โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นักวิจัยออสเตรเลียชี้ “คุมแคลอรีแค่นิดเดียว” ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

TODAY

อัพเดต 16 ก.ค. 2562 เวลา 08.05 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. 2562 เวลา 08.05 น. • Workpoint News
นักวิจัยออสเตรเลียชี้ “คุมแคลอรีแค่นิดเดียว” ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

งานวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งนำโดยคณะนักวิจัยด้านการแพทย์ชาวออสเตรเลีย พบว่าการลดปริมาณแคลอรีที่บริโภคเข้าไปสามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายได้ แม้จะลดแค่ในระดับปานกลางก็ตาม

วันที่ 16 ก.ค. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า งานวิจัยที่ผ่านการศึกษามาเป็นระยะเวลาหลายปีและจัดทำโดยมหาวิทยาลัยซิดนีย์ชิ้นนี้ ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารโรคเบาหวานและวิทยาต่อมไร้ท่อแลนซิต (Lancet Diabetes and Endocrinology) เมื่อวันที่ 12 ก.ค. โดยทำการศึกษาในคลินิก 3 แห่งในสหรัฐฯ และประสานงานกับมหาวิทยาลัยดยุก (Duke University) ของสหราชอาณาจักร

ศาสตราจารย์ลุยจิ ฟอนทานา (Luigi Fontana) นักวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่า “เท่าที่เราทราบ นี่เป็นครั้งแรกที่มีการวิเคราะห์ผลของการจำกัดแคลอรีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยที่ไม่เป็นโรคอ้วน ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางคลินิกทั่วไป ไม่มียาใดที่สามารถลดระดับแคลอรีท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงด้านหัวใจและเมตาบอลิกทั่วไปได้อย่างที่เราทำ โดยเราลดปริมาณแคลอรีที่กลุ่มทดลองได้รับลงเล็กน้อย ในขณะที่พวกเขายังได้รับอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นครบถ้วน”

กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 75 คน ที่มีอายุระหว่าง 21-50 ปี และมีน้ำหนักตัวเกินระดับปานกลาง ซึ่งผ่านการควบคุมแคลอรี มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ผิดปกติตั้งแต่ 2 ปัจจัยขึ้นไปถึง 13 เท่า คณะนักวิจัยกล่าวว่าโอกาสที่จะเจ็บป่วยด้วยอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานประเภท 2,โรคหลอดเลือดสมอง,การอักเสบ และมะเร็งบางชนิด ก็จะลดลงอย่างมากเช่นกัน

ฟอนทานาอธิบายว่า “ยาแผนปัจจุบันมุ่งเน้นการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อรังที่เห็นได้ชัดผ่านการตรวจรักษา ซึ่งส่วนมากป้องกันได้ด้วยยาและการผ่าตัดเป็นหลัก” 

ฟอนทานากล่าวต่ออีกว่า “ปัญหาของวิธีรักษาด้วยยาก็คือโรคเรื้อรังจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับอายุ ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นของชีวิต และค่อยๆ พัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย เช่นการเผาผลาญอาหาร และกระบวนการด้านโมเลกุล ซึ่งส่งผลต่อการก่อตัว การเติบโต และ พยากรณ์โรค ของโรคหลายชนิดด้วยกัน การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่า แม้แต่คนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดีและคนวัยกลางคน ก็สามารถได้รับผลดีจากการใส่ใจปริมาณแคลอรีที่ได้รับ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเราควรเริ่มทำโดยไม่รีรอ เพราะแม้แต่ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในชั่วขณะใดขณะหนึ่งในชีวิต ก็อาจส่งผลที่ใหญ่หลวงได้ สิ่งนี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นใหม่ที่ใช้ในการต่อสู้กับวิถีชีวิตแบบตะวันตกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งยังคงเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและภาวะทุพพลภาพทั่วโลก

ขอบคุณภาพ :: 

Robin Stickel on unsplash

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0