โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นักวิจัยเบลเยียม พบอนุภาคฝุ่นจากมลพิษทางอากาศ ในรกของมารดาด้านที่ติดกับตัวทารก

TODAY

อัพเดต 19 ก.ย 2562 เวลา 13.19 น. • เผยแพร่ 19 ก.ย 2562 เวลา 13.17 น. • Workpoint News
นักวิจัยเบลเยียม พบอนุภาคฝุ่นจากมลพิษทางอากาศ ในรกของมารดาด้านที่ติดกับตัวทารก

นักวิจัยจากเบลเยียมพบอนุภาคฝุ่นจากมลพิษทางอากาศ ในรกของมารดาด้านที่ติดกับตัวเด็กทารก ถือเป็นหลักฐานยืนยันว่าเด็กทารกที่ยังไม่เกิดมีโอกาสสัมผัสกับคาร์บอนที่ผลิตขึ้นโดยรถยนต์และการเผาไหม้เชื้อเพลิง

งานวิจัยดังกล่าวนี้ ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่าอนุภาคฝุ่นจากมลพิษทางอากาศที่ผู้เป็นแม่สูดเข้าไปทางลมหายใจ สามารถทะลุผ่านผนังของรกในครรภ์ไปยังตัวเด็กได้  โดยงานวิจัยชิ้นดังกล่าวนี้พบอนุภาคฝุ่นนับหมื่นชิ้นต่อเนื้อเยื่อรก 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร

ศาสตราจารย์ทิม นาว์รอต (Tim Nawrot) จากมหาวิทยาลัยฮาสเซลท์ในเบลเยียม หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า “ช่วงที่อยู่ในครรภ์ถือเป็นช่วงที่ทารกเปราะบางที่สุด อวัยวะทุกระบบยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนา เพื่อเป็นการปกป้องคนรุ่นต่อๆ ไป เราต้องทำให้ทารกในครรภ์สัมผัสกับฝุ่นพิษเหล่านี้น้อยลง”

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการตรวจสอบรกจากผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ 25 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองฮัสเซลท์ ประเทศเบลเยียม โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบอนุภาคของคาร์บอนด้วยเลเซอร์  ผลปรากฏว่าในรกทั้ง 25 ชิ้นที่นำมาตรวจสอบนี้ เจออนุภาคของฝุ่นพิษคาร์บอนที่รกด้านในที่ติดกับตัวทารกในรกทุกชิ้น

ทั้งนี้ จำนวนของอนุภาคฝุ่นคาร์บอนที่พบเจอสัมพันธ์กับระดับมลพิษในอากาศที่ผู้เป็นแม่สูดดมเข้าไป โดยพบอนุภาคคาร์บอนนี้ประมาณ 20,000 ชิ้นต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรในรกของผู้หญิงที่บ้านอยู่ริมถนนใหญ่  สำหรับผู้หญิงที่บ้านอยู่ห่างออกไปจากถนนสายหลัก พบอนุภาคฝุ่นคาร์บอนนี้ประมาณ 10,000 ชิ้นต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร

ศาสตราจารย์นาว์รอตให้คำแนะนำว่า “ถือเป็นเรื่องยากที่จะให้คำแนะนำ เพราะว่าทุกคนต้องหายใจ แต่สิ่งที่ผู้คนทำได้ก็คือการหลีกเลี่ยงถนนที่เต็มไปด้วยรถยนต์ให้มากที่สุด เพราะจุดที่อยู่ใกล้ถนนอานุภาคฝุ่นเหล่านี้จะเต็มไปหมด แต่ห่างออกไปเพียงไม่กี่เมตร ระดับของฝุ่นพวกนี้ก็เบาบางลง”

ที่มา https://www.theguardian.com/environment/2019/sep/17/air-pollution-particles-found-on-foetal-side-of-placentas-study?fbclid=IwAR3-_MuH8aFRR80bTWMaQaArcMfD7ZPut7qIc2SaaaBxk52lOi8iG6n1DuU

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0