โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักวิจัยโลกร้อนเสนอ 6 แนวทาง เปลี่ยนโลกสู่สังคมคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050

The Momentum

อัพเดต 28 ม.ค. 2563 เวลา 12.59 น. • เผยแพร่ 28 ม.ค. 2563 เวลา 22.00 น. • THE MOMENTUM TEAM

ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ต่างรู้ดีว่า โลกต้องลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลเพื่อไม่ให้ปล่อยสารเคมีที่ทำลายชั้นบรรยากาศและยับยั้งสภาวะโลกร้อน ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาต่างเสนอแนวทางต่างๆ มากมายเพื่อลดคาร์บอน และจำกัดให้อุณหภูมิโลกลดลงต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ทั่วโลกจำเป็นต้องการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานและการใช้ที่ดินใหม่

คณะวิจัยที่ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเสนอผลการศึกษาในวารสารวิชาการ Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) ว่า ต้องใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคม เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลและทำให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำในปี 2050

“จากอุตสาหกรรมพลังงานไปถึงภาคการเงินและเมืองของเรา เราสามารถปักหมุดองค์ประกอบทางสังคมที่เป็นจุดเปลี่ยน และระบุวิธีการจัดการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจจะทำได้รวดเร็วและกว้างขวางขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว รูปแบบพฤติกรรมและแบบแผนทางสังคมได้” อิโลนา เอ็ม ออตโต นักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์ สถาบันศึกษาผลกระทบของภูมิอากาศพอตสดัม (PIK) เยอรมนีกล่าว

จากการจัดเวิร์กชอป สำรวจ และประเมินจากวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ นักวิจัยตรวจสอบปัจจัยต่างๆ ที่น่าจะช่วยสังคมเปลี่ยนไปสู่สังคมที่มีคาร์บอนสุทธิเท่ากับศูนย์ภายในปี 2050

งานวิจัยนี้เสนอจุดเปลี่ยนทางสังคม  6 ด้านคือ 1) ยกเลิกการอุดหนุนพลังงานฟอสซิล และเพิ่มแรงจูงใจการกระจายแหล่งผลิตพลังงาน 2) สร้างเมืองที่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์  3) ถอนการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานฟอสซิล 4) เปิดเผยนัยทางศีลธรรมของพลังงานฟอสซิล 5) เพิ่มการศึกษาด้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้น 6) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แม้ตอนนี้จะมีกลไกมากมายอยู่แล้ว และยังน่าสงสัยว่ามันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริงหรือไม่ แต่นักวิจัยก็ยังมองโลกในแง่ดีว่ามีสัญญาณที่ดี เช่น ปรากฏการณ์ที่เยาวชนออกมาประท้วงต่อต้านโลกร้อน การเคลื่อนไหวอาจทำให้คนรำคาญใจ แต่ก็อาจจะเปลี่ยนวิธีคิดและการกระทำ จนนำไปสู่การเปลี่ยนนโยบายและกฎหมาย รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ 

ฮานส์-โจชิม เชลฮูเบอร์ ผู้อำนวยการศูนย์ PIK กล่าวว่า ทั้งหมดนี้เป็นการยั่วยุให้เกิดจุดยืนเรื่องความยั่งยืนและการเป็นมิตรต่อโลกแพร่กระจายในสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ

 

ที่มา:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0