โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ระวังโรคเหล่านี้ถามหา!!

MThai.com

เผยแพร่ 12 ธ.ค. 2561 เวลา 05.21 น.
นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ระวังโรคเหล่านี้ถามหา!!
คุณรู้หรือไม่ว่า การ นอนน้อย ไม่ได้ทำให้รู้สึกง่วงซึม หรืออ่อนเพลียเพียงเท่านั้น แต่มันยังเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย

ด้วยความที่วิถีชีวิตในตอนนี้มันมีอะไรให้เราทำมากมาย ไหนจะงานที่ยังไม่เสร็จ ไหนจะซีรีส์ที่อยากดู ทำให้กิจกรรมเหล่านี้มาเบียดเบียนเวลาพักผ่อน จนทำให้เรานอนน้อย คุณรู้หรือไม่ว่า การ นอนน้อย ไม่ได้ทำให้รู้สึกง่วงซึม หรืออ่อนเพลียเพียงเท่านั้น แต่มันยังเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย

โรคที่จะตามมา หากนอนน้อย

ภาวะที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่ออารมณ์หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยการนอนน้อยส่งผลเสียเป็นอย่างมากต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่จะตามมา อาทิ โรคมะเร็งลำไส้ , โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคเบาหวาน , ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ , นอนไม่หลับเรื้อรัง , สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง และ อารมณ์แปรปรวนง่าย

อาการนอนน้อย

  1. รู้สึกเหนื่อยและง่วงซึมตลอดวัน

  2. อารมณ์เสียหรือทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

  3. วูบหรือหลับในช่วงเวลาสั้นๆ

  4. ประสิทธิภาพการควบคุมตัวเองลดน้อยลง

ผลเสียที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ

การนอนน้อยจะทำให้การหลั่งฮอร์โมนสืบพันธ์ออกมาได้น้อย ส่งผลให้มีลูกยาก น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสารเคมีเลปตินที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ในระดับต่ำ และมีฮอร์โมนเกรลินที่กระตุ้นให้หิวอยู่ในระดับมาก และการนอนน้อยยังกระตุ้นให้รู้สึกหิวอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง อีกทั้งยังส่งผลต่อการตัดสินใจ การทำความเข้าใจและประเมินสถานณ์ที่เกิดขึ้น ไม่มีความแม่นยำ การตอบโต้ไม่ดีเท่าที่ควร เสี่ยงต่อการเกิดประสานหลอน เป็นคนขี้หลงขี้ลืม เป็นผลมาจากการอดนอนเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน แต่ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดจากการนอนน้อย คือ อาการวูบ และง่วงซึม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ขณะขับรถตามมาอีกด้วย

เทคนิคที่ช่วยให้นอนหลับได้มากขึ้น

  1. ออกกำลังกายช่วงเย็นอย่างน้อย 30 นาที หรือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน

  2. กินกล้วยหอม เพราะผิวของกล้วยหอมมีฤทธิ์เหมือนยานอนหลับ และมีอะมิโนแอซิดที่เรียกว่า ทริปโตฟาน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนิน เมื่อกินแล้วจะช่วยคลายเครียด คลายกังวล ทำให้หลับสบาย

  3. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก อาหารที่มีรสเผ็ด รสจัด หรืออาหารหวานมาก ก่อนเข้านอน 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการย่อยอาหาร

  4. หลีกเลี่ยงกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาททุกชนิด 4-6 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้านอน

  5. ผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจก่อนนอนด้วยการอาบน้ำอุ่น เดินเบาๆ ไปมา หรือการนั่งสมาธิ และไม่ควรทำกิจกรรมที่กระตุ้นร่างกายและสมองไปจนถึงเวลาเข้านอน

  6. จัดระเบียบห้องนอนและกำจัดสิ่งรบกวนด้วยการปิดไฟและอุปกรณ์ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ก่อนนอน แต่บางรายอาจจำเป็นต้องเปิดเพลงเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศทำให้หลับสบายขึ้น

  7. เลี่ยงการสูบบุหรี่เพราะจะทำให้หลับยาก ตื่นบ่อย และฝันร้าย เนื่องจากผลของสารนิโคติน

  8. เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรนอนดึกมาก ควรเข้านอนเวลาประมาณ 21.00 – 23.00 น. และปฏิบัติให้เป็นประจำ รวมถึงตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน รวมทั้งช่วงวันหยุดด้วย

  9. เข้านอนเมื่อร่างกายพร้อมที่จะนอน คือเมื่อรู้สึกง่วง และไม่ได้อยู่ในภาวะตึงเครียด อย่าพยายามฝืนนอน หากไม่ง่วง

คลิป > EP.09 | ท่าบริหารร่างกายบนเตียงนอน

https://seeme.me/ch/healthyonfivebybud/9Bxerq

ที่มา : โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0