร้างความเสียหายกว่า 5 แสนลบ.

TNN ช่อง16

อัพเดต 19 ต.ค. 2562 เวลา 10.13 น. • เผยแพร่ 19 ต.ค. 2562 เวลา 10.13 น. • TNN Thailand
นักวิชาการชี้แบนพาราควอต สร้างความเสียหายกว่า 5 แสนลบ.
นักวิชาการอ้อย น้ำตาล ชี้แบนพาราควอต สร้างความเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท แนะหาทางเลือกในราคาต้นทุนที่ใกล้เคียงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกร

วันนี้(19 ต.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากมติการสั่งแบน 3 สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช โดยเฉพาะพาราควอต ที่ให้ยกระดับเป็นวัตถุอันตรายประเภท 4 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ครอบครอง โดยคาดว่าจะให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้  นายกิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  โดยทั่วไปแล้วสารเคมีทุกชนิดจะให้ทั้งคุณและโทษ แต่หากมีระบบบริหารจัดการวิธีใช้อย่างถูกต้อง จะได้ประโยชน์มากกว่าการให้โทษ หรือ ในพาราควอต เองก็เช่นกัน หากรัฐบาลจะเปลี่ยนจากการสั่งแบนห้ามใช้ ผลิต หรือนำเข้า เป็นการจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรและจำกัดการใช้ให้อยู่ในกรอบระเบียบจะช่วยแก้ปัญหาที่สร้างความลงตัวให้ทั้ง 2 ฝ่าย 

ทั้งนี้ หากคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา แน่นอนว่า การสั่งแบนพาราควอต กังวลว่าจะส่งผลโดยตรงต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไร่อ้อย และน้ำตาล เพราะการเพาะปลูกอ้อยในประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ สร้างรายได้กว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี แต่หากสั่งห้ามใช้พาราควอตในการกำจัดศรัตรูพืช จะทำให้เกษตรกร/เฉพาะไร่อ้อยแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผลผลิตหายไป จากความเสียหายที่เกิดจากศรัตรูพืช เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านบาท และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายดิบ เพราะขาดวัตถุดิบ ต้นทุนผลิตสูงขึ้น รวมถึงความเสียหายจากผลกระทบอื่นๆเช่น ไม่สามารถส่งกากอ้อยไปผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ตามเป้าหมายเดิม หรือน้อยกว่า แต่ละปีประเทศจะสูญเสียมูลค่าเม็ดเงินในอุตสาหกรรมไร่อ้อย กว่า 5 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้แนวทางแก้ปัญหาจากการมีมติที่จะสั่งห้าม ผลิต นำเข้า และครอบครองพาราควอต รัฐบาลจะแนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนไปใช้สารเคมีชนิดอื่นแทน แต่นักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในความเป็นจริง ทำได้ยาก เพราะสารเคมีชนิดอื่น มีต้นทุนสูงกว่า 2-3 เท่าตัว ดังนั้น หากจะให้เกษตรกรเปลี่ยนไปใช้สารเคมีชนิดอื่น ก็ควรจะมีทางเลือกในราคาต้นทุนที่ใกล้เคียงกับราคาของพาราควอต หรือหากจะแก้ปัญหา ใช้แรงงานคนในการกำจัดศรัตรูพืช ก็มีข้อจำกัดเพราะแรงงานคนไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่กระจายไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่หลากหลาย

CR:ภาพประกอบ Pixabay

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-เก็บแน่! ภาษีความเค็ม 'บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป' โดนกลุ่มแรก

-เปิดแนวคิดเก็บ 'ภาษีความเค็ม' สินค้าใดเข้าข่ายบ้าง?

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0