โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

นอนตกหมอน ปวดคอแบบนี้ เกิดมาจากสาเหตุอะไร?

MThai.com - Health

เผยแพร่ 20 ก.ย 2561 เวลา 01.00 น.
นอนตกหมอน ปวดคอแบบนี้ เกิดมาจากสาเหตุอะไร?
อาการปวดคอ จากการ นอนตกหมอน เป็นสิ่งที่หลายคนต้องเคยเจออย่างแน่นอน มันจะทำให้เรารู้สึกทรมานไปทั้งวัน เนื่องจากต้นคอแข็งเกร็ง หันคอไม่ได้

อาการปวดคอ จากการ นอนตกหมอน เป็นสิ่งที่หลายคนต้องเคยเจออย่างแน่นอน มันจะทำให้เรารู้สึกทรมานไปทั้งวัน เนื่องจากต้นคอแข็งเกร็ง หันคอไม่ได้ บางครั้งถึงขั้นศีรษะเบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีอาการปวดร้าวที่แขนหรือสะบัก แล้วอยากรู้ไหมว่า อาการ นอนตกหมอน นั้น เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการนอนตกหมอน

1. นอนไม่หลับ

เป็นปัจจัยสำคัญของอาการตกหมอน โดยเฉพาะการนอนหลับไม่สนิท นักวิทยาศาสตร์พบว่า ตลอดคืนที่เรานอนหลับ เราจะผ่านระยะนอนหลับไม่สนิทซึ่งไม่ได้ฝัน ระยะที่นอนหลับสนิทเป็นระยะที่ร่างกายได้พักผ่อนจริงๆ กล้ามเนื้อจะคลายตึง หลอดเลือดคลายตัวและสมองมีโอกาสได้จัดความคิดและสิ่งที่เรียนรู้ในตอนกลางวันให้เป็นระบบ ถ้าผู้ใดนอนหลับไม่สนิท หรือเมื่อเข้าสู่ภาวะฝันถูกปลุกให้ตื่นหลายๆ คืนติดต่อกัน ผู้นั้นอาจจะเกิดอาการคลุ้งคลั่งได้ ดังนั้น การนอนหลับไม่สนิทจะเกิดอาการเครียดอย่างหนัก และกล้ามเนื้อมีความตึงมาก ทำให้ปวดคอได้

2. พัดลมเป่าไปยังบริเวณศีรษะและต้นคอ

ถึงแม้ลมที่เกิดขึ้นจะทำให้บริเวณคอเย็นได้บ้าง แต่ขณะนอนหลับ การปรับตัวของร่างกายต่อการกระตุ้นจากภายนอก ขาดความสมดุล หลอดเลือดในบริเวณผิวหนัง และกล้ามเนื้อที่ลมเป่าจะหดตัวเพราะเย็นลง แต่หลอดเลือดที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายขยายตัว เพื่อคลายความร้อนออกจากร่างกาย จึงทำให้เราอาจเกิดอาการขนลุก กล้ามเนื้อคอเกิดการหดตัวอย่างกะทันหัน ทำให้ต้นคอแข็งเกร็ง

3. ลักษณะของหมอน

การนอนตะแคงนั้น หมอนควรมีลักษณะค่อนข้างสูงเท่าความกว้างของบ่าและแน่นไม่ยุบง่าย การนอนหงายควรใช้หมอนต่ำหรือหนุนที่บริเวณด้านหลังต้นคอเพื่อรักษาส่วนเว้าของกระดูกไว้ การนอนคว่ำควรใช้หมอนใหญ่สอดลงมาถึงทรวงอก เพื่อไม่ให้ศีรษะแหงนไปข้างหลังมากเกินไป จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ จากหมอนที่สูงในท่านอนตะแคงมาเป็นท่านอนหงาย อาจทำให้เกิดการกระตุกอย่างกะทันหัน

4. การนั่งสัปหงก

กล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะหดตัวทันที เพื่อกระตุกศีรษะให้ตั้งตรง ซึ่งเป็นปฎิกิริยาตอบสนองแบบฉับพลันในภาวะที่ยังนอนหลับไม่สนิท กล้ามเนื้อคอจึงมีโอกาสฉีกขาดและเกิดการเกร็งตัวขึ้น ซึ่งเป็นการป้องกันตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอีก อาการตกหมอนที่เป็นผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นคอ นอกจากทำให้หันคอไปมาไม่สะดวก เกิดอันตรายในการขับรถ หรือเกิดอาการปวดมากขึ้น เมื่อต้องขืนคออยู่ตลอด ภาวะการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อที่หดตัวไม่คล่อง ทำให้มีอาการปวดล้ามากขึ้น เพราะขาดออกซิเจนและอาหาร อาการตกหมอนอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ค่อนข้างรุนแรง คือ กระดูกคอเรียงตัวไม่ดีหมอนรองกระดูกถูกบีบให้แคบลง เป็นผลให้รากประสาทที่ออกจากบริเวณหมอนรองกระดูกถูกกดทับในข้างนั้น หรือถูกกระชากให้ยืดในด้านตรงกันข้ามจึงเกิดอาการชา หรือปวดร้าวลงที่สะบักหรือต้นแขน

ถ้าความสมดุลของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ด้านของต้นคอเสียไป การเรียงตัวของกระดูกคอไม่อยู่ในลักษณะตรง หรือส่วนเว้าด้านหลังคอเสียไป การไหลเวียนของเลือดไม่ปกติ อาการปวดคอหรือตกหมอน ย่อมคงอยู่ หรือเป็นๆ หายๆ

วิธีการรักษาอาการตกหมอน : ต้องปรับสภาพของร่างกายให้เข้าสู่ภาวะสมดุล

  1. นอนให้เพียงพอ

  2. หลีกเลี่ยงพัดลม หรือลมของเครื่องปรับอากาศเป่าโดยตรงมาที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

  3. นอนหงายโดยเอาผ้าขนหนูม้วนเป็นแท่งยาวสอดที่ด้านหลังต้นไว้ หมุนคอไปมาในท่านอนหงาย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายออก

  4. สวมใส่ปลอกคอในขณะทำงาน เพื่อให้กล้ามเนื้อมีโอกาสพักและซ่อมแซมตัวเอง

  5. หลีกเลี่ยงการกินยาคลายกล้ามเนื้อ ควรมีโอกาสนอนพักอยู่ที่บ้าน และไม่ควรขืนศีรษะให้กลับเข้าตำแหน่งเดิม อาจทำให้อาการตกหมอนเป็นมากขึ้น และกระทบกระเทือนถูกรากประสาทได้

คลิป > อุปกรณ์อัจฉริยะแก้ปัญหานอนกรน

https://seeme.me/ch/welcomeworldweekend/qbeJWM

ที่มา : www.thaihealth.or.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0