โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นอนกรน...อันตรายถึงชีวิต

คมชัดลึกออนไลน์

เผยแพร่ 19 มี.ค. 2562 เวลา 02.00 น.

ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทยร่วมกับ สมาคมโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ และ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน"เวิลด์ สลีป เดย์ 2019-ใครว่า "การนอน" เป็นเรื่องเล่นๆ" เนื่องในวันนอนหลับโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการนอน และส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการนอนหลับ และโรคหยุดหายใจขณะหลับ

ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์

ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนอนกรนเกิดจากช่องคอแคบลงมากกว่าปกติในขณะหลับ ทำให้ลมหายใจเข้า-ออกแรงขึ้น ซึ่งเนื้อเยื่อของผนังคอ เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และโคนลิ้นมีการสั่นสะเทือนจนเกิดเสียงดังขึ้น โดยคนที่มีอาการมากจะพบว่าผนังคอยุบตัวลงจนอากาศไม่สามารถผ่านไปได้ชั่วขณะ หรือเรียกว่าการหยุดหายใจขณะหลับ จากสถิติพบว่าร้อยละ 20 ของผู้ที่นอนกรนเป็นประจำมักมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย สำหรับผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก โดยอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ความจำถดถอย การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และยังอาจเกิดภาวะง่วงนอนกลางวันมากกว่าปกติ อาการหลับใน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้

วิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ แห่งฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับนวัตกรรมเพื่อการนอน

"ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน และผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับในระดับรุนแรงน้อย คือน้อยกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตจากการหยุดหายใจขณะหลับเฉลี่ยร้อยละ 8 ซึ่งหากหยุดหายใจมากกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10-16 และเมื่อเทียบกับคนปกติแล้วจะมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงกว่า 2-3 เท่า เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่า 2 เท่า และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 3 เท่า ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนที่คุณรักมีอาการนอนกรนเป็นประจำ แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และให้ความสำคัญในการหาวิธีป้องกันและรักษาอาการนอนกรนอย่างเหมาะสมต่อไป" ศ.นพ.ชัยรัตน์ แนะ

อ.พญ.สุภวรรณ เลาหศิริวงศ์

ด้านอ.พญ.สุภวรรณ เลาหศิริวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ เผยถึงแนวทางการรักษาการนอนกรนว่า ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและชนิดของโรคที่ผู้ป่วยแต่ละคนเป็น โดยในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงต่ำ แพทย์จะแนะนำให้1) ปรับนิสัยการนอนก่อน อาทิ การนอนหลับในระยะเวลาที่เพียงพอ คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนและตื่นให้เป็นเวลา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดดื่มชา กาแฟ และบุหรี่ ในรายที่มีน้ำหนักเกิน จำเป็นต้องมีการลดน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับปานกลางและมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วย2) เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศเข้าทางช่องจมูกหรือปาก เพื่อให้ช่องคอและทางเดินหายใจส่วนต้นมีอากาศไหลเวียนได้ในขณะหลับ 3) การใช้เครื่องมือในช่องปาก และ 4) การผ่าตัด

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ Philips.com.sg/saveoursleep.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0