โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นักธรณีชีววิทยาค้นพบฟอซซิลสาหร่ายอายุกว่าพันล้านปี!

Thaiware

อัพเดต 26 ก.พ. 2563 เวลา 04.00 น. • เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 04.00 น. • l3uch
นักธรณีชีววิทยาค้นพบฟอซซิลสาหร่ายอายุกว่าพันล้านปี!
คาดว่ามันน่าจะเป็นพืชชั้นสูงชนิดแรกของโลกที่มีการค้นพบเลยก็ว่าได้

นักธรณีชีววิทยาที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของพันธุ์พืชได้ค้นพบหินก้อนหนึ่งในมณฑล Liaoning เมือง Dalian ทางตอนเหนือของประเทศจีนที่มีซากของฟอซซิลพืชอยู่ภายในที่คาดว่าเป็น ฟอซซิลของสาหร่ายดึกดำบรรพ์ ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา โดยฟอซซิลสาหร่ายที่ว่านี้น่าจะเคยมีชีวิตอยู่บนพื้นทะเลในช่วง 1 พันล้านปีก่อน

“สาหร่ายชนิดนี้น่าจะอาศัยอยู่บริเวณทะเลน้ำตื้นก่อนที่จะตายลงและถูกกดทับอยู่ภายใต้กองตะกอนที่ในเวลาต่อมาได้จับตัวกันกลายเป็นหิน เมื่อเวลาผ่านไปเป็นล้านๆ ปี หินก้อนนี้ก็ถูกกระแสน้ำพัดพาขึ้นมาบนบกอีกครั้งหนึ่ง”

รูปจำลอง Proterocladus Antiquus ที่อาศัยอยู่ในทะเล และรูปภาพฟอซซิลที่ฝังตัวอยู่ในหิน นำมาขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์

นักธรณีชีววิทยาค้นพบฟอซซิลสาหร่ายอายุกว่าพันล้านปี!
นักธรณีชีววิทยาค้นพบฟอซซิลสาหร่ายอายุกว่าพันล้านปี!

ภาพจาก : https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-8038377/Micro-fossils-one-billion-year-old-seaweed-discovered.html

นักวิจัยได้ตั้งชื่อให้สาหร่ายนี้ว่า Proterocladus Antiquus โดยมันมี ขนาดประมาณเมล็ดข้าว (มีความกว้างราว 2 มิลลิเมตร) และถึงแม้ว่า Proterocladus จะดูเหมือนว่ามีขนาดเล็ก แต่มันก็ถือได้ว่าเป็น สิ่งมีชีวิตที่ขนาดใหญ่ที่สุด ณ ขณะนั้นแล้ว เพราะในตอนนั้นมีเพียงแค่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่าง แบคทีเรียและจุลินทรีย์ เท่านั้น

นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้มีการคาดการณ์อีกว่ามันน่าจะใช้ส่วน ฐานของต้นที่มีลักษณะโครงสร้างคล้ายราก ในการดูดซึมน้ำบริเวณพื้นทะเลขึ้นไปหล่อเลี้ยงลำต้น และมีการ สังเคราะห์แสง โดยเปลี่ยนพลังงานที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานทางเคมีเพื่อสร้างออกซิเจน

ฐานลำต้นที่มีลักษณะคล้ายราก

นักธรณีชีววิทยาค้นพบฟอซซิลสาหร่ายอายุกว่าพันล้านปี!
นักธรณีชีววิทยาค้นพบฟอซซิลสาหร่ายอายุกว่าพันล้านปี!

ภาพจาก : https://www.nature.com/articles/s41559-020-1122-9

อย่างไรก็ตาม Proterocladus ไม่ได้เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ เพราะแบคทีเรียอย่าง Cyanobacterium ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 2.7 พันล้านปีก่อน และพืชเซลล์เดียว (พืชจำพวก Bryophyte ที่มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ช่วงพันล้านปีก่อน) เองก็สามารถสังเคราะห์แสงได้เช่นเดียวกัน แต่การค้นพบ Proterocladus นั้นทำให้ มีหลักฐานเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของพืช ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะก่อนหน้านั้นมีเพียงแค่หลักฐานของการค้นพบสาหร่ายสีเขียว (Green Algae) เมื่อ 450 ล้านปีก่อนเท่านั้นที่แสดงถึงการวิวัฒนาการของพืชจากพืชเซลล์เดียวไปเป็นพืชชั้นสูง (พืชหลายเซลล์)

Qing Tang และ Shuhai Xiao นักวิจัยธรณีชีววิทยาของมหาวิทยาลัย Virginia Tech ที่เป็นผู้ค้นพบฟอซซิลชิ้นนี้เห็นตรงกันว่า Proterocladus Antiquus น่าจะเป็นพืชชั้นสูงชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลก

“เราเชื่อว่า Proterocladus Antiquus นี้น่าจะเป็นบรรพบุรุษของพืชพันธุ์ทั้งหมดบนโลกนี้เลยก็ว่าได้ แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ของเราเท่าไรนัก เพราะคนส่วนมากนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าพืชน่าจะเกิดขึ้นในแหล่งน้ำอย่างแม่น้ำหรือทะเลสาบก่อนที่จะมีการวิวัฒนาการขึ้นในทะเลและพื้นดินเป็นแหล่งสุดท้าย”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0